เคมีวิเคราะห์

Analytical Chemistry

1.1 อธิบายหลักการทางเคมีวิเคราะห์ หน่วยทางเคมี 1.2 อธิบายสมดุลอิออนิกในสารละลายน้ำ ผลคูณการละลายผลของอิออนร่วม 1.3 อธิบายทฤษฎีออกซิเดชัน-รีดักชัน เคมีไฟฟ้า 1.4 อธิบายหลักการวิธีการไทเทรตและประเภทของการไทเทรตแบบต่าง ๆ 1.5 อธิบายหลักการของการวิเคราะห์ไอออน 1.6 ปฏิบัติเกี่ยวกับหลักทั่วไปของเคมีวิเคราะห์ 1.7 นำความรู้ทางเคมีวิเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและนำหลักการทฤษฎีทางเคมีวิเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพเพิ่มขึ้น และเพื่อให้นักศึกษาใช้กระบวนการเรียนรู้สาระสำคัญของเนื้อหารายวิชาไปพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันโดยเน้นการคิดวิเคราะห์ เช่น ทักษะในศตวรรษที่ 21 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลและสร้างความรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างหลักการทางเคมีวิเคราะห์กับวิชาชีพ
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักทั่วไปของเคมีวิเคราะห์ หน่วยทางเคมีสมดุลไอออนิกในสารละลายน้ำ เคมีไฟฟ้า การไทเทรตกรด-เบส การไทเทรตแบบตกตะกอน การไทเทรตแบบการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน การไทเทรตแบบปฏิกิริยารีด็อกซ์ และการวิเคราะห์ไอออน Study and laboratory practice about the principle of analytical chemistry, chemical calculation, ionic equivalence in solution, electrochemical, acid-base titration, complexometric titration, redox titration, and ion analysis.
- ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือตามที่นัดหมาย (เฉพาะรายที่ต้องการ) - ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ผ่านสื่อสังคม Facebook กลุ่มได้ตลอดเวลา โดยนักศึกษาสามารถเข้าไปปรึกษาทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย เน้นด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้ -ตระหนักในคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต -มีวินัย เคารพกฎ ระเบียบ และกติกาต่างๆที่ดีงามของสังคม -มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นกลุ่ม
วิธีการวัด การเข้าชั้นเรียน การทำปฏิบัติการ การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติตามสภาพจริง การสังเกต การนำเสนองาน การประเมินตนเอง การประเมินโดยเพื่อน วิธีการประเมินผล 1. การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม 2. ความมีวินัย การแต่งกาย และความใส่ใจของนักศึกษาในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน 3. ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process) การตั้งคำถาม (Questioning) และการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction) เน้นด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญตามลักษณะรายวิชาเคมีวิเคราะห์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องรวมทั้งติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอยู่เสมอ
วิธีการวัด งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง การเขียนบันทึกรายงาน การสังเกต  การสัมภาษณ์ การนำเสนองาน การฝึกตีความ วิธีการประเมินผล - ประเมินผลจากการสอบด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎีแบบเขียนตอบ - ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ แผนที่ความคิด Mind Mapping จากโปรแกรม Xmind - ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลกรณีศึกษาทั้งในรูปของเอกสาร ไฟล์ข้อมูล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน และสื่อสังคม Facebook กลุ่ม
มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบทั้งในวิชาการและการใช้ชีวิต
จัดการเรียนการสอนปฏิบัติการเน้นรูปแบบการแก้ปัญหา (Problem-solving) สร้างแผนผังความคิด (Concept Mapping) การตั้งคำถาม (Questioning) การระดมพลังสมอง(Brainstorming) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) และการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction) เน้นด้านการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการคิดวิเคราะห์สามารถนำความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญทางเคมีวิเคราะห์มาใช้แก้ปัญหาทั้งในวิชาการ วิชาชีพ และชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้น ๆ เป็นการให้โอกาสนักศึกษาใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
วิธีการวัด งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง การเขียนบันทึกรายงาน การสังเกต  การสัมภาษณ์ การนำเสนองาน การฝึกตีความโจทย์ปัญหา สถานการณ์จากการลงมือทำปฏิบัติการ และการทำงานที่ได้รับมอบหมาย วิธีการประเมินผล - ประเมินผลจากการสอบด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎีแบบเขียนตอบ - ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายการทำรายงานปฏิบัติการทดลอง ตลอดจนการสร้างและการสรุปความรู้โดยใช้ แผนที่ความคิด Mind Mapping จากโปรแกรม Xmind - ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลกรณีศึกษาทั้งในรูปของเอกสาร ไฟล์ข้อมูล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสื่อสังคม
สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
จัดการเรียนการสอนปฏิบัติการเน้นรูปแบบการแก้ปัญหา (Problem-solving) สร้างแผนผังความคิด (Concept Mapping) การตั้งคำถาม (Questioning) การระดมพลังสมอง(Brainstorming) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) และการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction) เน้นด้านการพัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้สอน การพัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานกลุ่ม การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
วิธีการวัด งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง การเขียนบันทึกรายงาน การสังเกต  การสัมภาษณ์ การนำเสนองาน  และการทำปฏิบัติการกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย วิธีการประเมินผล - ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย การจัดทำรายงานผลการทดลอง  การสรุปผลการปฏิบัติงานกลุ่มจากการใช้แผนที่ความคิด Mind Mapping จากโปรแกรม Xmind การนำเสนองานโดยใช้ PPT - ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลกรณีศึกษาทั้งในรูปของเอกสาร ไฟล์ข้อมูล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสื่อสังคม
สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
จัดการเรียนการสอนทฤษฎีและปฏิบัติการเน้นรูปแบบการแก้ปัญหา (Problem-solving) สร้างแผนผังความคิด (Concept Mapping) การตั้งคำถาม (Questioning) การระดมพลังสมอง(Brainstorming) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) และการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction) เน้นทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลขการพัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียนใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม การพัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต การอธิบายเชิงทฤษฎีแล้วแสดงวิธีคำนวณที่สอดคล้องกับทฤษฎีเหล่านั้น การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสืบค้นกรณีศึกษาเกี่ยวกับเคมีวิเคราะห์กับวิชาชีพ การนำเสนอโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
วิธีการวัด งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง การเขียนบันทึกรายงาน การสังเกต การสัมภาษณ์ การนำเสนองาน การทำแบบฝึกหัด และการทำปฏิบัติการกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย วิธีการประเมินผล - ประเมินผลจากการสอบด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎีแบบเขียนตอบ - ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ แผนที่ความคิด Mind Mapping จากโปรแกรม Xmind - ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลกรณีศึกษาทั้งในรูปของเอกสาร ไฟล์ข้อมูล แบบฝึกหัดในหน่วยเรียนที่มีการคำนวณ และทักษะทางตัวเลข
-ข
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCCC110 เคมีวิเคราะห์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงาน/แบบฝึกหัดตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน คุณภาพของการนำเสนองาน/การจัดทำรายงาน 1-16 ร้อยละ 10
2 ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา การทดสอบย่อย และการสอบปฏิบัติ การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค ทดสอบย่อยสัปดาห์ที่ 1-8, 10-16 และ สอบกลางภาคสัปดาห์ที่ 9 สอบปลายภาคสัปดาห์ที่ 17 ร้อยละ 30
3 ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา (Cognitive Skills) มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ การจัดทำรายงาน การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน คุณภาพการนำเสนองาน การทดสอบย่อย การสอบปฏิบัติ การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค ทดสอบย่อยสัปดาห์ที่ 1-8, 10-16 และ สอบกลางภาคสัปดาห์ที่ 9 สอบปลายภาคสัปดาห์ที่ 17 ร้อยละ 20
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility) การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนโดยเฉพาะในภาคปฏิบัติการที่มีการทำงานเป็นทีม การนำเสนองาน/การจัดทำรายงานผลการทดลองในแต่ละบทปฏิบัติการ 1-8, 10-16 ร้อยละ 10
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication Information Technology Skills) สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม การจัดทำผลงานผ่านการใช้เทคโนโลยีเพื่อสรุปความรู้และทักษะโดยการนำเสนอผ่านแผนที่ความคิด Mind Mapping จากโปรแกรม Xmind จากหน่วยเรียนทฤษฎี 8 หน่วยเรียน ทักษะ ความรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ผ่านการทำปฏิบัติการ 10 บทปฏิบัติการ 1-16 ร้อยละ 30
ดวงจันทร์ ขัดสีทะลี. เคมีวิเคราะห์ทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๑ โรงพิมพ์นฤรัชการพิมพ์, ๒๕๔๙. (ปรับปรุง 2560) ดวงจันทร์ ขัดสีทะลี. ปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๑ โรงพิมพ์นฤรัชการพิมพ์, ๒๕๔๙. (ปรับปรุง 2560
ชูติมา ศรีวิบูลย์. เคมีวิเคราะห์พื้นฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2547 ชูติมา ศรีวิบูลย์และธวัชชัย ศรีวิบูลย์. ปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์, พิมพ์ครั้งที่ 7 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2540
Gary D. Christian. Analytical Chemistry, 3rd. John Wiley & Sons; New York Chichester Brisbane Toronton, 1980. เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 แบบประเมินผู้เรียนโดยนักศึกษาและอาจารย์
2.1 การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ร่วมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 มีการปรับปรุงการสอน โดยการสังเคราะห์ในทุกประเด็นทั้งส่วนของเนื้อหาหรือสาระรายวิชา กลยุทธ์การสอน วิธีการวัดและประเมินผล การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ นำเสนอเพื่อพัมนาการเรียนการสอนผ่านการจัดทำรายงานผลการจัดการเรียนการสอนและจักทำแผนพัฒนาการเรียนการสอนในภาคเรียนต่อไป
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการทวนสอบผลการประเมินในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา เช่น การสอบถามนักศึกษา การตรวจผลงานของนักศึกษา การประเมินผลตามสภาพจริง การประเมินโดยนักศึกษา ผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลการประเมินในภาพรวม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 ใช้เทคโนโลยี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบการสอน เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย