องค์การและการจัดการธุรกิจอาหาร

Organization and Food Business Management

1. เข้าใจลักษณะเบื้องต้นขององค์การธุรกิจอาหาร 2. รู้แนวคิดและวิวัฒนาการทางการจัดการ 3. เข้าใจสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการ 4. รู้และเข้าใจกระบวนการบริหารจัดการ 5. เข้าใจหลักการจริยธรรมทางธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับองค์การและการจัดการธุรกิจอาหารโดยมีการปรับเนื้อหารายวิชาให้เหมาะสมเพื่อให้สอคลัองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในสถานการณ์ปัจจุบัน
ศึกษาลักษณะโครงสร้างขององค์การธุรกิจด้านอาหาร แนวความคิดการจัดตั้งองค์การธุรกิจ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการ หน้าที่และกระบวนการ ทางการบริหารจัดการธรรมาภิบาล
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการของนักศึกษาจำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 2.เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม                                                                                    
ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีการมอบหมายงานกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีการสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในเนื้อหารายวิชา
1.ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัยการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม  2.พฤติกรรมระหว่างการทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย โดยผู้สอนอาจซักถามประเด็นด้านจริยธรรม                                                                           
 
1.มีความรู้ในสาขาวิซาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป                                                                        
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและมอบหมายให้ทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการวิเคราะห์สถานการณ์จริงขององค์กรธุรกิจอาหารรวมถึงการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกคิดวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2.ประเมินจากงานมอบหมายและรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 3.ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 4.การทดสอบย่อย                                                                                                                                                                                                                                                       
 
                                                                                                                                                     
1.มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหาหรืองานอื่นๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ 2.สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในกรรวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์                                                                                                                                          
1.มอบหมายงานกลุ่มเพื่อศึกษากรณีศึกษาพร้อมอภิปราย   2.การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน                                                                          
 
ประเมินจากการนำเสนอรายงานและอภิปรายกรณีศึกษาและพิจารณาจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรียนรู้ร่วมกันอย่างถูกต้องตามหลักการ
1.สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง                      
1.จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมและทำงานเป็นกลุ่มและมีการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น 2.มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน                                                                                                                            
1.ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มชั้นเรียน 2.ประเมินจากการตอบข้อซักถามของอาจารย์   3.สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรม                                                                                                                    
1.สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
2.สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียนรู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.สามารถระบุเข้าถึงและคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญ ของวิชานั้นๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
4.มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสมและใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมซ้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด     5.สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนวัตกรรมและสถานการณ์โลกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ                                              
1.มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ  2.ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลสารสนเทศ 3.ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข     4.จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมและเรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์                                                                                                                                               
1. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคลและเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยuสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม 2.ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลขที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCFT302 องค์การและการจัดการธุรกิจอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2 2.4 -สอบกลางภาค 8 30
2 2.2 2.4 -สอบปลายภาค 17 30
3 1.3 1.4 3.1 3.2 4.4 4.2 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 - การทดสอบย่อย - การวิเคราะห์กรณีศึกษาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาและการอภิปรายกลุ่ม - การทำงานตามมอบหมาย - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30
4 1.3 1.4 การเข้าชั้นเรียนและการเข้าร่วมกิจกรรมทางมหาวิทยาลัย ตลอดภาคการศึกษา 10
1.สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. / 2.กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างธุรกิจใหม่. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. / 3.อภิมณีณ์ ปวรัชพิสิทฐ์. (2561). หลักการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น. / 4.สุรพันธ์ ฉันทแดนสุวรรณ. (2560). หลักการบริหารธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จตุทอง. / 5..เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2560). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
 
-
 -เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องและห้องสมุดมหาวิทยาลัย
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาหลักการบริหารที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและ ข้อแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา ดังนี้  1.การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 2.แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 1.ผลการเรียนของนักศึกษา    2.การทบทวนผลการประเมินการเรียนรู้           
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการปรับปรุงการสอน
การทวนสอบจากคณะกรรมการ
 
นำผลการประเมินการสอนของตนเองมาจัดเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง