การตลาดสินค้าชุมชน

Local Product Marketing

เพื่อให้สอดคล้องกับปณิธานของคณะเพื่อผลิตบัณฑิตการตลาดที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านการบริหารธุรกิจ   โดยเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการนำผลิตภัณฑ์ในชุมชนมาเพิ่มมูลค่า ปลูกฝังให้นักศึกษารู้จักนำความรู้ที่ได้เรียนมาทางด้านการบริหารธุรกิจมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจจริง
เพื่อยกระดับทักษะ ความรู้ ความสามารถให้นักศึกษากลุ่มเป้าหมายได้ร่วมมือกันสร้างองค์ความรู้จากภายในมหาวิทยาลัยและนำไปพัฒนาสู่ชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ ด้วยวิถีทางแห่งปัญญา
ศึกษาถึงวิธีการบริหารและจัดการทางการตลาดเกี่ยวกับสินค้าและบริการของท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนาสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาชุมชนให้เกิดมูลค่าเพิ่ม  การใช้ส่วนประสมทางการตลาดมาประยุกต์เข้ากับสินค้าและบริการชุมชนตลอดจนการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ของสินค้าชุมชน และยังรวมถึงการแสวงหาแหล่งเงินทุน
3  ชั่วโมงต่อสัปดาห์   บรรยายโดยอาจารย์ประจำวิชา
มีความซื่อสัตย์สุจริต  ซื่อตรงต่อหน้าที่  ต่อตนเองและต่อผู้อื่น  ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความกตัญญู  ความเสียสละ ความอดทน  ความเพียรพยายาม มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดความพอประมาณ  ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน มีความเคารพต่อกฎ  ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม

1.1.5   มีจิตสำนึกและมีนโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง  ความดี  และความชั่ว
บรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

1.2.2  ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย  การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.3  ให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกที่ดี โดยปลูกฝังให้นักศึกษาไม่กระทำการทุจริตในการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
1.3.1  ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
1.3.2  การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี  นิติศาสตร์  ศิลปะศาสตร์  และวิทยาศาสตร์ มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด  การเงิน  การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผนการปฏิบัติการ การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน

2.1.4   มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.2.1  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.2.2  ใช้การสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎี และปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.3  มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด หรือรายงาน  และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3.1  ประเมินจากสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  ประเมินจากงานที่มอบหมาย และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.1.1  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม  กิจกรรม  หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
3.1.2  สามารถสืบค้น  จำแนก  และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.1.3  สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้
3.1.4  มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
3.2.1  การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงงานโดยให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาทางการตลาด
3.3.1  ประเมินจากโครงงาน หรือรายงาน  โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงาน
3.3.2  ประเมินจากกรณีศึกษา
4.1.1  มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2  มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม  การประสานงาน  การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3  มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.4  มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่าง อย่างสร้างสรรค์
4.2.1  จัดกิจกรรมกลุ่ม ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2  มอบหมายงานกลุ่ม
4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
4.3.2  สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์  สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
5.1.2  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีสิทธิภาพ
5.1.3  สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4  สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง  ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.5  สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ และสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย
5.1.6  ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
5.1.7  ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต และทำรายงาน โดยให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.2.2  การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเหมาะสมทั้งในรูปแบบรายงาน และการนำเสนอ
5.3.1  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2  ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.2 การทดสอบ - การสอบกลางภาค - การสอบปลายภาค 8 17 30% 30%
2 3.1.2, 4.1.2, 5.1.4 วิเคราะห์กรณีศึกษารายงาน และการนำเสนอ รายงาน /งานที่มอบหมาย -การจัดทำแผนธุรกิจร่วมกับชุมชน การตลาดสินค้าชุมชน ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1.4 การเข้าชั้นเรียน - การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ชูศักดิ์ เดชเกรียงไกรกุล และ นิทัศน์ คณะวรรณ.  การตลาด 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ และธุรกิจ SMEs.
                              กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่นบมจ, 2547.
               มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. การจัดการตลาดและวิสาหกิจชุมชน. นนทบุรี : โรงพิมพ์
      มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2552.
               สำนักมาตรฐานการศึกษา สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดวิชาการ
   จัดการธุรกิจชุมชน. สำนักมาตรฐานการอุดมศึกษา  ทบวงมหาวิทยาลัย,2550
สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.  เทคโนโลยีสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ OTOP  เล่ม การพัฒนาบรรจุภัณฑ์
               กรมการพัฒนาชุมชน,  กรณีศึกษาเครือข่าย OTOP
               สมพงษ์ ธงไชย,  สุดยอด OTOP ไทยความภูมิใจของแผ่นดิน
- http://e-jorunal.dip.go.th
        - http://library.dip.go.th
        - http://smethai.dip.go.th
1. ประเมินผู้สอนประเมินรายวิชาโดยนักศึกษา
               2. ข้อเสนอแนะผ่าน Web board 
               3.การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเพื่อสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา  การตอบคำถามภายในชั้นเรียน  การอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน การตอบ  ซึ่งเป็นการประเมินเบื้องต้นได้ว่า  นักศึกษามีความเข้าใจหรือไม่
 ใช้วิธีการประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาว่ามีความเข้าใจ  และแนวคิดอย่างไร ตรงตามเป้าหมายที่ระบุในวัตถุประสงค์การเรียนหรือไม่ โดยใช้การพูดจาสื่อสารระหว่างกัน เกี่ยวกับความรู้ต่างๆ
 
โดยรวมนักศึกษามักมีจุดอ่อนทางด้านสมรรถนะด้านวิชาการ การฟังคำบรรยาย การนำเสนอสาระ  ผลการอ่านตำราวิชาการ  ผลการฟังคำบรรยายด้วยภาษาพูด ภาษาเขียน  ดังนั้นอาจารย์เองต้องมีการวิจัยในชั้นเรียนว่ามีอุปสรรคใดขัดขวางต่อการสร้างความคิด  หรือเป็นผลต่อการเมินเฉยของนักศึกษาอันจะก่อให้เกิดการขาดความเชื่อมั่น และต้องมีการนำมาปรับปรุงเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น 
 
การทวนสอบมาตรฐานตัวอย่างผลงานของนักศึกษาจากอาจารย์ท่านอื่นที่ไม่ใช่ผู้สอนวิชา ได้อย่างอิสระ เพื่อมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  และมีการยกตัวอย่างมาตรฐานงานของอาจารย์จากสถาบันอื่น
 
การสร้างโมเดลจำลองสถานการณ์  การแก้ไขจัดการกับปัญหาให้แก่นักศึกษา และสังเกตวิธีการแก้ปัญหา โดยนำข้อเสนอแนะของนักศึกษามาปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้หลักสูตรตรงกับการนำไปใช้ในธุรกิจปัจจุบันมากขึ้น