การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด

Marketing Data Analytics

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางการตลาด 
 
 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางการตลาด ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการตลาดปัจจุบัน
การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์แนวโน้ม และการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล การใช้สถิติ ตัวเลข และเทคโนโลยีทางการตลาดในการคาดคะเนพฤติกรรมผู้บริโภค การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจทางการตลาด เพื่อยกระดับความสามารถในการตัดสินใจและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันตามสถานการณ์ทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลง
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สอนเสริมเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม)
Accountability  ความรับผิดชอบ (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์)

บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม

     ผลการเรียนรู้ด้านทักษะคุณธรรมจริยธรรม
       ข้อ 1.  มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
       ข้อ 2.  มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
       ข้อ 5. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.  สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
2.  ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.  การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2.  การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
Ability  ความรู้ความสามารถ  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน

Accountability  ความรับผิดชอบ  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์)
บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
    ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
      ข้อ 1.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
      ข้อ 4  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
 
1.  จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
2.  จัดให้มีการเรียนรู้จากธุรกิจและสถานการณ์ทางการตลาดจริงในปัจจุบ้น โดยมอบหมายให้ทำรายงานทางการตลาดและนำเสนอผลงานในชั้นเรียน ประเด็นหัวข้อ "การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อกำหนดดรูปแบบทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์น้ำพริกปูนา" (งานกลุ่มใหญ่)
3.  มอบหมายงานกลุ่ม จัดให้มีการเรียนรู้ทางด้านการตลาดโดยบูรณาการกับการเรียนการสอน มอบหมายงาน ประเด็นหัวข้อ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น Creative Lanna ๑Lanna Expo2023 (งานกลุ่มย่อย)  
1.  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน  การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
Brilliance ความเฉลียวฉลาด  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)
บัณฑิตมีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานตามสถานการณ์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์เพื่อคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีเหตุผล
   ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
        ข้อ 1.  สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
        ข้อ 2.  สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
1.  การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
2.  การมอบหมายงาน ในประเด็นหัวข้อ "การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อใช้ในการกำหนดดรูปแบบทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์น้ำพริกปูนา"  (งานกลุ่มใหญ่)
3.   มอบหมายงานกลุ่ม จัดให้มีการเรียนรู้ทางด้านการตลาดโดยบูรณาการกับการเรียนการสอน มอบหมายงาน ประเด็นหัวข้อ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น Creative Lanna ๑Lanna Expo2023 (งานกลุ่มย่อย)
1.  ประเมินจากการรายงานทางการตลาด ผลการศึกษาค้นคว้า โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
2.  ประเมินจากกรณีศึกษา
Learning  การเรียนรู้  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยี

      ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
      ข้อ 1.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 
1. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
Ability ความรู้ความสามารถ  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์)

บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวาง และเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน

       ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
        ข้อ 1.  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน 
        ข้อ 2.  สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
1. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ โดยมอบหมายให้นักศึกษาประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาด ในประเด็นหัวข้อ "การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อกำหนดดรูปแบบทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์น้ำพริกปูนา"
2. มีการนำเสนอผลงาน โดยใช้สื่อในการนำเสนอ
1.  การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
2.  พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
     (ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552)

บัณฑิตแสดงออกถึงทักษะในการนำความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม

      ผลการเรียนรู้ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
       ข้อ 2. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
1. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
1.การนำเสนอผลงาน หรือรายงาน โดยเลือกใช้ภาษา สื่อสารในบริบทต่างๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น 1.2 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม 1.5 มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน 3.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 3.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้านมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ 4.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจและชีวิตประจำวัน 5.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ 6.2 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน การทดสอบ กลางภาค ปลายภาค การทดสอบ กลางภาค ปลายภาค งานที่มอบหมาย การนำเสนอ งานที่มอบหมาย การนำเสนอ งานที่มอบหมาย การทำงานร่วมกับผู้อื่น การทดสอบ กลางภาค ปลายภาค การทดสอบ กลางภาค ปลายภาค งานที่มอบหมาย การนำเสนอ
1 BBABA630 การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 , 2.1.4 - การสอบกลางภาค ,การสอบปลายภาค ,ทดสอบย่อย 8 ,17 ,15 20% ,20% ,10%
2 1.1.1 , 1.1.2 , 1.1.5, 3.1.1 , 3.1.2 , 4.1.1 , 5..1.1 , 5.1.2 , 6.1.2 งานที่มอบหมาย - รายงาน/การนำเสนอผลงาน (8-10 คน) รายงานทางการตลาดและนำเสนอผลงานในชั้นเรียน ประเด็นหัวข้อ "การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อกำหนดดรูปแบบทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์น้ำพริกปูนา" - งานกลุ่มย่อย (1-3 คน) จัดให้มีการเรียนรู้ทางด้านการตลาดโดยบูรณาการกับการเรียนการสอน มอบหมายงาน ประเด็นหัวข้อ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น Creative Lanna ๑Lanna Expo2023 (งานกลุ่มย่อย) ตลอดภาคการศึกษา 30% , 10%
3 1.1.1 , 1.1.2 , 1.1.5 การเข้าชั้นเรียน - การเข้าชั้นเรียน / การมีส่วนร่วม ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอน รายวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด    เรียบเรียงโดย อาจารย์ชรัญญา   สุวรรณเสรีรักษ์
ณัฐพล  ม่วงทำ. DATA-DRIVEN MARKETING การตลาดแบบฉลาดใช้ดาต้า. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ ฮาวทู อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง. 2564.
เอกสิทธิ์  พัชรวงศ์ศักดา.  Practical Data Science with  RapidMiner Studio เล่ม 1.  นนทบุรี: ไอดีซีฯ, 2565.
เอก  บุญเจือ.  ระบบสารสนเทศทางการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 5.  เชียงใหม่ : ภาควิชาการตลาด        คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.
กุลฉัตร  ฉัตรกุล  ณ  อยุธยา.  ระบบสารสนเทศทางการตลาด.  เชียงใหม่ :  ภาควิชาการตลาด  คณะบริหารธุรกิจ  มหาวิทยาลัยพายัพ,  2550.
ดวงพร  เกี๋ยงคำ.  คู่มือ Office 2007 ฉบับสมบูรณ์.  กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2552.
รศ.ศิริวรรณ  เสรีรัตน์ และคณะ. กลยุทธ์การตลาด  การบริหารการตลาด และกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์, 2541.
Kotler, Philip and Kelvin Keller.  Marketing  Management.  12th edition.  New Jersey : Pearson Education, 2006.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี
1.1  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ
1.2  การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ
  การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ
2.2  การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1  การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.2  พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอน โดยการอบรมสัมมนา
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้
4.1  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
4.2  การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ.3/ มคอ.5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4  การประเมินข้อสอบ  การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
5.2  นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน
5.3  นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร