อาหารสัตว์น้ำ

Aquatic Animal Feed

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
          1. รู้ความหมายของอาหารสัตว์น้ำ และประวัติการผลิตอาหารสัตว์น้ำในประเทศไทย  เข้าใจความสำคัญของสารอาหารต่อสัตว์น้ำ และความสำคัญของโภชนะศาสตร์สัตว์น้ำ และองค์ประกอบทางเคมีของอาหารสัตว์น้ำ
          2. เข้าใจเรื่องสารอาหารและขบวนการเมตาบอลิซึม  ความต้องการสารอาหารของสัตว์น้ำ รวมทั้งสรีรวิทยาของระบบย่อยอาหารของสัตว์น้ำ
          3. รู้และเข้าใจประเภทของอาหารสัตว์น้ำ และการผลิตอาหาร ทั้งวัตถุดิบการสร้างสูตรอาหารสัตว์น้ำ และการประเมินคุณค่าทางอาหาร รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อการกินอาหารของสัตว์น้ำ
          4. มีทักษะการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการอาหารสัตว์น้ำ และการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เครื่องมือและอุปกรณ์ในฟาร์ม
5. มีทักษะในการปฏิบัติงานการเลี้ยงปลา อัตราการปล่อยปลาลงเลี้ยงและการประเมินการเจริญเติบโต
          6. เห็นความสำคัญของอาหารสัตว์น้ำต่อระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ
มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
    ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสารอาหารและการวิเคราะห์ เมแทบอลิซึมและความต้องการสารอาหารการย่อยและการดูดซึมสารอาหาร การผลิตและการให้อาหารสัตว์น้ำ
30 ชั่วโมง
     นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรก เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมเกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ ดังนีมี
     1.1.1 คุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
     1.1.2 จรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
- ฝึกนักศึกษาเข้าชั้นเรียนตรงเวลา
- นักศึกษาฝึกทำแบบฝึกหัดด้วยตัวเองโดยไม่ลอกกัน
- นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานที่มอบหมายด้วยความรับผิดชอบ และตามเวลาที่กำหนด
- สอบข้อเขียนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ลอกเพื่อน 
 
-การเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนทุกครั้งที่สอน
-การตรวจสอบแบบฝึกหัด และงานที่มอบหมาย
-การสังเกตุพฤติกรรม
 
     นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพทางการเกษตรเพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
     2.1.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
     2.1.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
-การสอนแบบบรรยาย
-การสอนแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี 
เพื่อนำเสนองาน
-การสอนแบบการตั้งคำถาม พร้อมแสดงความคิดเห็น
 
-การสังเกต
-การประเมินการนำเสนองาน
-การสอบวัดผลทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ 
 
 
     นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้วดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรมและความรู้ ในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
      3.1.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
     3.1.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ 
     3.1.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
- งานมอบหมายในการให้อาหารปลา และดูแลเลี้ยงดูปลาอย่างต่อเนื่อง
- การฝึกทักษะการผลิตอาหารปลาอย่างง่ายเพื่อเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ
 
 
 
- การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก การแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
- การตรวจสอบผลงานที่ปฏิบัติ
-การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามสมรรถนะ
 นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกการสอนที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางสังคมดังต่อไปนี้
     4.1.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
    4.1.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
-การทำงาน หรือมอบหมายงานรับผิดชอบให้ทำแบบกลุ่ม
-การผลัดเปลี่ยนการเป็นหัวหน้าทีมในการทำงาน
-การสังเกตุพฤติกรรมการทำงานในกลุ่ม
     ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้ ด้านเกษตรศาสตร์ ดังนี้
     5.1.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
     5.1.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การสอนแบบการใช้เทคโนโลยี ในการนำเสนองาน
- การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย เพื่อแสดงความคิดเห็น
- การสอนแบบการตั้งคำถาม 
- การสังเกต
- การประเมินการนำเสนองาน
-การตอบคำถาม พร้อมการแสดงความคิดเห็น
     นักศึกษามีความสามารถปฏิบัติงานทางวิชาชีพและพัฒนาตนเองได้โดยนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆจากทักษะการปฏิบัติ ดังนี้
     6.1.1 มีทักษะทางวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
- การสอนฝึกปฏิบัติการตามสมรรถนะ   
- การสอนในห้องปฏิบัติการ  
- การสอนแบบ  Problem Based Learning
- การสังเกตุ
- การตรวจสอบผลงานที่ปฏิบัติ
-การแสดงแนวคิดที่ปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 1. 2. 1. 2. 3. 1. 2. 1. 2. 1.
1 BSCAG306 อาหารสัตว์น้ำ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม บันทึกการเข้าเรียนการ แต่งกายให้ถูกระเบียบวินัยและความประพฤติ ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ความรู้ การทดสอบ ตลอดภาคการศึกษา 20 %
3 ทักษะทางปัญญา การซักถาม การทดสอบ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การสังเกตุ การประเมินผลการปฎิบัติงานมอบหมายแบบกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองาน 8 และ 16 10%
6 ทักษะพิสัย การสังเกตุ การตรวจสอบผลงานที่ปฏิบัติ ตลอดภาคการศึกษา 20%
เจษฎา  อิสเหาะ.  2537.  อาหารและการให้อาหารสัตว์
     น้ำ. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  วิทยาเขต
     พระนครศรีอยุธยา หันตรา. อยุธยา.127 น. 
นิวุฒิ  หวังชัย.  มปป.  โภชนศาสตร์สัตว์น้ำ.
     คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ, 
     มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่. 226 น.
นิวุฒิ  หวังชัย.  2547.  อาหารปลา.  คณะเทคโนโลยีการ
     ประมงและทรัพยากรทางน้ำ, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.             เชียงใหม่.  188 น.
เวียง  เชื้อโพธิ์หัก. 2543.  โภชนศาสตร์สัตว์น้ำและการให้ 
     อาหารสัตว์น้ำ.  ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  คณะ 
     ประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ ฯ.255 น.
ไม่มี
บทความเกี่ยวกับอาหารสัตว์น้ำ จากเว็บไซต์ต่างๆ และอื่นๆ ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์และความเป็นปัจจุบัน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
          1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
      1.2  การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน
          1.3 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
     2.1 การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอน  การตอบสนอง  การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
                  2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
           2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
     หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
     อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาทุกภาคการศึกษา เฉพาะในรายวิชาที่มีปัญหาให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียนมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
     มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
    จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้ คณะมีระบบการทบทวนประสิทธิผลรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขา  การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผล ของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชาเพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรทุก ๕ ปี