สถิติและคณิตศาสตร์เพื่อการเกษตร

Statistics and Mathematics for Agriculture

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
1.1  เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบจำนวนจริง 
1.2  เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ
1.3  เพื่อให้มีเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางสถิติ ความน่าจะเป็น
1.4  เพื่อให้เข้าใจการแจกแจงของตัวแปรสุ่มที่สำคัญ 
1.5  เพื่อให้เข้าใจหลักการประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน
1.6  เพื่อให้เข้าใจการวิเคราะห์ความแปรปรวน
1.7  เพื่อให้เข้าใจการวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์
           เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้คณิตศาสตร์เพียงพอที่จะไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ และฝึกให้เป็นคนมีเหตุผลและรอบคอบ  มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
             ศึกษาเกี่ยวกับระบบจำนวนจริง  อัตราส่วน  สัดส่วนและร้อยละ  ความรู้พื้นฐานทางสถิติ  ความน่าจะเป็น  การแจกแจงของตัวแปรสุ่มที่สำคัญ  การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยประชากรกลุ่มเดียวและสองกลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปวน การวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการเกษตร
วันพุธ เวลา 15.00 – 16.30 น.  และวันเวลาที่ว่างจากการสอน
(1) มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
(2) แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
(3) มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(4) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
(5) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. ชี้แจง ตกลงเกณฑ์ต่างๆ และวิธีการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก 2. การตั้งประเด็นคำถามให้ผู้เรียนเกิดแนวความคิด เกิดการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมในชั้นเรียน มีแรงจูงใจในการเรียน 3. การอภิปรายรายบุคคลและรายกลุ่มเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคล ฝึกความเป็นผู้นำและสามารถนำไปบูรณาการได้ 4. กระตุ้นให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ 5. ปลูกฝังความมีระเบียบวินัยในตัวเอง โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา 2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3. ไม่มีการทุจริตในการสอบ 4. ประเมินผลกิจกรรมที่มอบหมายรายกลุ่มและรายบุคคล 5. สังเกตจากพฤติกรรมจากการตอบคำถาม
(1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา (2) มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง (3) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ (4) รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
1. บรรยายและการใช้สื่อการสอนชนิดต่างๆ อย่างเหมาะสม 2. การซักถามในบทเรียนรวมทั้งร่วมกันอภิปราย เพื่อแสดงคิดเห็นและความสัมพันธ์เหล่านั้นตามความเข้าใจ 3. ทำการสอนโดยอาศัยวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว (animation) เพื่อให้นักศึกษาเกิดการจินตนาการตามเนื้อหาและเกิดความเข้าใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น 4. นำงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมาทำการบูรณาการกับการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการอภิปราย เกิดคำถาม และเกิดการแก้ปัญหา 5. สร้างคำถาม มอบหมายงานเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้และสืบค้นด้วยตนเองแล้วนำเสนอรายงานหน้าชั้น (Presentation) หรือทำรายงาน (Report) 
1. การทำแบบทดสอบหลังเรียน 2. ผลการทำข้อสอบกลางภาคและปลายภาค 3. ประเมินผลการเรียนรู้จากผลงานที่มอบหมายในระหว่างเรียน เช่น จากการนำเสนอรายงานหน้าชั้น หรือจากการทำรายงาน
(1) มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา  หรืองานอื่นๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
 (2) สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
(3) สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ  เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(4) มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
มีการถามตอบในระหว่างเรียน  ให้นักศึกษาทำความเข้าใจและหาวิธีคิด    นำวิธีการคิดมาเสนอให้เพื่อนๆ ในกลุ่ม
ประเมินจากความสนใจและการมีส่วนร่วม
(1) มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม
(2) สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
(4) สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
มีการถามตอบในระหว่างเรียน  ให้นักศึกษาทำความเข้าใจและหาวิธีคิด    นำวิธีการคิดมาเสนอให้เพื่อนๆ ในกลุ่ม
ประเมินจากความสนใจและการมีส่วนร่วม
(1) สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
(2) สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบ             ของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้นๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
(4) มีวิจารณญานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
(5) สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
(6) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(7) สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างที่นักศึกษาต้องเจอในเหตุการณ์ต่าง ๆ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ ในระบบสารสนเทศได้
ประเมินจากความสนใจและการมีส่วนร่วม
(1) มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถ ในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7
1 FUNMA118 สถิติและคณิตศาสตร์เพื่อการเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา ทุกสัปดาห์ 5%
2 การทดสอบย่อย 4, 12 40%
3 การสอบกลางภาค 9 20%
4 การนำเสนองาน/การรายงาน 16 15%
5 การสอบปลายภาค 17 20%
เอกสารประกอบการสอน วิชาคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อการเกษตร 
กัลยา  วานิชย์บัญชา. หลักสถิติ กทม. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2539 ผ่องศรี   คุ้มจอหอ, พัศนีย์  พันตา และลำดวน  ยอดยิ่ง . สถิติธุรกิจ . กทม. สำนักพิมพ์เอมพันธ์. 2540
หนังสือวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาสถิติ ที่มีเนื้อหาในรายวิชานี้ จากเว็บไซต์ต่างๆ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษา 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ