ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู 1

Professional Experience 1

สามารถบูรณาการความรู้ทั้งหมดที่ได้ศึกษามาใช้ในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาจริง สามารถนำประมวลรายวิชาเฉพาะมาจัดทำแผนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถนำเทคนิคและยุทธวิธีการสอนมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้   สามารถเลือกใช้และผลิตวัสดุช่วยสอน ตลอดจนเทคนิคการแก้ไขปัญหา สามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้ตามสภาพความเป็นจริงและนำผลมาพัฒนาการจัด  การเรียนรู้ สามารถจัดทำบันทึกและรายงานผลการจัดการเรียนรู้ สามารถทำวิจัยในชั้นเรียนและนำผลการประเมินมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สามารถจัดกิจกรรมทางวิชาการเรียนรู้รวมทั้งการปฏิบัติงานครูด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานสอนโดยตรง และเพื่อส่งเสริมการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในองค์การ มีเจตคติที่ดีและศรัทธาวิชาชีพครู ร่วมสัมมนาการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครูสามารถปฏิบัติงานด้านการสอน ผลิตสื่อ และปฏิบัติงานอื่น ๆ ในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา
ปฏิบัติการสอนในรายวิชาเอกที่มีทั้งการเรียนภาคทฤษฏีและปฏิบัติที่สอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนในสถาบันที่ไปปฏิบัติการสอน จัดทำแผนการเรียนรู้และปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ ใช้นวัตกรรมในการเรียนและการสอน  การควบคุมและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นการปฏิบัติจากการทดลองของนักศึกษา การจัดทำและตรวจข้อสอบและใบงานการทดลอง การให้คะแนนและการตัดสินผลการเรียน  การสอบภาคปฏิบัติและการให้คะแนน การวัดและประเมินผลและนำผลไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน การวางตนอยู่ในข้อบังคับของสถานศึกษาที่ไปทำการสอน การมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือแบ่งปันความรู้ในการสัมมนาการศึกษา
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่คณาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการให้คำปรึกษาแก่นิสิตในช่วงเวลาที่นิเทศการสอน และอนุญาตนิสิตเข้าพบเพื่อให้คำปรึกษาได้ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา  ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้
             1.1.1  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม  
                    (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
             1.1.2  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
             1.1.3  มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม     
                    (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
             1.1.4  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
 
             นอกจากนั้น ยังมีการส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษามีการพัฒนาจริยธรรมและจรรยาวิชาชีพผ่านทางการเรียนการสอนของรายวิชาในหลักสูตร ซึ่งอาจารย์ผู้สอนสามารถสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจรรยาวิชาชีพ และสามารถจัดให้มีการวัดผลแบบมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรมทุกภาคการศึกษา ด้วยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรม  และมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนจิตพิสัยในชั้นเรียน นักศึกษาที่คะแนนความประพฤติไม่ผ่านเกณฑ์อาจต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพิ่มก่อนจบการศึกษา
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1.3.1  ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด   
         ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2  ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริม
         หลักสูตร
1.3.3  ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
 
1.3.5  ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความ 
         รับผิดชอบของนักศึกษา
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 
        (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
           2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 
                  (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
           2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                   (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
           2.3.1  การทดสอบย่อย
           2.3.2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
           2.3.3  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
           2.3.4  ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ
           2.3.5  ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
           2.3.6  ประเมินจากรายวิชาปฎิบัติการสอนในสถานศึกษา
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล  เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา  แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
          3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ 
                  (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
          3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning)  มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาของแต่ละสาขาวิชาชีพเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้องและเน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง
การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
          3.3.1 บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง 
          3.3.2 การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่าง ๆ 
          3.3.3 การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 
          3.3.4 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่น ๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ  ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชา หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ นี้
4.1.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี  (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1)
4.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.2)
           4.1.3  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 
                  (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.3)
4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
        (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.4)
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
           4.2.1  สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
           4.2.2  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
           4.2.3  สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
           4.2.4  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
           4.2.5  มีภาวะผู้นำ
 
การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น
          4.3.1  พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
          4.3.2  พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
 ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน  การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาชีพ ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้
           5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม  (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1)
           5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
                   เหมาะสม  (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2)
           5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                  (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข        การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
            5.2.1  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
            5.2.2  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
            5.2.3  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
            5.2.4  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม
                     แต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
             5.3.1  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
             5.3.2  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
             5.3.3  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
             5.3.4  จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และ
                      วัฒนธรรมสากล
 การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
           6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี
                   ประสิทธิภาพ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
           6.1.2  สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนใด้อย่าง
                   เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม  (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
            6.2.1  สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
            6.2.2  สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
            6.2.3  สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
            6.2.4  จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
            6.2.5  สนับสนุนการทำโครงงาน
            6.2.6  การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
   6.3.1            มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
             6.3.2 มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
             6.3.3 มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
             6.3.4 มีการประเมินโครงงานนักศึกษา
             6.3.5  มีการประเมินนักศึกษาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์ บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDCC815 ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ผลการเรียนรู้ทั้งหมด ประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครูจากอาจารย์ประจำวิชา / อาจารย์พี่เลี้ยง / ผู้บริหาร (แบบประเมินผลการสอน สำหรับอาจารย์พี่เลี้ยง/ผู้บริหาร) 1-8, 9-17 40%
2 ผลการเรียนรู้ทั้งหมด ประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครูจากอาจารย์นิเทศ คะแนนจากการนิเทศ (คู่มือการนิเทศการสอน) 1-17 25%
3 ผลการเรียนรู้ทั้งหมด คะแนนจากผลงาน (โครงการสอน หนังสือเรียบเรียงทฤษฏี หนังสือเรียบเรียงปฏิบัติพร้อมคู่มือ วิจัยในชั้นเรียน การจัดสัมมนาปลายภาคเรียน) 1-17 25%
4 ผลการเรียนรู้ทั้งหมด ประเมินจากผู้เรียน (แบบประเมินผลการสอน สำหรับนักศึกษา) 1-17 10%
-
-
-
นิสิต

การตอบแบบประเมินผล การประชุมสัมมนาหลังการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
อาจารย์พี่เลี้ยงหรือสถานศึกษา

  (1)  นิเทศ และประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู ทั้งการสอน และการปฏิบัติงานครูอื่นๆ ในแบบฟอร์มที่กำหนด
     (2)  การประชุมสัมมนาอาจารย์พี่เลี้ยงหลังการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อประเมินผลการปฏิบัติและการจัดการการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
อาจารย์นิเทศก์ 
   (1)  นิเทศ และประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู ทั้งการสอน และการปฏิบัติงานครูอื่นๆ ในแบบฟอร์มที่กำหนด
     (2)  การประชุมสัมมนาอาจารย์พี่เลี้ยงหลังการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อประเมินผลการปฏิบัติและการจัดการการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
อาจารย์ประจำวิชาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
            (1)  การสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู ของผู้ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู จากคณะผู้บริหารสถานศึกษาแต่ละแห่ง
              (2)   รวบรวมผลการประเมินทั้งหมดเพื่อนำมาคิดค่าระดับคะแนน
(1)  คณะและสาขาวิชาประมวลผลจากการประชุมอาจารย์ประจำวิชาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู อาจารย์นิเทศ อาจารย์พี่เลี้ยง จากเอกสารการนิเทศ และแบบสอบถามความพึงพอใจของคณะผู้บริหารสถานศึกษา และการประเมินผลค่าระดับคะแนนของผู้ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะ
(2)  สาขาวิชาร่วมพิจารณาประสิทธิผลของการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในภาคการศึกษาต่อไป โดยแสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร