การบัญชีชั้นสูง 1

Advanced Accounting 1

ศึกษาและฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินจากรายการที่บันทึกไว้ไม่สมบูรณ์ รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า การบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ธุรกิจขายผ่อนชำระ สัญญาเช่า การใช้โปรแกรมสเปรดชีตในการจัดทำตารางชำระเงินต้นและดอกเบี้ยรวมถึงการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนคิดลด การบัญชีสำนักงานใหญ่สาขาและตัวแทนทั้งในและต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงิน การบัญชีสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง ผลประโยชน์พนักงาน การบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินจากรายการที่บันทึกไว้ไม่สมบูรณ์ รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า การบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ธุรกิจขายผ่อนชำระ สัญญาเช่า การใช้โปรแกรมสเปรดชีตในการจัดทำตารางชำระเงินต้นและดอกเบี้ยรวมถึงการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนคิดลด การบัญชีสำนักงานใหญ่สาขาและตัวแทนทั้งในและต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงิน การบัญชีสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง ผลประโยชน์พนักงาน การบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร 
7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี
1.2 สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
1.3 แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
1). สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในเนื้อหาวิชาเรียน
2). ให้ความสำคัญในเรื่องการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
3). ปลูกฝังความสำคัญเรื่องมารยาทที่ดีในชั้นเรียนต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนและอาจารย์
4). ให้ความสำคัญและปลูกฝังจิตสำนึกที่มีต่อสังคม และการใช้ทรัพยากรด้วยความประหยัดคำนึกถึงสิ่งแวดล้อม
1). ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2). ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
3). ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4). สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
2.3 มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
2.4 มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
1). ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิดหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ได้แก่ วิธีการสอนโดยใช้การบรรยาย วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง วิธีการสอนโดยใช้การสาธิต ผ่านโปรแกรมMs Teams และมีการอัดวีดีโอเพื่อให้นักศึกษาสามารถกลับมาดูเพิ่มเติมได้
2). การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3). มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล
4). มอบหมายงานให้นักศึกษาได้ฝึกปฎิบัติในชั้นเรียน
5). มอบหมายงานใน Microsoft Teams ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจากแบบฝึกหัด โดยใช้โปรแกรม Spreadsheet Excel
1). ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมายในMicrosoft Teams การทดสอบย่อย รายงาน การค้นคว้า และการนำเสนอ
2). การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
3). ประเมินผลการเรียนรู้จากงานที่มอบหมาย
3.1 มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
3.2 มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
3.3 มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่ากันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก
3.4 มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
 1). ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบจากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือ สถานการณ์จำลอง
2). วิธีการสอนโดยใช้การบรรยาย วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง วิธีการสอนโดยใช้การสาธิต 
3). ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบจากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือ สถานการณ์จำลอง
4). มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1). ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือ สถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
2). ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญา
4.1 มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.2 มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
 1).  มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน 
 2).  มอบหมายงานการค้นคว้า หาข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
1). ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2). ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยเวลาในการส่งงาน
3). สังเกตุพฤติกรรมในชั้นเรียน
5.1 มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การะประเมินผล และการรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
5.2 มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชี โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ
5.3 มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
1). มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวนเชิงตัวเลข 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1'3 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 3.4 4.3 4.4 4.1 5.1 5.2 5.3
1 BACAC130 การบัญชีชั้นสูง 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,3.1 สอบย่อย 3,12 20
2 2.1,,3.1 Midterm/Final 9,18 60
3 2.1, 3.1, 4.1 รายงานการบัญชีกอบทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร 17 5
4 1.3, 2.1, 3.1, 4.1 งานที่มอบหมายและแบบฝึกหัด 1-16 10
5 1.3, 4.1 การเช็คชื่อเข้าเรียน การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน การสังเกตจากงานที่มอบหมาย 1-16 5
เยาวรักษ์ สุขวิบูลย์.(2564) การบัญชีชั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: หจก.ทีพีเอ็น เพรส
กัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท, ศิริรัตน์ พ่วงแสงสุข, และ นันทนา แจ้งสว่าง. (2560). การบัญชีชั้นสูง 1. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
ดลกณิศ เต็งอำนวย. (2558). รู้บัญชีขั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นุชจรี พิเชฐกุล.(2563).การบัญชีชั้นสูง1.ปทุมธานี:สาขาวิชาการบัญชีและการเงิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วรศักดิ์ ทุมมานนท์ และ ณัฐวุฒิ  สุวรรณยั่งยืน. (2557). การบัญชีขั้นสูง 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิศรุต ศรีบุญนาค, พิมพ์พนา ปีตธวัชชัย, และ ณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์. (2554). ตราสารอนุพันธ์ : การวัด มูลค่า การรับรู้และการบัญชีป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิลปพร  ศรีจั่นเพชร และ อนุวัฒน์  ภักดี. (2562). การบัญชีชั้นสูง. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วน ทีพีเอ็น เพรส.
TFRS 15 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า TFRS 16 สัญญาเช่า TFRS 9 เครื่องมือทางการเงิน TAS 21 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
        ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน  และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องซึ่งได้จากเว็ปไซต์ต่อไปนี้
           www.tfac.or.th
           www.set.or.th
  ให้นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ตามแบบประเมินของมหาวิทยาลัย
 1. พิจารณาจากผลคะแนนการสอบ ได้แก่ สอบย่อย สอบวัดความรู้
    2. พิจารณาจากงานที่มอบหมายให้ ได้แก่ ใบงาน แบบฝึกหัด รายงาน
    3. พิจารณาจากพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
    1. นำผลการประเมินประสิทธิผลรายวิชาโดยนักศึกษา มาพิจารณาปรับปรุงการสอน
           2. ผู้สอนควรศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา เพื่อนำมาใช้ปรับเนื้อหาการสอนให้เป็นข้อมูล เนื้อหา ที่ทันสมัย
          ให้กรรมการทวนสอบของสาขาการบัญชี เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจาก มคอ.3 ข้อสอบ ใบงาน และ การตัดเกรด 
          นำเสนอข้อสอบ และการตัดเกรด  ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2  ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน  วิธีการประเมินและเนื้อหารายวิชา