องค์การและการจัดการ

Organization and Management

1. เข้าใจลักษณะเบื้องต้นขององค์การธุรกิจ
2. รู้แนวคิดและวิวัฒนาการทางการจัดการ
3. เข้าใจสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการ
4. รู้และเข้าใจกระบวนการบริหารจัดการ
5. เข้าใจหลักการจริยธรรมทางธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและแนวความคิดทางการบริหารจัดการ ธรรมาภิบาล และความความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมทางธุรกิจ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และปรับให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ลักษณะทั่วไปของการประกอบธุรกิจ แนวคิดและวิวัฒนาการทางการจัดการสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อการจัดการ หน้าที่และกระบวนการทางการจัดการ การวางแผน การจัดองค์การ การจัดการทรัพยากรมนุษย์การชี้นำและการควบคุม ตลอดจนธรรมาภิบาลความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมทางธุรกิจ
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการของนักศึกษาจำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
2.มีความเคารพต่อกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
3.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีการมอบหมายงานกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม
 
1. ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
3. สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
 
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญใน เนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนา ความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบาย ความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและ การดำรงชีวิตประจำวัน
3. มีความรู้และความเข้าในในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การ ปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุง แผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของ รายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ และมอบหมายให้ทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการวิเคราะห์สถานการณ์จริงขององค์กรธุรกิจ โดยการศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning) , การศึกษาโดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center)รวมถึงการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกคิดวิเคราะห์กรณีศึกษาและการบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
3. ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
4. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
5. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
1. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจาก ทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือก ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน ทางธุรกิจ
2. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
 1)  การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน 
2)  การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 
 
ประเมินจากการนำเสนอรายงานและอภิปรายกรณีศึกษาและพิจารณาจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรียนรู้ร่วมกันอย่างถูกต้องตามหลักการ
1.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความ รับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้ง สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมและสามารถปรับตัวเชิง วิชาชีพได้
2.มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1.จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำ และผู้ตาม
2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
3. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
 
1.ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
2.ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
3. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
  
1. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของ สื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการจัดทำรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
2. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
1.มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 
2.ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล 
3.ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข 
 
 
1. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคลและเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยuสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2.ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6
1 BBABA201 องค์การและการจัดการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 2.3, 2.4 -สอบกลางภาค 9 30%
2 2.1, 2.2, 2.3, 2.4 -สอบปลายภาค 17 30%
3 1.1, 1.2 ,1.3 3.1, 3.2 , 3.3 4.1, 4.2 5.1,5.2 ,5.3, - วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า - การทดสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค - การอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์กรณีศึกษา และหาแนวทางแก้ไขปัญหา - การทำงานกลุ่มตามมอบหมาย - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 1.1, 1.2 ,1.3 การเข้าชั้นเรียนและการเข้าร่วมกิจกรรมทางมหาวิทยาลัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
2.กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างธุรกิจใหม่. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
3.อภิมณีณ์ ปวรัชพิสิทฐ์. (2561). หลักการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
4.สุรพันธ์ ฉันทแดนสุวรรณ. (2560). หลักการบริหารธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จตุทอง.
5.กิจจา บานชื่น และกณิกนันต์ บานชื่น. (2559). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
6.สุธี ขวัญเงิน. (2560). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
7.เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2560). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
8.ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2559). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
9.ศิริพร เลิศยิ่งยศ. (2556). องค์การและการจัดการ. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม.
10.พนิดา พานิชกุล. (2554). การจัดการธุรกิจ. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
11.วรารัตน์ เขียวไพรี. (2550). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: สิรบุตรการพิมพ์.
12.วิเชียร วิทยอุดม. (2550). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
 
-
 -เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด และห้องสมุดมหาวิทยาลัย
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาหลักการบริหารที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและ ข้อแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา ดังนี้
 1.การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
 2.แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
      1.ผลการเรียนของนักศึกษา
      2.การทบทวนผลการประเมินการเรียนรู้ 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการปรับปรุงการสอน
การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจโดยอาจารย์ท่านอื่นๆที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน
นำผลการประเมินการสอนของตนเองมาจัดเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง