การเป็นผู้ประกอบการและสร้างธุรกิจใหม่

Entrepreneurship and New Businesses Creation

1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแนวคิดการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ (start up) กระบวนการเป็นผู้ประกอบการ และคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ
2. เพื่อให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์โอกาสใหม่ในการดำเนินธุรกิจ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการสร้างธุรกิจใหม่
3. เพื่อให้นักศึกษาออกแบบสร้างโมเดลธุรกิจและทำแบบจำลองธุรกิจใหม่ได้
4. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจรูปแบบ แนวทาง และกลยุทธ์การจัดตั้งธุรกิจ
5. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความเป็นผู้นำองค์การธุรกิจ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การลงทุนและบริหารเงินทุน
เพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ (start up) นำโมเดลธุรกิจมาใช้วางแผนประกอบธุรกิจและเขียนแผนธุรกิจ
     ความรู้เบื้องต้นการเป็นผู้ประกอบการ คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสของผู้ประกอบการ การสร้างธุรกิจและกระบวนการจัดตั้งธุรกิจ การแสวงหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ แบบจำลองธุรกิจ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ภาวะผู้นำกับการเป็นผู้ประกอบการ การบริหารเงินทุนและการระดมทุน การเตรียมการเพื่อการเจริญเติบโตของธุรกิจ จรรยาบรรณทางธุรกิจ แนวโน้มของการเป็นผู้ประกอบการในอนาคตตามสถานการณ์ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์
ให้คำปรึกษา และคำแนะนำทางวิชาการเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อยตามความต้องการของนักศึกษาโดยใช้ช่องทางออนไลน์หรือพบที่ห้องพักครู คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ โดยใช้ช่วงเวลาที่นักศึกษาและผู้สอนสะดวกตรงกันนอกเวลาเรียนปกติ
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะในคุณค่าของจริยธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อ ตนเองและผู้อื่น
2. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง และลำดับความสำคัญ
1. บรรยายโดยสอดแทรกหลักจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยการเข้าเรียนให้ตรงเวลาและส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
3. มอบหมายงานกลุ่มโดยเน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกภายในกลุ่ม รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการอภิปรายกลุ่ม ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างและแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น
1. ประเมินการมีส่วนร่วมอภิปรายเกี่ยวกับจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณในการเป็นผู้ประกอบการ
2. ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชา การเข้าเรียนตรงเวลาและส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
3. สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม แสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการทำงานและนำเสนอผลงาน
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมเป็นผู้ประกอบการ การสร้างธุรกิจใหม่ การจัดตั้งธุรกิจ แบบจำลองธุรกิจ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารเงินทุน
2. มีความรู้ ความเข้าใจสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ความรู้และทักษะมาใช้ในการวิเคราะห์โอกาสใหม่ทางธุรกิจ นำกลยุทธ์และเครื่องมือทางธุรกิจมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และการเติบโตของธุรกิจ
1. บรรยายเชิงอภิปรายโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และถาม-ตอบในชั้นเรียน
2. มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด รายงาน  และนำเสนองาน
3. จัดกิจกรรมโดยแบ่งกลุ่มให้นักศึกษาประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีมาฝึกปฏิบัติในการแสวงหาโอกาสใหม่ทางวธุรกิจ
 
1. สอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
2. ประเมินจากการทำแบบฝึกหัดและงานที่มอบหมาย
3. ประเมินจากผลการค้นคว้าและนำเสนองาน
1. สามารถสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่งตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
2. สามารถคิดและวิเคราะห์ทางเลือก รวมทั้งผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน รวมทั้งตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ทำให้ได้เปรียบทางการแข่งขันธุรกิจ
3. รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการของผู้บริโภค/ลูกค้า
1. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินสารสนเทศจากสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และตัดสินใจ
2. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาทำงานเป็นทีม ร่วมกันวิเคราะห์ทางเลือกและตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ทำให้ได้เปรียบทางการแข่งขันธุรกิจ
3. มอบหมายงานให้นักศึกษาใช้ทักษะในการศึกษา วิเคราะห์ และแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์ทางธุรกิจ5
1. ประเมินจากการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจและการตัดสินใจเลือกทางเลือกเพื่อให้ได้เปรียบทางการแข่งขันธุรกิจ
2. ประเมินจากการอธิบายการนำแนวคิด ทฤษฎีมาใช้แก้ปัญหา
3. ประเมินจากผลงานที่นำเสนอและตอบคำถาม
1. สามารถแสดงภาวะความเป็นผู้นำทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกของกลุ่ม
2. สามารถแสดงความคิดริเริ่ม ความคิดเห็นต่าง และความคิดเห็นใหม่ ๆ อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของกลุ่ม
3. สามารถประสานงาน มอบหมายงาน หน้าที่และความรับผิดชอบ รวมทั้งช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน
1. สอนโดยสอดแทรกหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. จัดกิจกรรมให้นักศึกาามีโอกาสทำงานเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
3. มอบหมายงานที่นักศึกษาต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล และระดมความคิดในการทำงานร่วมกัน
1. ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
2. ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
3. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมองภายในกลุ่ม
1. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจโดยใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2. สามารถเขียนรายงานและนำเสนอด้วยวาจาได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์
 
1. จัดให้นักศึกษาได้นำเสนองานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อต่าง ๆ 
2. สนับสนุนให้นักศึกษาค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและอ้างอิงที่มาของข้อมูล
1. ประเมินจากการเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อมาใช้ในการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
2. ประเมินจากการอธิบายหลักและแนวทางการค้นคว้าและสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสิ่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซี่ือสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น 1.3 มีความเคารพต่อกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.4 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง และลำดับความสำคัญ 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่อมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 3.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 3.2 สามารถค้นหาทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการจัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ 3.4 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 4.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 4.2 มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเลหือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง 4.3 มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงานในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผ้๔นำและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 5.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจโดย ใช้รูปแบบการสื่อ เทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ 5.3 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 BBABA236 การเป็นผู้ประกอบการและสร้างธุรกิจใหม่
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.3, 1.4 1) การเข้าเรียนตรงเวลา 2) การส่งงานตรงตามกำหนด 3) การมีจิตสาธารณะในการใช้ห้องเรียน สื่อและอุปกรณ์การเรียนซึ่งเป็นส่วนรวม ตลอดภาคการศึกษา 10
2 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 3.4 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค 9 และ 17 60
3 3.1, 3.2, 3.4, 4.1, 4.2, 4.3, 5.2, 5.3 1) แบบฝึกหัด 2) กรณีศึกษา 3) โมเดลธุรกิจ 4) การนำเสนอแผนธุรกิจ ตลอดภาคการศึกษา 30
สุธีรา เตชนครินทร์ และคณะ. ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการขั้นแนะนำ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ธรรกมลการพิมพ์, 2553.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). Tip SMEs บริหารจัดการธุรกิจ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. ธุรกิจทั้วไป : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด. 2541.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ : แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน. 2561. 
อิมะสึ มิกิ. (2556). Zukai Business Model Generation Workbook [สร้างโมเดลธุรกิจ...ง่ายนิดเดียว] (โยซุเกะ, ผู้แปล). วีเลิร์น จำกัด.
ไม่มี
1. เว็บไซด์เกี่ยวกับแผนธุรกิจ
2. เว็บไซด์เกี่ยวกับกลยุทธ์ธุรกิจ
3. ตาราง Business Model Canvas (ฺBMC) 
4. ตาราง Lean Canvas
1.1. แบบประเมินผู้สอน
1.2. ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด
1.3. ประเมินพฤติกรรมการทำงานภายในกลุ่ม และการมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
1.4. สอบถามความคิดเห็นผู้เรียนเกี่ยวกับการปรับปรุงการเรียนการสอน
2.1. ทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้
2.2. ผลการทำแบบฝึกหัดของนักศึกษา
2.3. สังเกตความเอาใจใส่และสนใจของผู้เรียน
2.4. ผลการเรียนของนักศึกษา
นำผลการประเมินผู้สอนของผู้เรียนมาปรับแผนการสอน
4.1. ทวนสอบจากการให้คะแนนประเมินผลการเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสอบ ผลงานของนักศึกษา และแบบฝึกหัด
4.2. ทวนสอบจากการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน การทำงานกลุ่ม การส่งงาน
นำผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤท่ธิ์รายวิชาของนักศึกษา (ตามข้อ 4) มาวางแผนปรับปรุงแผนและวิธีการสอนเพื่อให้มีคุณภาพมากขึ้น