กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อทำงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรม

Scientific Methods for Research and Innovation

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.      รู้และเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี
2.      รู้และเข้าใจแนวความคิดและการวิเคราะห์ปัญหาการวิจัย
3.      รู้และเข้าใจวิธีการทางวิทยาศาสตร์
4.      รู้และเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพของแหล่งข้อมูลงานวิจัย
5.      เข้าใจการวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานผล และการสรุปผล
6.      รู้และเข้าใจการเขียนโครงร่างข้อเสนองานวิจัย
7.      รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเผยแพร่ผลงานวิจัย
ศึกษาและพัฒนาทักษะทางด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และสรุปผล โดยใช้กระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในการนำทักษะไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยหรือสร้างสรรค์นวัตกรรม
Study and develop skills in c olling, analyzing, and summarizing data using scientific methods for preparing students in applying these skills in research and creative innovation.
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง 
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และ สิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning) 
1.2.2 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion)
1.2.3 การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies)
1.2.4 การสอนแบบบรรยาย
1.3.1 การเขียนบันทึก
1.3.2 โครงการกลุ่ม 
1.3.3 การสังเกต 
1.3.4 การประเมินโดยเพื่อน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชา ที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
2.2.2 การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving)
2.2.3 การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning) 
2.2.4 การสอนแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction)
2.2.5 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Whole - Class Discussion)
2.2.6 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion)
2.2.7 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  (Participatory Learning)
2.2.8 การสอนแบบบรรยาย  
2.3.1 โครงการกลุ่ม
2.3.2 การสังเกต
2.3.3 ข้อสอบอัตนัย
2.3.4 ข้อสอบปรนัย
3.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
3.2.2 การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving)
3.2.3 การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning) 
3.2.4 การสอนแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction)
3.2.5 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Whole - Class Discussion)
3.2.6 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion)
3.2.7 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  (Participatory Learning)
3.2.8 การสอนแบบบรรยาย  
3.3.1 การสังเกต
3.3.2 การนำเสนองาน
3.3.3 ข้อสอบอัตนัย
3.3.4 ข้อสอบปรนัย
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Whole - Class Discussion)
4.2.2 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion)
4.2.3 การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย
4.3.1 การสังเกต
4.3.2 การนำเสนองาน
5.1.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
5.1.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและ สอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
5.2.1 การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล
5.2.2 ฝึกฝนเทคนิคการคำนวณและการรายงานผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
5.2.3 การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองานด้วยวิธีโปสเตอร์และวาจา
5.1.1 การสังเกต
5.1.2 การนำเสนองาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะ ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลและความ รับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning)  การสอนแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction) การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Whole - Class Discussion) การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion) ฝึกฝนเทคนิคการคำนวณและการรายงานผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
1 GEBSC303 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อทำงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-8 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม และความรับผิดชอบ 1-16 10
2 1.1-5.2 สอบกลางภาค 8 30
3 1-8 งานมอบหมายและรายงานการทดลอง 1-16 20
4 5.3-8.5 สอบปลายภาค 17 30
5 1-8 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม 1-16 5
6 1-8 ความตรงต่อเวลา และการเข้าร่วมชั้นเรียน 1-16 5
เอกสาร Power point ประจำบทเรียนต่าง ๆ 
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชาซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอนโดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยกลุ่มวิชา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
แผนกวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา  มีการประชุมอาจารย์ในแผนกวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข เช่น นำระบบ Google form หรือ MS Team ใช้ในการเก็บข้อมูลงานมอบหมายของนักศึกษา รวมถึงแบบฝึกหัดประจำบท นำงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอนมาเป็นสื่อการเรียนการสอนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าใจถึงการนำพื้นฐานคาวมรู้ทางเคมีไปใช้งานจริง 
กลุ่มวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของกลุ่มวิชาภายในรอบเวลาหลักสูตร
กลุ่มวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของแผนกวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้ากลุ่มวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป