การวางแผนทดลองทางการเกษตร

Experimental Designs for Agriculture

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการทดลองแบบต่าง ๆ ด้านการเกษตร การวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบสมมติฐาน และการแปลผล ตลอดจนการรายงานผลการทดลอง
เพื่อให้นักศึกษาประยุกต์ใช้แผนการทดลองได้เหมาะสมกับเงื่อนไขของหน่วยทดลอง สามารถนำไปใช้วางแผนเพื่อการวิจัย และประยุกต์ใช้ในการทำงาน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการวิจัยเชิงการทดลอง หลักการวางแผนการทดลอง สมมติฐานการทดลอง แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ แผนการทดลองแบบลาตินสแคว์ การจัดแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียล แผนการทดลองประยุกต์ทางการเกษตร การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย สหสัมพันธ์ สมการถดถอย การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ผลทางสถิติ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพของนักวิจัย เคารพในสิทธิและสวัสดิภาพของสัตว์ทดลอง มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพของนักวิจัย มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อการทำวิจัย เคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของสัตว์ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของสัตว์ที่นำมาทำการทดลอง เคารพในการวิจารณ์ และรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นเพื่อทำให้การทำวิจัยมีคุณค่ายิ่งขึ้น เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ทดลอง การเคารพในผลงานวิจัยของผู้อื่น การเข้าใจลิขสิทธิ์ของผลงานวิจัยทั้งของตนเองและผู้อื่น

2. การให้อภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับสิทธิของสัตว์ทดลอง หรือลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นผลงานการวิจัย
1. การสังเกตจากการนำเสนอ และการอภิปราย
2 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
มีความรู้ในหลักการความสำคัญของการวางแผนการทดลองที่ดี การสามารถเลือกใช้แผนการทดลองได้เหมาะสมกับสถานะการณ์ และเงื่อนไขของหน่วยทดลองที่มี หรือจัดแผนการทดลองได้เหมาะสมกับลักษณะทางชีววิทยาของหน่วยทดลองแต่ละชนิด ทำการวิเคราะห์เชิงสถิติและทดสอบสมมติฐานได้ถูกต้อง กระทั่งนำไปสู่ผลสรุปที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เป็นกรณีศึกษาในแผนการทดลองแบบต่าง ๆ โดยคำนึงถึงเงื่อนไขของการใช้แผนการทดลอง แสดงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติให้เห็น กระทั่งนักศึกษาสามารถทำการวิเคราะห์ได้เอง ฝึกปฏิบัติการด้านต่าง ๆ ในการดำเนินการทดลอง เช่น การเลือกและเตรียมหน่วยทดลอง การสุ่มหน่วยทดลอง การบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การทำรายงานและสรุปผล ในลักษณะการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Problem – based Learning)ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักศึกษานำเสนอ และอภิปรายกลุ่มในกรณีศึกษาจากการปฏิบัติการทดลอง และมอบหมายให้ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี

2 ระเมินจากการปฏิบัติการดำเนินการทดลอง การนำเสนอผลการทดลอง และการค้นคว้าข้อมูล
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้สามารถดัดแปลงแผนการทดลองให้เหมาะสมกับหน่วยทดลองหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ และเกิดการเรียนรู้ด้านการใช้ซอร์ฟแวร์เพื่อนำมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
1 มอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษด้านการวางแผนทำการทดลอง ตามหัวขัอที่สนใจ ที่ให้สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
2 อภิปรายกลุ่ม
3 การสะท้อนแนวคิดจากการอภิปราย
1 สอบกลางภาคและปลายภาค เน้นการวิเคราะห์เพื่อให้นักศึกษาตัดสินใจว่าจะเลือกใช้แผนการทดลองแบบใดตามเงื่อนไข หรือสถานการณ์ที่กำหนด
2 วัดผลจากการประเมินโครงการพิเศษ การนำเสนอผลงาน
3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานจากการทำโครงงานเป็นกลุ่ม
1 จัดกิจกรรมกลุ่มสำหรับให้ทำการอภปราย และวิเคราะห์กรณีศึกษา
2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
3 การนำเสนอรายงาน
1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
2 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
4 พัฒนาทักษะการใช้ซอร์ฟแวร์ช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล
5ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายแบบฝึกหัดให้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลข โดยใช้เครื่องคำนวณช่วย และการใช้ซอร์ฟแวร์ทางสถิติ
5.2.2 ให้ทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.3 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ตรวจประเมินจากแบบฝึกหัด
5.3.2 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.3 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG008 การวางแผนทดลองทางการเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ตอบวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในช่วงกลางภาคเรียนได้ สอบกลางภาค 9 25
2 ตอบวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในช่วงปลายภาคได้ สอบปลายภาค 17 25
3 ทำแบบฝึกหัดได้ การทำแบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 25
4 ค้นคว้างานวิจัยและวิเคราะห์การใช้แผนการทดลองได้ การทำรายงาน 8 และ 16 10
5 มีการเรียนรู้การทำงานร่วมกัน การอภิปลายเสนอความคิดเห็น การทำงานกลุ่ม การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกาา 15
อนันต์ชัย เขื่อนธรรม. 2539. หลักการวางแผนการทดลอง. ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ ฯ.
มนต์ชัย ดวงจินดา. 2544. การใช้โปรแกรม SAS เพื่อวิเคราะห์งานวิจัยทางสัตว์. ปรับปรุงครั้งที่ 2, ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ขอนแก่น.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ