การศึกษาดูงานทางการออกแบบอุตสาหกรรม

Technical Visit on Industrial Design

1.  ดูงานด้านออกแบบอุตสาหกรรมทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด
2.  เข้าใจวิธีการบันทึกสิ่งที่มองเห็นจากการศึกษาดูงานออกแบบอุตสาหกรรม
3.  เข้าใจวิธีการทำรายงานและการนำเสนอโครงงานที่ได้จากการศึกษาดูงาน
4.  มีทักษะในการเขียนบันทึกและทำรายงานรวมถึงการเสนอโครงงานที่จะนำมาพัฒนาด้านงานออกแบบอุตสาหกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ต่อยอดจากการศึกษาดูงานนอกสถานที่ด้านการออกแบบอุตสาหกรรม สามารถทำงานติดต่อ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี มีความสามารถในการการเขียนบันทึก และทำรายงานรวมถึงการเสนอโครงงานที่จะนำมาพัฒนาด้านการออกแบบอุตสาหกรรม สามารถนำประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาดูงานไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในวิชาชีพได้เป็นอย่างดี   รวมถึงการเตรียมพร้อมที่จะเป็นนักออกแบบให้กับองค์กรที่นักศึกษาเข้าไปฝึกงานในชั้นปีต่อไป
เสริมสร้างประสบการณ์ด้านการออกแบบของนักศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดย ศึกษาดูงานในสถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นักศึกษาจะได้ มีโอกาสศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับนักออกแบบหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง 
Students will participate in several field trips to a variety of industrial companies and factories, with the goal of exchanging opinions with designers and related people within the industry.
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  แจ้งให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ทาง ไลน์ ทาง email address ของอาจารย์ผู้สอน
-    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการของผู้เรียน
ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ˜ มีทัศนคติเปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น ˜  มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ใช้วิธีการสอนแบบ active learning มีกิจกรรมในชั้นเรียน และจากการศึกษาดูงานในสถานประกอบการภายในประเทศ ผู้เรียนนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียนฝึกปฏิบัติให้มีการสังเกต การฟัง และการบันทึกสิ่งที่มองเห็น ข้อมูลความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน หรือ ประสบการณ์ตรงที่ได้ระหว่างการศึกษาดูงาน
     1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามใบงานที่ให้และตรงเวลา
     1.3.2   การเข้าร่วมศึกษาดูงาน การบันทึกข้อมูลระหว่างการศึกษาดูงาน
     1.3.3   ประเมินผลงานตามที่ได้รับมอบหมาย และการนำเสนอในชั้นเรียน
     1.3.4   ผู้เรียนประเมินผลตนเอง และ ประเมินอาจารย์ผู้สอน   
รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
อาจารย์ผู้สอนพิจารณาสถานประกอบการภายในประเทศ แล้วติดต่อประสานงาน เพื่อให้นักศึกษาไปศึกษาดูงาน บันทึกข้อมูล รวมทั้งให้นักศึกษานำเสนอผลการศึกษาดูงาน ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง พัฒนาสถานศึกษา  นักศึกษาได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเดินทางและการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม  
2.3.1   ประเมินผลจากแบบบันทึกที่มอบหมายและประเมินจากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
2.3.2  ผู้เรียนประเมินตนเองและประเมินผลงานการสอนของอาจารย์    
     3.1.1 ˜ สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน
     3.1.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
     3.1.3 ™ สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพือสร้างสรรค์ผลงานทางวิชการและวิชาชีพได้
     3.1.4 มีความคิดสร้างสรรค์และปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
3.2.1  บรรยาย และให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยีเรียนรู้ด้วยตนเอง วางแผนการเรียนและการประเมินผลการเรียน การตรวจสอบผลการเรียนด้วยตนเอง
3.2.2   การมอบหมายให้ผู้เรียนวิเคราะห์และสังเคราะห์วางแผนการศึกษาดูงาน วิธีการบันทึกที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักสูตร
3.2.3   มอบหมายให้ผู้เรียนฝึกสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ แล้วนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ การบันทึก การสังเกต การปฏิบัติตัวมารยาททางสังคม การปฏิบัติตามกฎระเบียบในขณะเข้าศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้ประกอบการ
3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการศึกษาดูงานเป็นการทำรายงาน การนำเสนอโปรเจคที่เป็นประโยชน์ต่อหลักสูตร ต่อตัวนักศึกษา และต่อสถานประกอบการ        
3.3.1   วัดผลจากการคะแนนงานปฏิบัติและ การนำเสนอผลงาน
3.3.2   สังเกตพฤติกรรมการเรียนทั้งเรียนในชั้นเรียนและขณะศึกษาดูงาน
4.1.1   มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4.1.2   ˜ มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3   ™ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
4.2.1   ให้ผู้เรียนปฏิบัติการบันทึกในขณะศึกษาดูงาน ตามหัวข้อที่กำหนด และนำเสนอในชั้นเรียน
4.2.2  มอบหมายงานรายบุคคล เช่น เขียนความคาดหวังของนักศึกษาที่ต้องการได้รับจากการศึกษาดูงานในสถานประกอบการ ภายในจังหวัดเชียงใหม่ และต่างจังหวัด
4.2.3    นำเสนอสรุปผลรายงานที่มีประโยชน์ต่อตนเอง ต่อสถานประกอบการ และ ต่อหลักสูตร
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน (กิจกรรมรายบุคคล และ กิจกรรมกลุ่ม)                                                                                   
4.3.2  ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
4.3.3   ประเมินจากนำเสนอหน้าชั้นเรียน    
5.1.1  ˜ สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.2   สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน หรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3   มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม   
 5.2.1   กิจกรรม Active learning กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามหน่วยเรียน
 5.2.2   นักศึกษาทำงานตามใบงานที่มอบหมาย
 5.2.3   นำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายในชั้นเรียน
5.2.4   มอบหมายให้ส่งผลงานเป็นอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ทาง Google Classroom
5.3.1   ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติตามใบงานที่มอบหมาย
5.3.2  ประเมินจากการนำเสนอ
5.3.3   ประเมินจากการเข้าร่วมศึกษาดูงาน ความรับผิดชอบตัวเองขณะศึกษาดูงาน การเป็นผู้ฟังที่ดี
6.1.1 ™ มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 ˜ มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้งสรรค์ผลงาน
ใช้วิธีสอนแบบ active learning ให้นักศึกษาร่วมวางแผนการเดินทาง  การเลือกสถานประกอบการ การขอความอนุเคราะห์จากสถานประกอบการ   การบันทึกข้อมูลระหว่างศึกษาดูงาน การนำเสนอ และร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากผลงานปฏิบัติของนักศึกษาที่มอบหมาย และ แนวคิดในการ นำเสนอโครงงานที่เป็นประโยชน์หลังจากการฝึกงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BAAID115 การศึกษาดูงานทางการออกแบบอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-6 การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายและ การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน การเข้าเรียนสื่อออนไลน์ การ upload ส่งงานทันเวลา ตลอดภาคการศึกษา 80%
2 1-6 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม และการเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
Allan Wooddrow, 2018.  Field tripped. Scholatic Press.
Ronald V. Morris, 2014.  The Field trip book.  Information Age publishing.
แบบบันทึก สำหรับศึกษาดูงาน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเมล์และเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตผู้เรียนขณะทำกิจกรรมศึกษาดูงาน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา การส่งงานการนำเสนองาน
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสัมภาษณ์นักศึกษา หรือการตอบแบบสอบถามของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงแผนการสอน และเนื้อหาให้ทันสมัย
5.2   ปรับปรุงรูปแบบการสอน ให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21