การสร้างสื่อผสม

Multimedia Authoring

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน องค์ประกอบ ประโยชน์การใช้งานของสื่อผสม และฝึกปฏิบัติการออกแบบและสร้างสื่อผสมทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจด้านสื่อผสม สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่างๆ ในการศึกษาเรียนรู้ในสาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ และการทำงานในอนาคต
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบและสร้างสื่อผสม การผสมผสานสื่อด้วยข้อความ  ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และ เสียง การปรับแต่งการจัดเก็บ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิตอลสื่อผสม การวิเคราะห์และวางแผนการผลิตสื่อผสมแบบออนไลน์ การออกแบบสื่อผสมแบบออนไลน์ การจัดเตรียมเนื้อหาเพื่อพัฒนาสื่อผสมแบบออนไลน์ การใช้ระบบจัดการเนื้อหาแบบออนไลน์ การสื่อสารข้อมูลสารสนเทศด้วยกราฟิกเพื่อเผยแพร่สื่อสื่อผสมในรูปแบบดิจิตอล
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์
-   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการสร้างสื่อผสมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อผสม การนำเสนอสื่อผสม การออกแบบสื่อผสมที่มีจริยธรรม
1.2.2 ให้นักศึกษาวิเคราะห์สิ่งที่ควรทำ และสิ่งที่ไม่ควรทำในการสร้างสื่อผสม
1.2.3 ให้นักศึกษานำเสนอผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลงานที่มอบหมาย
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสื่อผสม องค์ประกอบสื่อผสม หลักการแทรกข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ ทฤษฎีพื้นฐานของภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ การจัดเตรียมเนื้อหาเพื่อพัฒนาสื่อผสมแบบออนไลน์
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอผลงานสื่อผสมรูปแบบต่างๆ การมอบหมายให้ค้นหาบทความ การวิเคราะห์และออกแบบสื่อผสม
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล 
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ การออกแบบและสร้างสื่อผสม
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำผลงานสื่อผสมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
3.2.2   จัดให้มีการนำเสนอผลงานในรูปแบบที่เหมาะสม
3.2.3   วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียของสื่อผสมที่สร้างขึ้น
3.2.4   การสรุปรายงานการสร้างสื่อผสม
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ผลงานที่จัดทำขึ้น
3.3.2   วัดผลจากการประเมินผลงานสื่อผสม
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3   การนำเสนอผลงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากผลงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากผลงานการศึกษาด้วยตนเอง 
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำสรุปผลการทำงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ผ่านสังคมออนไลน์
5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และสรุปรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
ความสามารถในการออกแบบและสร้างผลงานตามที่โจทย์ที่กำหนด
กำหนดโจทย์ความต้องการของงาน แล้วให้นักศึกษาออกแบบและสร้างผลงาน อย่างน้อยสองชิ้นงานขึ้นไป โดยต้องมีทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม
6.3.1 การสร้างผลงานได้ตรงตามที่โจทย์ต้องการ
6.3.2 ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ
6.3.3 ความประณีตสวยงาม
6.3.4 ความถูกต้องของข้อความ 
6.3.5 ความตรงต่อเวลาในการส่งงาน
6.3.6 การทำงานร่วมกันเป็นทีม 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
2 1, 2, 3, 4, 5 การสร้างผลงานรายบุคคล การสร้างผลงานรายกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 1, 3.1, 4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 2, 5 สอบกลางภาค 8 15
4 2, 5 สอบปลายภาค 17 15
เกษม ก้อนทอง. (2549) ศิลปะสื่อประสม. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.
ธิตินันท์ จันทร์อ่ำ. เทคโนโลยีสื่อประสม. [เว็บบล็อก] สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/titinan12/.
สัจจธรรม สุภาจันทร์. (2553). หลักคอมพิวเตอร์กราฟิก. กรุงเทพฯ : วังอักษร.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านกลุ่มสังคมออนไลน์ ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ