วัสดุวิศวกรรม

Engineering Materials

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในโครงสร้างจุลภาคและมหภาค คุณสมบัติและการทดสอบ แผนภาพสมดุลของเฟส กระบวนการผลิต และการประยุกต์ใช้วัสดุในงานวิศวกรรมแต่ละชนิด ตามหัวข้อต่าง ๆ ในคำอธิบายรายวิชา เช่น โลหะ พลาสติก ยางมะตอย ไม้  คอนกรีต เซรามิค และวัสดุเชิงประกอบ
           1.2 เพื่อให้นักศึกษามีคุณธรรม เจตคติที่ดีและใช้ความรู้ทางวัสดุวิศวกรรมในการเลือกใช้งานทางวิศวกรรมได้
 1.3 เพื่อให้นักศึกษาเกิดปัญญาในการประยุกต์ใช้วัสดุในงานวิศวกรรมแต่ละชนิดในอุตสาหกรรมได้
 1.4 เพื่อให้นักศึกษามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อสถาบัน เพื่อนร่วมชั้นเรียนและให้เกิดความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายละตระหนักในหน้าที่ที่ได้รับ
 1.5 เพื่อให้นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลขและสามารถใช้ IT ในการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษาทางด้านวัสดุวิศวกรรม
            เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ มีความเข้าใจ มีคุณธรรม มีทักษะและสามารถคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลขและใช้ IT ที่เกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษาทางด้านวัสดุวิศวกรรม สามารถนำความรู้ที่ได้ไปแก้ไขปัญหาและประยุกต์กับวิชาชีพและให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้านวัสดุวิศวกรรม   
         ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง คุณสมบัติ กระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้วัสดุวิศวกรรม เช่น โลหะ โพลิเมอร์ พลาสติก ยางมะตอย ไม้ คอนกรีต เซรามิค และวัสดุเชิงประกอบ แผนภาพสมดุลเฟสและการแปลความหมาย การทดสอบสมบัติต่างๆ ของวัสดุวิศวกรรมและการแปลความหมายสมบัติทางกลและการเสียหายของวัสดุ            Study of relationship between structures, properties, production processes and applications of main groups of engineering materials i.e. metals, polymers, ceramics and composites, phase equilibrium diagrams and their interpretation, mechanical properties and materials degradation.
- อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงว่างของการเรียน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1-2  ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. คุณธรรม จริยธรรม 1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
                   û1.1.1 มีความตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
   l1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบวินัยและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
                  l1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
                   û1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
                   û1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
                   û1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
                   û1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ               
               1.2 วิธีการสอน 
                   1.2.1 อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษา
                   1.2.2 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุวิศวกรรม
                   1.2.3 อภิปรายกลุ่ม มอบหมายงานเป็นกลุ่มและนำเสนอผลงาน
         1.2.4 สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียนตรงต่อเวลา มารยาทในห้องเรียน มารยาทในการใช้อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น
        1.3 วิธีการประเมินผล
        1.3.1 สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถาม  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน การยกตัวอย่างเปรียบเทียบในด้านการรักษากฎระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคมองค์กรให้เห็นมีคุณค่า มีเกียรติ รู้สึกภูมิใจในตนเองและสถาบัน
2. ความรู้
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
       ™2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และพื้นฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
       l2.1.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
                 ™2.1.3 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสราง  คุณสมบัติ  กระบวนการผลิตและการประยุกตใช้วัสดุวิศวกรรมกลุ่มหลัก เชน โลหะ โพลิเมอร์ เซรามิก และวัสดุเชิงประกอบหรือวัสดุคอมโพสิต  แผนภาพสมดุลเฟสและการแปลความหมาย  การทดสอบคุณสมบัติทางกลตางๆ ของวัสดุวิศวกรรมและการแปลความหมายคุณสมบัติทางกลและการเสียหายหรือเสื่อมสภาพของวัสดุ
        2.2 วิธีการสอน
       2.2.1 บรรยายหลักการ ทฤษฎีตามคำอธิบายรายวิชา อภิปรายระหว่างอาจารย์และนักศึกษา  
       2.2.2 ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานวัสดุวิศวกรรมเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
       2.2.3 มอบหมายงานให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
       2.2.4 สรุปเนื้อหาบทเรียน
2.3 วิธีการประเมินผล
        2.3.1  ตรวจแบบฝึกหัด ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
        2.3.2  ประเมินจากการถามตอบในชั้นเรียน และการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล 
3. ทักษะทางปัญญา     
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
      l3.1.1  พัฒนาความสามารถในการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณที่ดี
      l3.1.2 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของความรู้และเทคโนโลยี
3.2 วิธีการสอน
       3.2.1  การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำรายงานเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
        3.2.2   การวิเคราะห์และอภิปรายกลุ่ม
        3.2.3  เชิญวิทยากรหรือบุคลากรที่ชำนาญเฉพาะทางมาร่วมบรรยาย
3.3 วิธีการประเมินผล
         3.3.1   วัดผลพิจารณาจากการทำรายงานเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
         3.3.2   สอบกลางภาคและปลายภาค
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 
        4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
                      ™4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษา ต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
                      û4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
û4.1.3 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
                     l4.1.4  มีจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
       4.2 วิธีการสอน
                     4.2.1 ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.2.2 ใช้วิธีการสอนให้มีจิตรสำนึกในเรื่องของความปลอดภัยในการเลือกใช้งานของวัสดุ
                     4.2.3 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.3 วิธีการประเมินผล
                     4.3.1 สังเกตพฤติกรรมการทำงาน ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและความตระหนักในเรื่องของความปลอดภัย
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
        5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
       û5.1.1  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
       û5.1.2  พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลจาก Inter net และ web site ต่าง ๆ
      ™5.1.3  พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2 วิธีการสอน
        5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก web site สื่อการสอน E-Learning
        5.2.2 นำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
        5.2.3 อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม          
5.3 วิธีการประเมินผล
          5.3.1  ผลจากการประเมินการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
                      5.3.2 ผลจากการสังเกตพฤติกรรมในการอภิปรายกลุ่มโดยใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 ENGCC303 วัสดุวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม 1.1 – 1.8, 2.1 -2.5, 3.1 -3.5, 4.1-4.8 แบบฝึกหัดครั้งที่ 1 สอบย่อย สอบกลางภาค 1-7 8 7% 25%
2 ความรู้ 5.1 -5.4, 6.1 – 6.4, 7.1 – 7.4, 8.1 - 8.4, 9.1-9.5, 10.1-10.5 แบบฝึกหัดครั้งที่ 2 สอบย่อย สอบปลายภาค 9-16 17 8% 25%
3 ปัญญา 1.1 – 1.8, 2.1 -2.5, 3.1 -3.5, 4.1-4.8, 5.1 -5.4, 6.1 – 6.4, 7.1 – 7.4, 8.1 - 8.4, 9.1-9.5, สังเกตการทำงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมายในแต่ละส่วนในหัวข้อนั้น ๆ 1-16 10%
4 IT การมีส่วนร่วมในการเรียน สังเกตการเข้าชั้นเรียนและความประพฤติ การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 15% 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
         1.1 มานพ  ตันตระบัณฑิตย์. วัสดุวิศวกรรม. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น), กรุงเทพฯ :
               บริษัท ส.เอเซียเพรส(1989) จำกัด, 2536
         1.2 ชาญวุฒิ  ตั้งจิตวิทยา  และสาโรช ฐิติเกียรติพงศ์. วัสดุในงานวิศวกรรม. กรุงเทพฯ :
               บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2521
         1.3 มานพ  ตัณตระบัณฑิตย์. งานทดสอบวัสดุอุตสาหกรรม. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-
               ญี่ปุ่น), 2531
         1.4 ณรงค์ศักด์  ธรรมโชติ. วัสดุวิศวกรรม. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2551
         1.5 วีระพันธ์  สิทธิพงศ์. โลหะวิทยากายภาพสำหรับวิศวกร ภาค 2. โรงพิมพ์นิยมวิทยา, 2533
         1.6 สุวันชัย พงษ์สุกิจวัฒน์และคณะ.วัสดุศาสตร์และวัสดุวิศวกรรมพื้นฐาน.บริษัทสำนักพิมพ์ท็อป
               จำกัด,2548.
         1.7 Callister, Jr. W.D. Materials Science and Engineering: An Introduction. 6th Edition. John Wiley & Sons, New York, USA., 2003
Power Point Presentation  ทฤษฏีวัสดุวิศวกรรม
 เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia, Google, คำอธิบายศัพท์
. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมได้ดังนี้
            1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
            1.2  การถามตอบเนื้อหาและความรู้รอบตัวที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
            1.3  แบบประเมินรายวิชาโดยผู้เรียน
      1.4 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด kantwirunphan@gmail.com  และ Face book  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
     ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
            2.1  ผลการเรียนของนักศึกษา
    2.2  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
    2.3 ประเมินการสอนโดยนักศึกษา
3. การปรับปรุงการสอน
       หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อที่ 1 และ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนด้วยการทำการวิจัยในชั้นเรียน
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
       ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
        4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ที่ไม่ใช่อาจารย์ที่สอนในรายวิชาเดียวกันหรืออาจารย์ที่สอนในรายวิชาเดียวกัน
               4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อที่ 4