ศิลปะภาพพิมพ์สกรีน

Screen Printmaking

1. เข้าใจระบบและขั้นตอนการทำงานศิลปะภาพพิมพ์สกรีน 2. เข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางทัศนศิลป์ด้วยศิลปะภาพพิมพ์สกรีน 3. รู้วัสดุอุปกรณ์ในการทำศิลปะภาพพิมพ์สกรีน 4. มีทักษะในการทำศิลปะภาพพิมพ์สกรีน 5. มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานศิลปะภาพพิมพ์สกรีน 6. เห็นคุณค่าของงานศิลปะภาพพิมพ์สกรีน
เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้ เป็นเอกสารการเตรียมและวางแผนการสอนรายวิชา ศิลปะภาพพิมพ์ สำหรับสอนนักศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์จากกระบวนการภาพพิมพ์สกรีน โดยความรู้จากความเข้าใจในศิลปะภาพพิมพ์สกรีนนี้สามารถนำไปพัฒนาในผลงานสร้างสรรค์เฉพาะตนต่อไป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์จากกระบวนการภาพพิมพ์สกรีน (Screen Printmaking) โดยเน้นความพิเศษเฉพาะของเทคนิคและความคิดสร้างสรรค์
อาจารย์ผู้สอนจะให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน จำนวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสื่อสารให้นักศึกษาได้ทราบกำหนดเวลาล่วงหน้า
1. ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
2.  มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
3. ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชานี้
1. ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )
2.  มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
3.  ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )
4. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
ใช้การเรียนการสอน โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติงานจริง ทั้งนี้เป็นไปตามลักษณะเนื้อหาของรายวิชาศิลปะภาพพิมพ์สกรีน
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ                   1. ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติตามหัวข้อที่กำหนด                   2. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน                   3. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
1. ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )
2. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
3. ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )
4. มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการแก้ไขปัญหาในผลงานได้
ใช้กรณีศึกษาการมอบหมายงานให้นักศึกษาแล้วให้สังเกตปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานการปฏิบัติงานของนักศึกษาและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน
1. มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 
2. ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน ).
3. ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น   การประสานงานกับบุคคลภายนอก
สังเกตจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
1. ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน )
2. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ( ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน ) 
สอดแทรกวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงาน
สังเกตจากวิธีการนำเสนอผลงาน
มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำได้อย่างถูกต้อง
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีสร้างภาพร่างและปฏิบัติงานตามใบงาน และการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วย
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน ใช้กรณีศึกษาการมอบหมายงานให้นักศึกษาแล้วให้สังเกตปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานของตน
1 BFAVA189 ศิลปะภาพพิมพ์สกรีน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 .2,2.4,3.2,3.4,6.2 การนำเสนอผลงานตามหัวข้อหน่วยที่ 1,2 สอบกลางภาค การนำเสนอผลงานตามหัวข้อหน่วยที่ 3,4 สอบปลายภาค 4,6,8 9 11,13,15,17 90%
2 1.1 ประเมินการนำเสนอในแต่ละครั้ง จิตพิสัย ความสนใจ การเรียนสม่ำเสมอ การแต่งกายสะอาด การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.  กมล คงทอง. ศิลปะภาพพิมพ์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2543 2.  กมล ศรีวิชัยนันท์,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่มาของแรงบันดาลใจในการสร้างศิลปะ.เอกสารประกอบการ      สอนวิชาภาพพิมพ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 3.  จุฑารัตน์ วิทยา. ภาพพิมพ์ซิลค์สกรีน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บพิธการพิมพ์, 2550 4.  ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2557 5.  นิพนธ์ ทวีกาญจน์. ตะแกรงไหม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2526 6.  วิเชียร จิระกานนท์,นงเยาว์ จิระกานนท์. การพิมพ์ซิลค์สกรีน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธีระ      การพิมพ์, 2529 7.  อิทธิพล ตั้งโฉลก.ทรรศวรรษภาพพิมพ์-แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร, 2535 8.  อัศนีย์ ชูอรุณ.ผู้ช่วยศาสตราจารย์,ความรู้เกี่ยวกับศิลปะภาพพิมพ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์      อมรินทร์, 2532
แหล่งอ้างอิงที่สำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับศิลปะภาพพิมพ์
- วารสาร ศิลปะทั้งในและต่างประเทศ เช่น Art in America วารสารจากสถาบันต่างๆ - สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะภาพพิมพ์