ดิจิทัลอาร์ต

Digital Art

1. ศึกษาค้นคว้ากระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะในรูปแบบดิจิทัลอาร์ตพื้นฐาน ได้แก่ภาพนิ่งดิจิทัล 2 มิติ และ 3 มิติ
2. ฝึกทักษะปฏิบัติการสร้างสรรค์งานศิลปะดิจิทัลอาร์ตตามกระบวนการพื้นฐานอย่างมีระบบและขั้นตอน
3. ศึกษาทดลองการเผยแพร่ผลงานดิจิทัลอาร์ตในลักษณะนิทรรศการศิลปะ
ปรับปรุงรายวิชามาจากวิชา BFAVA139 สื่อศิลปะ 1
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานศิลปะในรูปแบบดิจิทัลอาร์ต ภาพนิ่ง 2 มิติ และ 3 มิติ  ที่ประกอบไปด้วย ภาพบิตแมป และภาพเวกเตอร์ โดยผ่านกระบวนการเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปที่เกี่ยวข้อง เน้นการค้นคว้าทดลองในการสร้างสรรค์ผลงาน
Study and practice creating digital art, two-dimensional and three-dimensional images, including bitmap and vector, through computer processing and related software, focusing on research and experiment in creating artwork.
2 ชั่วโมง / สัปดาห์
(1) ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น (3) มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา  ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
(1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง (2) มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ (3) มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม (4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา 
(1) อภิปรายและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานดิจิทัลอาร์ตทางทัศนศิลป์
(2) นำเสนอหรือแสดงความคิดเห็นความรู้ที่สนับสนุนต่อการสร้างสรรค์ผลงาน ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  
(3) มีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการสร้างสรรค์ดิจิทัลอาร์ตทางทัศนศิลป์ ตลอดจนถึงจุดมุ่งหมาย  เนื้อหาในการสร้างสรรค์ดิจิทัลอาร์ตทางทัศนศิลป์
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ คือ การส่งงานที่มาจากความรู้ที่ศึกษา การประเมินจากความรู้ความเข้าใจ จากการแสดงความคิดเห็น การนำเสนอผลงานตามความรู้ที่ได้รับ ที่มาจากการศึกษา ค้นคว้า รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานดิจิทัลอาร์ตทางทัศนศิลป์
(1)  สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน (2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ (3) สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ (4) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
ใช้กรณีศึกษา  การมอบหมายงานให้สืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูลเพื่อพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ เน้นการฝึกให้ตั้งข้อสังเกต ฝึกการตั้งคำถาม ฝึกการคิดจากข้อมูลการศึกษาในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน โดยจัดกิจกรรมการสอนที่ให้มีส่วนร่วมได้ใช้ความคิดเห็นร่วมกัน สอดแทรกตัวอย่างที่เกิดจากการ ใช้ทักษะทางปัญญา เช่น การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองในด้านใดอย่างไร ที่ทำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดทั้งต่อตนเองและสังคม
สังเกตพัฒนาการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ ความสนใจความตั้งใจในการแสวงหาความรู้ สังเกตวิธีคิดในการตั้งคำถาม หาคำตอบและแนวทางแก้ไขปัญหา พิจารณาพัฒนาการการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีไหวพริบสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสม
(1) มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม   การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น   การประสานงานกับบุคคลภายนอก   การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 
(1) สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่ เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ    ค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล  โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล   การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร 
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข  การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม   ประเมินจากการอภิปรายรายบุคคล
สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานของตน
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 2. มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ 1. รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง 2. มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ 3. มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม รมเนียมปฏิบัติใน4. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา 1. สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน 2. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3. สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ 4. มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน 1. มีภาวะผู้นำ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 2. มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง 1. สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม 1. สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานของตน
1 BFAVA195 ดิจิทัลอาร์ต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม การเข้าชั้นเรียน ขาด ลา มาสาย - การถาม-ตอบในชั้นเรียน การมีวินัย 1 - 18 6%
2 ความรู้ ผลการศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลรายละเอียดความรู้ อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ 1 - 18 20%
3 ทักษะทางปัญญา ผลการสร้างสรรค์มีความสอดคล้องกับความเป็นผลงานดิจิทัลอาร์ตทางทัศนศิลป์ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และพัฒนาแนวคิด ผลงานของตนเองได้ มีไหวพริบและสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในผลงานสร้างสรรค์ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3-5-7-9-11-13-15-17 40%
4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การถามตอบในชั้นเรียน มีความเป็นผู้นำและผู้ฟังที่ดี สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ การนำเสนอผลงานต่อผู้ที่สนใจ 1 - 18 2%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าเพื่อการจัดทำรายงานแบบกลุ่มหรือเดี่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1 - 18 2%
6 ทักษะพิสัย ผลงานสร้างสรรค์ดิจิทัลอาร์ตทางทัศนศิลป์ 1 - 18 30%
- รสลิน กาสต์. (2558). แอ็พโพรพริเอชั่นอาร์ต ศิลปะแห่งการหยิบยืม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 
- ประทีป สุธาทองไทย. (2559). การสร้างผลงานศิลปะภาพถ่ายจากภาพสะท้อนวัฒนธรรมการบูชาวัตถุมงคล. ออนไลน์.
- อรรคพล เชิดชูศิลป์. (2557). ศิลปวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ศิลปะดิจิตอล. ออนไลน์.
- สุริยะ ฉายะเจริญ. (2556). ผลงานดิจิทัลอาร์ตจากงานวิจัยกรณีศึกษาผลงานสร้างสรรค์จากการสันนิษฐานรูปลักษณ์โบราณสถาน. ออนไลน์.
- นคเรศ รังควัต. พื้นฐานดิจิทัล : Digital imaging fundamentals.
- เกียรติพงษ์ บุญจิตร. คุ่มือ Photoshop CS6 Professional Guide ฉบับสมบูรณ์
- Bruce Wands. (2006). Art of the digital age, New York : Thames & Hudson.  
- Derek Lea. (2009).  Creative Photoshop CS4 Digital Illustration and Art Techniques. Canada : Elsevier Inc. 
- Paul, Christiane. (2015). Digital Art. London : Thames & Hudson.
- Scott Ligon. (2010).  Digital Art Revolution. New York : Watson-Guptill Publishing.  
เว็บไซต์ และข้อมูลแนะนำ
- https://en.wikipedia.org/wiki/Digital_art 
- https://en.wikipedia.org/wiki/Digital_painting
- https://www.deviantart.com
- https://www.artstation.com
- https://www.widewalls.ch/magazine/photomontage-art
1.1 สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาเมื่อจบเนื้อหานั้น
1.2 นักศึกษาประเมินการสอนจากแบบสอบถาม เว็บไซต์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.1 การสังเกตการณ์ และทีมผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.4 ผลการค้นคว้าจากรายงานของนักศึกษา
2.5 เชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้าร่วมในการเรียนการสอน
2.6 ผลการประเมินจากการให้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
4.1 กระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา
4.2 ทวนสอบจากคะแนนการปฏิบัติ หรืองานที่มอบหมายจากการสุ่มตัวอย่างผลงานของนักศึกษา
4.3 ตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินและกระบวนการการให้คะแนน
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 1 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 สลับเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากมุมมองทัศนคติ ที่หลากหลาย
5.3 นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา การประชุมสัมมนานำมา สรุปผล และพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคเรียนต่อไป