การตลาดโลก

Global Marketing

เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการตลาดโลก ปัจจัยที่มีผลต่อการตลาดต่างประเทศในยุคดิจิทัล พฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดโลก การแบ่งส่วนตลาด การเลือกการตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์และบริการที่มุ่งเน้นความเป็นสากล การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด แนวโน้มของการตลาดโลก 
เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการตลาดโลก ปัจจัยที่มีผลต่อการตลาดต่างประเทศในยุคดิจิทัล พฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดโลก การแบ่งส่วนตลาด การเลือกการตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์และบริการที่มุ่งเน้นความเป็นสากล การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด แนวโน้มของการตลาดโลก 
3
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรมคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น 
2. มีความพอเพียงมีวินัยขยันอดทนเพียรพยายามตรงต่อเวลารับผิดชอบต่อตนเองวิชาชีพสังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อมมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม 
3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม 
มีการจัดกิจกรรมในรายวิชา เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และอธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน มีการมอบหมายงานกลุ่มเน้นการเป็นผู้นำและเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น รวมถึงบทโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน 
1. ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ 
2. ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม 
3. ประเมินจากการเข้าเรียน ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 
4. สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน 
5. ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทฤษฎีและการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและพัฒนาความรู้ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 
2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องประยุกต์ใช้ความรู้ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหาเข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษารวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง นอกจากนั้นยังใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่ไปกับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและการบรรยายในชั้นเรียนถามตอบ
การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน  รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้ากิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ  ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงหรือสถานการณ์จริง  ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ  ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา  ประเมินจากการนำเสนอผลงาน  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงานการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน 
1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตัวเอง 
2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ 
จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน  กรณีศึกษาทางการจัดการโครงการ งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม  การศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน  การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง  จัดให้ในรายวิชามีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญาความคิดการวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆทั้งในสาขาและนอกสาขา
ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงาน ผลการวิจัย ผลการอภิปราย และประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหาอธิบายแนวคิดการแก้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มารวมถึงการประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา 
1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
2. มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ๆได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนอย่างต่อเนื่อง 
1. ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์ และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง 
2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม 
3. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป 
4. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา 
5. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและทำงานร่วมกัน 
1. การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค 
2. ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา 
3. ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา 
4. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming) 
5. ใช้ผลการประเมินจากการฝึกงานและการทำสหกิจศึกษา 
1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจและชีวิตประจำวัน 
2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสาร และเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ 
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร 
2. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 
3. ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล 
4. ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข 
5. บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟต์แวร์หรือสื่อต่างๆในทุกรายวิชาที่สามารถทำได้ 
การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคลและการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม  จากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ  ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลขซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน 
1. สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม 
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริงและนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม  จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตำหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม  จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจด้านการวางแผนการจัดโครงสร้างองค์การการปฏิบัติการการควบคุมและการรายงานผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์  จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน  จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง  จัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย 
ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษาจากการจำลองหรือสถานการณ์จริงและความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม  พฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตำหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม  พฤติกรรมที่แสดงออกจากการเข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน  การนำเสนอผลงานหรือโครงงานโดยการเลือกใช้ภาษาการสื่อสารในบริบทต่างๆเพื่อคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม  นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้ 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4
1 BBABA669 การตลาดโลก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3.1, 3.2 การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค แบบทดสอบ 9, 18 30%, 30%
2 1.1, 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 4.1, 4.2, 5.1, 5.2, 6.1 งานมอบหมาย กิจกรรมในชั้นเรียน การนำเสนองาน ตลอดภาคเรียน 35%
3 1.1, 1.2, 1.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน พฤติกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคเรียน 5%
Warren J. Keegan, Mark C. Green.  Global marketing. 9th edition. Malaysia: Pearson Education, 2017. ภวิดา ปานะนนท์.ธุรกิจระหว่างประเทศ:บริบทของประเทศไทย.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 1(พิมพ์เพิ่ม).กรุงเทพฯ.2561 ภูษณิษา เตชเถกิง.การตลาดระหว่างประเทศ.ซีเอ็ดยูเคชั่น.กรุงเทพ.2556นันทสารี สุขโต. การตลาดระดับโลก(Global Marketing). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ, 2555. ศศิวิมล สุขบท. การตลาดระหว่างประเทศ(International Marketing).โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: 2550 สุดาพร   กุณฑลบุตร. การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) . โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพฯ. 2547.
1. ระดับคะแนนจาการทดสอบ การสอบกลางภาคและปลายภาค
2. ประเมินจากการสอบถาม ถามตอบ กับผู้เรียน
3. ผลคะแนนทวนสอบของรายวิชา
4. การวิจัยในชั้นเรียน
1. ผลการประเมินการสอนจากนักศึกษา
2. ประเมินจากการสอบถาม คำแนะนำ ข้อเสนอแนะวิธีการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน
3. ผลคะแนนทวนสอบของรายวิชา
 
ปรับวิธีการสอนตามผลประเมินและการแนะนำจากผู้เรียนหรือจากผลการวิจัยชั้นเรียน
1. การทวนสอบตามแบบฟอร์มของคณะ 2. การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
1. ปรับวิธีการสอน ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา