ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารล้านนา

Local Wisdom of Lanna Food

ศึกษาและฝึกปฏิบัติความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านล้านนา วัตถุดิบ เครื่องเทศสําหรับ อาหารล้านนา ความสัมพันธ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นกับอาหารล้านนา และการพัฒนาสูตรและ กระบวนการผลิตอาหารล้านนา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ เพื่อปรับปรุงการสอนให้ทันสมัยเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีและความนิยมของผู้บริโภค
ศึกษาและฝึกปฏิบัติความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านล้านนา วัตถุดิบ เครื่องเทศสําหรับ อาหารล้านนา ความสัมพันธ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นกับอาหารล้านนา และการพัฒนาสูตรและ กระบวนการผลิตอาหารล้านนา
วันพุธ 15.00-16.30 ณ ห้องพักอาจารย์สาขาอุตสาหกรรมเกษตร
1. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีวินัย ตรงต่อเวลา ขยัน และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม 3. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- การสอนใช้การสอนแบบสื่อสองทาง โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือคำตอบ หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรมในโอกาสต่าง ๆ - สอนแทรกคุณธรรม จริยธรรม ในคาบเรียนโดยการยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในสื่อต่าง ๆที่กำลังเป็นที่สนใจ โดยเน้นความรับผิดชอบต่อสังคม การมีจิตสำนึก การรับผิดชอบต่อตนเอง
- การสังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียน และความสนใจ - ประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมาย และส่งงานตรงเวลาที่กำหนด
- มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ - สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
-ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง บรรยายควบคู่กับการปฏิบัติการ อภิปราย สอบถาม สรุปผลงานปฏิบัติการและโครงงาน  โดยเน้นให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้และข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าจากให้นำเสนองานสร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสม
-การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค -การค้นคว้าและการจัดทำรายงานที่ได้รับมอบหมาย การส่งรายงาน -ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้า
- มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ - มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
-ให้นักศึกษาฝึกคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่เกิดขึ้น -สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฏีเพื่อทางธุรกิจอาหาโภขนาการ  
-สังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหา ประเมินจากการตอบปัญหา และการแสดงความความคิดเห็น -การประเมินงานในภาคทฤษฏี และการนำเสนอผลงาน
- มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยามสังคมที่ดี - มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-มอบหมายงานกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ โดยไม่ยึดติดกับเพื่อนที่สนิท -กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่มอย่างชัดเจน และหมุนเวียนความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในการรับผิดชอบหน้าที่ที่หลายหลาย -จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา
-ผู้สอนประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา -ผู้สอนประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และขณะปฏิบัติงานกลุ่ม
- มีทักษะในการใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับธุรกิจอาหารและโภชนาการ - สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร และโภชนาการโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสถิติประยุกต์ที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ - สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารและโภชนาการได้อย่างเหมาะสม
- ใช้สื่อและวิธีการสอนที่น่าสนใจชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทําความเข้าใจประกอบการสอนในชั้นเรียน - การสอนโดยมีการนําเสนอ ข้อมูลและ กระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนําเสนอและสืบค้นข้อมูล แนะนําเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล้งข้อมูล - การมอบหมายงานที่ต้องมีการรวบรวม ค้นคว้าด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีมเน้นสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศมีการนําเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยีการสร้างงานให้เป็นระบบของศาสตร์-ศิลป์ มีการอ้างอิง
- การสอบกลางภาคและสอบปลายภาค - ประเมินทักษะการใช้สื่อและทักษะการใช้ภาษาพูดจากการอภิปรายในชั้นเรียน - ประเมินทักษะการสืบค้นข้อมูลและทักษะการใช้ภาษาเขียนจากรายงานปฏิบัติการ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 BSCFN165 ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารล้านนา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การเตรียมความพร้อมทั้งวัสดุและอุปกรณ์ การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
2 ด้านความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9, 17 20 %, 20 %
3 ด้านทักษะทางปัญญา วิเคราะห์กรณีศึกษา เสนอผลงาน /วิเคราะห์ รายงานผลการศึกษาค้นคว้า /แบบทดสอบหลังเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20 %
4 ด้านความสัมพันธ์ความรับผิดชอบ การสังเกตการณ์และงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 15 %
5 ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร เล่มรายงาน ตลอดภาคการศึกษา 15 %
อาหารพื้นบ้านล้านนา.https://lannainfo.library.cmu.ac.th/lannafood/
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 
การประเมินการสอน โดยใช้แบบสอบถามกับนักศึกษา
อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา 
ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา  โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน
พิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายวิชา และสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป