การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ

Quantitative Analysis for Business Decision Making

1) เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในตัวแบบที่ใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจเกี่ยวกับเทคนิคการพยากรณ์ ทฤษฎีเกม ตัวแบบการมอบหมายงาน ตัวแบบการขนส่ง ตัวแบบเชิงเส้น ตัวแบบพัสดุคงคลัง ตัวแบบการตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ต่างๆ และเทคนิคการวางแผนและการควบคุมการทำงานในโครงการ

2) เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคเชิงปริมาณต่างๆ ในการตัดสินใจดำเนินงานทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

3) เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ตัวแบบในการแก้ปัญหาทางธุรกิจ ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจ

4) เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะการนำหลักการทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

5) เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคมส่วนรวม
เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจศาสตร์และเทคนิคเชิงปริมาณเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ ปรับปรุงเนื้อหาบทเรียนและตัวอย่างอ้างอิงให้มีความทันสมัย สอดคล้องและเหมาะสมตามสภาวะการณ์ที่เป็นปัจจุบัน          
การใช้เทคนิคเชิงปริมาณต่าง ๆ ที่ใช้ในการตัดสินใจดําเนินงานทางธุรกิจอย่างมี ประสิทธิภาพ การประยุกต์ตัวแบบในการแก้ปัญหาทางธุรกิจ เช่น เทคนิคการ พยากรณ์ ทฤษฎีเกม ตัวแบบการมอบหมายงาน ตัวแบบการขนส่ง ตัวแบบเชิงเส้น ตัวแบบพัสดุคงคลัง และตัวแบบการตัดสินใจภายใต้สภาวะการณ์ต่างๆ เทคนิค การวางแผนและการควบคุมการทํางานในโครงการ การประยุกต์ใช้โปรแกรม สําเร็จรูปในการวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจ
 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
- สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา - ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย - การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
- จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ - จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน - ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน                     - การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
บัณฑิตมีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานตามสถานการณ์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์เพื่อคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีเหตุผล
- การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน - การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
- ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน - ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
บัณฑิตมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยี  
มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
- พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา - สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวาง และเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
- ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้ - มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ  
- การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค - พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสารของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
บัณฑิตแสดงออกถึงทักษะในการนำความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผล การดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 3.3, 5.1 การทดสอบย่อย 1-16 20%
2 1.1, 1.2, 1.3, 2.2, 2.3, 3.2, 3.3 ,5.1 - การเข้าห้องเรียน - แบบฝึกหัด 1-16 30%
3 1.1, 2.1, 3.3, 5.1 - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 9 และ 17 40%
4 1.2, 1.3, 1.4, 4.2, 4.3 ประเมินด้านพฤติกรรม คุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ (จิตพิสัย) 1-16 10%
- สุปัญญา  ไชยชาญ. 2546. การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัท  พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด: กรุงเทพมหานคร - วันชัย  ริจิรวนิชและคณะ. 2540. วิธีการเชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ:กรณีศึกษา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพมหานคร
 - อัจฉรา จันทร์ฉาย.2546. การจัดการเชิงปริมาณสาหรับนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพมหานคร
- เกศินี วิทูรชาติ และคณะ.2546. การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 6 แก้ไขเพิ่มเติม.สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : กรุงเทพมหานคร
- สุทธิมา ชานาญเวช.2547. การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. พิมพ์ซ้ำครั้งที่ 5. บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด: กรุงเทพมหานคร
- นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์.2548.เอาตัวรอดด้วยทฤษฏีเกม.พิมพ์ครั้งที่ 6 . สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กทม. วรรณภา ธิติธนานนท์.การวิเคราะห์เชิงปริมาณ.สุราษฎร์ธานี.คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
 
- การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ - การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ   การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ   การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
- การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน  - การสังเกตการณ์สอนตามกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดโดยผู้ร่วมสอน
- การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน - พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอน โดยการอบรมสัมมนา  
- การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา - การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย) - การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ - การประเมินข้อสอบ  การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
- รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา - นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน - นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร