จิตรกรรมคนเหมือน

Portrait Painting

1. รู้จักวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆในการเขียนภาพจิตรกรรมคนเหมือน
2. เข้าใจขั้นตอน วิธีการวาดภาพเทคนิคจิตรกรรมคนเหมือนเทคนิคสีน้ำมันและเทคนิคอื่นๆในรูปแบบเหมือนจริง
3. มีทักษะในการเขียนภาพจิตรกรรมภาพคนแบบเหมือนจริงและมีลักษณะเฉพาะทางเทคนิคในการแสดงออก
4. เลือกเทคนิคในการเขียนภาพจิตรกรรมคนเหมือนได้อย่างเหมาะสม เข้าใจสัดส่วนต่างๆตามหลักกายวิภาค การใช้สีผิวเนื้อคน สื่ออารมณ์ ความรู้สึกธรรมชาติของมนุษย์ เพศ และวัยต่างๆได้
5. สามารถพัฒนาต่อยอดผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนไปสู่แนวคิดทางศิลปะในแนวทางเฉพาะตนได้ในอนาคต
 
ศึกษาค้นคว้าฝึกปฏิบัติการวาดภาพจิตรกรรมคนเหมือน ด้วยการใช้เทคนิคสีน้ำมันหรือเทคนิคอื่นๆ ที่มีความหลากหลาย โดยมีความรู้และสามารถสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมคนเหมือนที่มีความงามด้านสัดส่วน สี และการจัดภาพ เพื่อฝึกฝนให้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนภาพคนแบบเหมือนจริง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อแสดงออกทางเทคนิคจิตรกรรมในการวาดภาพคนเหมือนโดยเฉพาะ ศึกษาเรียนรู้ตั้งแต่การวาดภาพใบหน้า ภาพคนครึ่งตัว และภาพคนเต็มตัว ซึ่งให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการการรองพื้นผ้าใบ การใช้สีผิวในการวาดสีผิวพรรณของคนเพศ วัย และบุคลิคเฉพาะของแบบ รวมไปถึงภาพปะกอบของพื้นหลังในภาพที่มีความสอดคล้องกัน 
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับจิตรกรรมภาพคนเหมือน เทคนิคสีน้ำมัน หรือสีอื่นๆ ศึกษาการเตรียมพื้นผ้าใบ หรือระนาบอื่นๆก่อนการวาดภาพคน โดยมีความรู้เรื่องการร่างภาพ เข้าใจโครงสร้าง สัดส่วน ของรูปร่างรูปทรง รวมถึงมุมมองในลักษณะต่างๆ สามารถแทนค่าสีและน้ำหนักแสงเงาให้มีความเหมือนจริงตามแบบได้ และสามารถสร้างสรรค์ภาพคนเหมือนเป็นงานศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะตนได้
 
  Study and practice painting portraits, including oil painting techniques, or other types of paint, preparing a canvas or planes before painting. Gain insight into sketching. Understand the structure, proportion of shapes and forms, and various aspects of perspective. Place value to create realism similar to the original subject and create a portrait with individual style.
2 ชั่วโมง/สัปดาห์
(1)ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

(2)มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น(ไม่มีการประเมิน)

(3)มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
(1)รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง (ไม่มีการประเมิน)

(2)มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ

(3)มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม (ไม่มีการประเมิน)

(4)มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา 
(1)สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน  

(2)สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ (ไม่มีการประเมิน)
 
(3)สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ (ไม่มีการประเมิน)

(4)มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
(1)มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
 
(2)มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(3)สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง (ไม่มีการประเมิน)
(1)สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรมและนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
(2)สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(3)มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม (ไม่มีการประเมิน)
(1)มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ

(2)มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง

(3)มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2 ด้านความรู้ 3 ด้านทักษะทางปัญญา 4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา (1) ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น (3) มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ (1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง (2) มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ (3) มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม (4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา (1) สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน (2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่าง สร้างสรรค์ (3) สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และวิชาชีพได้ (4) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน (1) มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีประสิทธิภาพ (3) สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพใน ความคิดเห็นที่แตกต่าง (1) สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ (2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการ สร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่ เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม (1) มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ (2) มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง (3) มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BFAVA185 จิตรกรรมคนเหมือน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 พื้นฐานเบื้องต้นการวาดภาพจิตรกรรมคนเหมือน -ภาพเหมือนใบหน้าบุคคล ชิ้นที่ 1 สัดส่วน โครงสร้างใบหน้า สีผิวและแสงเงา 2 9
2 โครงสร้างภายในสู่ภายนอก ในการวาภาพเหมือนบุคคล -ภาพเหมือนใบหน้าบุคคล ชิ้นที่ 2 ความถูกต้องของสัดส่วน โครงสร้าง ปริมาตร สีและแสงเงา 3 9
3 ส่วนประกอบบนใบหน้าและลักษณะเฉพาะของแบบในการวาดภาพเหมือน -ภาพเหมือนใบหน้าบุคคล ชิ้นที่ 3 ความถูกต้องของโครงสร้าง สัดส่วนใบหน้า ส่วนประกอบต่างๆบนใบหน้า 4 9
4 การใช้สีแบบยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการเทคนิค underpainting -คัดลอกผลงานศิลปินในประวัติศาสตร์ศิลป์ ชิ้นที่ 4 ความถูกต้องของการร่างภาพ ขั้นตอนการใช้สี ความเหมือนจากต้นแบบ 5 9
5 การวาดภาพเหมือนบุคคลโดยการใช้สีแบบภาพถ่าย โฟโต้เรียลลิสต์ -ภาพเหมือนบุคคลถึงต้นแขน ชิ้นที่ 5 ความเหมือนจริงตามแบบ ทั้งโครงสร้างและสี 7 9
6 การวาดภาพเหมือนบุคคลโดยการใช้สีแบบ Impressionism -ภาพเหมือนบุคคลถึงต้นแขน ชิ้นที่ 6 ความถูกต้องตามสีสัน และโครงสร้างตามต้นแบบ 9 9
7 การจัดแสง มุมมอง ท่าทางและบุคลิคภาพของแบบในการวาดภาพเหมือน -ภาพเหมือนบุคคลครึ่งตัว วาดถึงมือ ผู้หญิง ชิ้นที่ 7 ความถูกต้องของโครงสร้าง การใช้สี แสง มุมมอง ท่าทาง บุคลิคลิคตรงตามแบบ 11 9
8 ความสัมพันธ์ของภาพบุคคลและพื้นที่ว่างในงานจิตรกรรมภาพเหมือน -ภาพเหมือนบุคคลครึ่งตัว วาดถึงมือ ผู้ชาย ชิ้นที่ 8 ความสัมพันธ์ของภาพบุคคลและพื้นที่ว่างมีความสอดคล้องกัน 13 9
9 สัญลักษณ์ที่ประกอบกับภาพเหมือนบุคล -ภาพเหมือนบุคคลถึงเข่า ชิ้นที่ 9 สัญลักษณ์ที่ประกอบกับภาพเหมือนบุคลมีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่แสดงออก 15 9
10 งานจิตรกรรมภาพเหมือนกับบริบททางสังคม บุคคลสำคัญต่างๆ -ภาพเหมือนบุคคลเต็มตัว ชิ้นที่ 10 lสามารถแสดงออกผ่านจิตรกรรมภาพเหมือนกับบริบททางสังคม โดยมีความคิดและทักษะฝีมือในรูปแบบเฉพาะตน 17 9
11 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน การให้ความร่วมมือในการเรียน การส่งงานตามเวลาที่กำหนด 1-17 10
12 รวม คะแนน 1-17 100
- กำจร สุนพงษ์ศรี. ศิลปะสมัยใหม่. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554

 - กำจร สุนพงษ์ศรี. สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 

- จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. โลกศิลปะศตวรรษที่20. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2552 

- ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ : Composition of art. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2557 

- อิทธิพล ตั้งโฉลก. แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์อัมรินทร์ ปริ้นติ้ง, 2550
หนังสือศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่9,พิมพ์ครั้งที่2 .กรุงเทพ:อัมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง,2540 
ศาสตราจารย์ กำจร สุนพงษ์ศรี. หนังสือศิลปะสมัยใหม่ .สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2554 
ชลูด นิ่มเสมอ.องค์ประกอบของศิลปะ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด,2534
www.rama9art.org/ 
www.fineart-magazine.com
 www.American painting
 www. Art Now