การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
Food Product Development
1.1 รู้ถึงความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
1.2 เข้าใจกระบวนการการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
1.3 เข้าใจการทดสอบ การควบคุมคุณภาพ และการวิจัยตลาดผลิตภัณฑ์อาหาร
1.4 มีทักษะในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.5 มีเจตนคติที่ดีต่อการศึกษาค้นคว้าและติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
1.2 เข้าใจกระบวนการการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
1.3 เข้าใจการทดสอบ การควบคุมคุณภาพ และการวิจัยตลาดผลิตภัณฑ์อาหาร
1.4 มีทักษะในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.5 มีเจตนคติที่ดีต่อการศึกษาค้นคว้าและติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
หลักการและความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ การทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่และการประเมินตลาดผลิตภัณฑ์
ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
ให้นักศึกษาตระหนักและมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้มอบหมายทั้งของตนเองและผลงานของกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด เคารพในการแสดงออกทางความคิดของผู้ร่วมงาน และการรับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์ โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบ เป็นต้น นอกจากนี้สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอน
ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร พฤติกรรมระหว่างการทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย โดยผู้สอนอาจซักถามประเด็นด้านจริยธรรม
ความรู้เกี่ยวกับหลักการและความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ การทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่และการประเมินตลาดผลิตภัณฑ์
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) การสอนแบบคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนบรรยายแบบ Active Learning เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเบื้องต้นทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ขึ้นอยู่ด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อหรือบทเรียน
ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียนและการสอบวัดความรู้ โดยมีการสอบย่อย (Quiz) และสอบเป็นทางการ 2 ครั้ง (สอบกลางภาคและสอบปลายภาค)
ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่ทราบในชั้นเรียนหรืองานที่มอบหมายให้ค้นหาคำตอบเพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหานั้นๆ
ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ตามประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องแก้ปัญหาตามประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้ โดยใช้แนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือ
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบย่อย (Quiz) การสอบกลางภาคและปลายภาค การฝึกปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน และการนำเสนอผลงาน
เน้นการทำงานเป็นทีมความรับผิดชอบ และการตรงต่อเวลา โดยสามารถทำงานเป็นกลุ่มซึ่งจะต้องช่วยเหลือแบ่งงานย่อยโดยมอบหมายให้ช่วยกันค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาตามประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบตามเวลาที่กำหนด
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่มการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตรหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน การตอบข้อซักถามของอาจารย์และประเมินผลงานจากรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-Learning และ วีดีโอเป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทำงานการนำเสนอข้อมูลของงานที่มอบหมายให้เข้าใจง่าย ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น การใช้ Power point ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมโดยเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงานของนักศึกษาโดยใช้เทคนิคการนำเสนอและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคณิตศาสตร์และสถิติการสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
จัดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ และวิธีการให้ได้มาซึ่งขบวนการแก้ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารอย่างเหมาะสม
ประเมินจากความประสบความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนด และการใช้อุปกรณ์เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1 คุณธรรม จริยธรรม | 2 ความรู้ | 3 ทักษะทางปัญญา | 4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ | 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | 6 ทักษะพิสัย | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ | 1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต | 1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม | 1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม | 1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น | 2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา | 2.2 มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | 3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา | 3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ | 3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ | 3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | 4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม | 4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ | 4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง | 5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ | 5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชา นั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ | 5.4 มีวิจารณญานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด | 5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม | 5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | 5.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม | 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ |
1 | BSCFT104 | การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | หน่วยเรียน 1-9 | การทดสอบย่อย (Quiz) | 1-8, 10-16 | 5 |
2 | หน่วยเรียน 1-9 | การเขียนรายงานกลุ่มตามบทปฏิบัติการที่มอบหมาย (ปฏิบัติการที่ 1-13) | 1-8, 10-16 | 40 |
3 | หน่วยเรียน 1-5 | การสอบกลางภาค | 9 | 20 |
4 | หน่วยเรียน 6-9 | การสอบปลายภาค | 17 | 25 |
5 | หน่วยเรียน 1-9 | คะแนนเจตคติ การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบ ในรายวิชา คะแนนกิจกรรมส่วนมหาวิทยาลัย | 1-8, 10-16 | 10 |
จิรรัชต์ กันทะขู้. 2565. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
คณาจารย์ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2545. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. (อัดสำเนา) จิระพันธ์ ห้วยแสน. 2550. เอกสารคำสอนวิชา 03–630–403 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร(Food Product Development). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์. ทิพย์วรรณา งามศักดิ์. 2545. หลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร. หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น. มานิต (บรรณาธิการ), การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเกษตร. 299-324. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.