การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

Object Oriented Programming

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้

- มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี Object Oriented 
- มีความรู้ ความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ ของเทคโนโลยี Object Oriented 
- สามารถนำเทคโนโลยี Object Oriented ไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทางการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุพื้นฐาน และเป็นการเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหา สามารถนำความรู้ในรายวิชามาเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย รวมถึงเพื่อการประกอบอาชีพในอนาคตของนักศึกษา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบและองค์ประกอบของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ เช่น คลาส อ็อบเจกต์ แอตทริบวิต์ เมธอด การสืบทอดคุณสมบัติ โพลีมอร์ฟิซึม เป็นต้น ฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมเพื่อเรียกใช้งานไลบรารีฟังก์ชันและเอพีไอของภาษา การใช้ส่วนติดต่อประสานโปรแกรมประยุกต์และการทำงานแบบการเขียนโปรแกรมเชิงเหตุการณ์
Study and practice about design concept and component of Object Oriented Programming (OOP) including class, object, attributes, method, inheritance, and polymorphism. Practice in OOP to call on function library and API framework, use of application user interface, and event-driven programming.
วันพุธ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์อาคาร 3  
1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- กำหนดข้อกำหนดของรายวิชาเช่น การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน 
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 
ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา 
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชา  เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญูหา
3. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด
4. สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
5. รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
6. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
7. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
8. สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- บรรยายเนื้อหาบทเรียนประกอบสื่อการสอน
- เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามในประเด็นที่สงสัยและอภิปราย
- ฝึกปฏิบัติเขียนโปรแกรมตามโจทย์ที่มอบหมาย
-ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค
-ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
-ประเมินจากงานที่มอบหมาย
1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
2. สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
4. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
- ยกตัวอย่างพร้อมให้นักศึกษาร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นภายในชั้นเรียน
- ฝึกปฏิบัติเขียนโปรแกรมตามโจทย์ที่มอบหมาย
- มอบหมายงานและนำเสนอหน้าชั้น
-ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค
-ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน การนำเสนองาน
- ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
5. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
6. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องคุณสมบัติต่างๆ นี้สามารถวัดระหว่างการทำกิจกรรรมร่วมกัน
มอบหมายงานและนำเสนองานในชั้นเรียน
- ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน
- ประเมินจากพฤติกรรมขณะนำเสนอผลงาน
1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 
2. สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
4. สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
- ฝึกปฏิบัติเขียนโปรแกรมตามโจทย์ที่มอบหมาย
- มอบหมายงานและนำเสนอหน้าชั้น
- ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอ ความสามารถในการอธิบาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4
1 BSCCT502 การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 4.4 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา ประเมินจากพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.1, 2.2, 3.1,3.3 การสอบกลางภาคและสอบปลายภาค 8 และ 17 50%
3 2.2, 3.1, 3.4 ปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมาย ทุกสัปดาห์ 10%
4 2.1, 3.1, 3.3, 4.4, 5.1 รายงานและการนำเสนองาน 16 20%
5 2.2, 3.1, 3.3 ทดสอบย่อย 5 และ 12 10%
ธีรวัฒน์ ประกอบผล. 2565. คู่มือการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุภาษา JAVA OOP ฉบับสมบูรณ์. ซิมพลิฟลาย : กรุงเทพ
อรพิน ประวัติบริสุทธิ์. 2564. คู่มือเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java ฉบับสมบูรณ์. โปรวิชั่น : กรุงเทพ
อนรรฆนงค์ คุณมณี. 2554. คู่มือเขียนโปรแกรมภาษา JAVA ฉบับผู้เริ่มต้น. ไอดีซีฯ : นนทบุรี
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
- แบบประเมินความพึงพอใจการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัย  
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา
- การพิจารณาผลงานที่มอบหมาย
หลังจากทราบผลการประเมินการสอน จึงมีการปรับปรุงการเรียนการสอน โดย
- รวบรวมปัญหาการเรียนของนักศึกษาและแนวทางแก้ไข โดยพิจารณาจากประเด็นในการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา
- การจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน
- มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง
- ให้นักศึกษามีโอกาสตรวจสอบคะแนนก่อนรายงานผลการเรียน
พิจารณาผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา และวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น เช่น การปรับปรุงเนื้อหา ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอนให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป