โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม

Data Structures and Algorithms

สามารถเข้าใจแนวคิดและหลักการพื้นฐานของโครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี รวมถึงการวนซ้ำได้ สามารถนำความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี รวมถึงการวนซ้ำได้ ไปพัฒนางานเขียนโปรแกรมได้ สามารถวิเคราะห์และออกแบบ ระบบงานโดยใช้โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี รวมถึงการวนซ้ำได้ สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของโครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี รวมถึงการวนซ้ำได้ ได้แก่ โครงสร้างข้อมูลเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น โครงสร้างข้อมูลพื้นฐานแบบ สแตก คิว ลิสต์ โครงสร้างแบบต้นไม้และกราฟ ได้ สามารถสร้างค่านิยมที่ดีในการเอาใจใส่ ต่องานในวิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม และสร้างความเชื่อมั่นในวิชาที่เรียน เพื่อนำไปต่อยอดในด้านคอมพิวเตอร์ได้ สามารถสร้างทักษะการปฏิบัติ ซึ่งนำความรู้สู่การปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ เช่น การคิดวิเคราะห์จากเรียนในเนื้อหาทางทฤษฎี เข้าสู่ปฏิบัติ โดยการคิดออกแบบ และพัฒนาออกมาในรูปแบบของโปรแกรมได้
เพิ่มเนื้อหาส่วนการปฏิบัติการและใบงานมากขึ้น เพื่อการประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎี แล้วนำไปพัฒนาโปรแกรม ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจมากขึ้น เพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่นสื่อการสอนในรูปแบบภาษาอังกฤษ เพื่อให้นักศึกษาได้ค้นหาเนื้อหาเพิ่มเติมมากขึ้น
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการแนะนำแนวคิดพื้นฐานของโครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี รวมถึงการเรียกซ้ำ (Recursion) โครงสร้างข้อมูลแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นเชิงเส้นและไม่เป็นเชิงเส้นโครงสร้างข้อมูลพื้นฐาน สแตก คิว ลิสต์ โครงสร้างแบบต้นไม้และกราฟ และเข้าใจการสืบค้นข้อมูลอัลกอริทึม พื้นฐานการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี (Algorithm Analysis)
     Study and work on the fundamental of data structures and algorithms including recursion. Study the several of data structures i.e. Linear Algorithm, Non-Linear Algorithm, Stack, Queue, List, Tree and Graph and also understand about Algorithm Analysis.
จำนวน 3 ชั่วโมง ทุกวันจันทร์หรือวันศุกร์ เวลา 13.00-16.00 น.
ณ ห้องพักอาจารย์หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ 
เบอร์ติดต่อ 054-710259 ต่อ 508001
MS Team Link: https://bit.ly/2YHQcyY
MS Team Code: ucn26sk
 
š1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
š1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
˜1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
˜1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้อัลกอริทึมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย เช่นการแฮกข้อมูล การมอบหมายงานกลุ่มที่เสริมสร้างการวางแผนการทำงาน การทำงานเป็นทีม การรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น
การสังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียนและส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา การประเมินรายงานที่มีการอ้างอิงเอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และการนำเสนองาน การประเมินผลการนำเสนอโครงงานที่มอบหมาย โดยตนเอง และเพื่อน
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
š2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
การบรรยายและใช้การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและการปฏิบัติเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม การศึกษาที่เน้นค้นคว้าด้วยตนเองจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
การทดสอบย่อย หรือการทดสอบปฏิบัติ ทั้งข้อสอบอัตนัยและปรนัย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ทั้งข้อสอบอัตนัยและปรนัย การประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ ประเมินจากการนำเสนอรายงาน และการซักถามของนักศึกษาในชั้นเรียน การสังเกตพฤติกรรมและประเมินความเข้าใจในเนื้อหาของนักศึกษาจากการถาม-ตอบของนักศึกษาในชั้นเรียน
˜3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
š3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
การมอบหมายงานหรือกรณีศึกษาที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และแก้ไขปัญหา การศึกษาค้นคว้าการเขียนรายงานและการนำเสนอผลงาน การให้นักศึกษาปฏิบัติงานจากสถานการณ์จริง การสอนแบบตั้งคำถาม
การประเมินจากรายงานและการนำเสนอผลงาน การทำแบบทดสอบวัดการปฏิบัติ งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง การตอบคำถามในห้องเรียน
š4.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
š4.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
˜4.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
การมอบหมายงานกลุ่มที่กำหนดกรณีศึกษาให้นักศึกษาต้องทำการวิเคราะห์ร่วมกัน การมอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
การประเมินจากโครงงานกลุ่มที่นำเสนอ การประเมินจากการแบ่งงาน ความรับผิดชอบ ภายในกลุ่ม
š5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
˜5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
š5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสอนโดยใช้  Power point การสอนโดยการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล โดยใช้คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเนื้องหาในแต่ละบทเรียน การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองานด้วยวิธีวาจา
การสังเกตจาก งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง การนำเสนองาน การตรวจสอบงานที่รับมอบหมาย แบบดี่ยวและกลุ่ม การประเมินจากรายงานและรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี การประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านคุณธรรม จริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 2 3 4 5 6 1 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7
1 BSCCS402 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-16 10%
2 2.ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน และการทำแบบฝึกหัด การส่งงานปฎิบัติ 1-16 30%
3 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การทดสอบย่อย ภาคทฤษฎี การทดสอบย่อย ภาคปฏิบัติ 4, 7, 10, 13 20%
4 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสอบกลางภาค 8 20%
5 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสอบปลายภาค 17 20%
 
สุชาย ธนเสถียร และวิชัย จิวงกูร. โครงสร้างข้อมูลเพื่อการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น
นิศาชล โตอดิเทพย์. โครงสร้างข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนเสถียร
จุฑามาส ไพบูลย์ศักดิ์ โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม ด้วย C/C++. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง จำกัด
-
เว็บไซด์ต่างๆ โดยใช้ คำสำคัญ “โครงสร้างข้อมูล” “อัลกอริทึม” และคำสำคัญประจำบท ตามเนื้อหาของแต่ละบท เพื่อใช้ในการค้นหา
1.1 ตอบคำถามในชั้นเรียน
1.2 ตรวจสอบจากการบ้าน หรือ ใบงานของการปฏิบัติการทดลอง
1.3 ประเมินการให้คะแนนของนักศึกษาด้วยกันเอง ในการนำเสนองาน
ประเมินการสอนจากนักศึกษาเมื่อภาคเทอมการศึกษา และผลการเรียนของนักศึกษา
นำผลการเรียนของนักศึกษาและผลการประเมินการสอนของนักศึกษา ในปีก่อนหน้า มาวางแผนและปรับปรุงการสอน และมีการ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนระหว่างเขตพื้นที่
ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนและหลังการเรียน และประเมินจากการนำเสนองาน และผลการปฏิบัติตามใบงานในห้องปฏิบัติการ
นำผลลัพธ์จากข้อ 1 และ 2 มาปรับปรุงแก้ไขในแต่ละสัปดาห์หลังจากประเมินแล้ว ส่วนกรณีผลการเรียน จะต้องทำการปรับปรุงเอกสารการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักศึกษา