วาดเส้นพื้นฐาน

Basic Drawing

1. รู้และเข้าใจความหมายและความสำคัญของเส้นในการวาดเส้น
2. รู้และสามารถปฏิบัติงานในการวาดเส้น จากหุ่นปูนปลาสเตอร์ในรูปทรงเรขาคณิต ตลอดจนหุ่นนิ่งจากวัตถุสิ่งของในหัวข้อต่างๆ, ใบหน้าคน, อวัยวะหรือทรวดทรงบางส่วนของคน รวมไปถึงต้นไม้ดอกไม้ในธรรมชาติ และทัศนียภาพ
3. รู้และสามารถปฏิบัติงานโดยการใช้เทคนิคในการวาดเส้นและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆในการวาดเส้น เช่น ดินสอ, ดินสอไข เป็นต้น อย่างมีความถูกต้องของโครงสร้างและความเป็นจริงในรูปทรง, สัดส่วน, น้ำหนักแสงเงา, ระยะใกล้ไกล (ระยะหน้า, กลาง, หลัง) และจัดวางองค์ประกอบของภาพได้อย่างเหมาะสม
เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้ เป็นเอกสารการเตรียมและวางแผนการสอนรายวิชา วาดเส้นพื้นฐาน สำหรับสอนนักศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการวาดเส้นพื้นฐาน โดยเน้นความถูกต้องตามสัดส่วน รูปร่าง รูปทรง แสงเงา ระยะใกล้ไกล จากต้นแบบที่กำหนด
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการวาดเส้นพื้นฐาน โดยเน้นความถูกต้องตามสัดส่วน รูปร่าง รูปทรง แสงเงา ระยะใกล้ไกล จากต้นแบบที่กำหนด ด้วยดินสอหรืออุปกรณ์วาดเส้นอื่นๆ โดยมีการแสดงออกทางเทคนิค และวิธีการ ได้อย่างเหมาะสม
Study and practice fundamental drawing principles, focusing on the correct proportion, shape, form, shading, perspectives of given subjects using pencils or other drawing tools to express drawing techniques with appropriate methods.
จำนวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ข้อ ๑ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม š ข้อ ๒ มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น   ข้อ ๓ มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งจรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
ข้อ ๑ รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
 
  ข้อ ๒ มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรม ศาสตร์อย่างเป็นระบบ ข้อ ๓ มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและ วัฒนธรรม ข้อ ๔ มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพ ด้านศิลปกรรมศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา
ใช้การเรียนการสอน โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาวาดเส้นพื้นฐาน ตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชา
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
ในด้านต่าง ๆ คือ
๑. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
๒. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
๓. ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
ข้อ ๑ สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน ข้อ ๒ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่าง สร้างสรรค์ ข้อ ๓ สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และวิชาชีพได้ ข้อ ๔) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
ใช้กรณีศึกษา การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยว และร่วมแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษา และการนำเสนองาน
ข้อ ๑ มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ข้อ ๒ มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๓ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพใน ความคิดเห็นที่แตกต่าง
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
ข้อ ๑ สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ข้อ ๒ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการ สร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๓ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่ เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
ใช้วิธีการสอนโดยให้นักศึกษานำเสนอผลงานโดยการพูดอธิบายความรู้ความเข้าใจจากการเรียนรู้ รวมไปถึงผลงานในห้องเรียน
ประเมินตามสภาพจริงของการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากผลงาน ความสนใจ ความเข้าใจ การตั้งคำถาม การตอบคำถามและการพูดนำเสนอผลงานต่างๆ ในชั้นเรียน
ข้อ ๑ สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานของตน
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีการทำตามแบบตามใบงาน และการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง จากลักษณะการร่างภาพเพื่อให้ได้สัดส่วนและโครงสร้างของรูป รวมทั้งการแรเงาน้ำหนักอ่อนแก่
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงานวาดเส้นของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ๑. คุณธรรม จริยธรรม ๒. ความรู้ ๓. ทักษะทางปัญญา ๔. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ๕. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ๖. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ข้อ ๑ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ข้อ ๒ มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น ข้อ ๓ มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ ข้อ ๑ รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒ มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรม ศาสตร์อย่างเป็นระบบ ข้อ ๓ มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและ วัฒนธรรม ข้อ ๔ มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพ ด้านศิลปกรรมศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา ข้อ ๑ สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน ข้อ ๒ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่าง สร้างสรรค์ ข้อ ๓ สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และวิชาชีพได้ ข้อ ๔ มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน ข้อ ๑ มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ข้อ ๒ มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๓ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพใน ความคิดเห็นที่แตกต่าง ข้อ ๑ สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ข้อ ๒ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการ สร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๓ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่ เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม ข้อ ๑ สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานของตน
1 BFAVA170 วาดเส้นพื้นฐาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรมและจริยธรรม - ประเมินจากการมีวินัยในการเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบส่งงานตามกำหนด และมีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย 1-17 15%
2 ด้านความรู้ - ประเมินจากการทดสอบทักษะความสามารถและความเข้าใจในแต่ละหน่วยเรียน การสอบกลางภาค การสอบปลายภาคเรียน จากผลงานที่ปฏิบัติ 1-17 35%
3 ด้านปัญญา - ประเมินจากผลงานสร้างสรรค์ในแต่ละหน่วยเรียน 2-7,9-16 10%
4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - ประเมินจากการเรียนและการส่งงาน 1-7,9-16 10%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - ประเมินจากการนำเสนอผลงาน 2-8,10-16 5%
6 ด้านทักษะพิสัย - ประเมินจากผลงานที่สามารถทำตามแบบได้ สามารถสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้เทคนิคต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม และสามารถแก้ไขปัญหาในการสร้างสรรค์ได้ 2-8,10-16 25%
- เทียนชัย ตั้งพรประเสริฐ. ทฤษฎีวาดเขียน. กรุงเทพฯ : บริษัทเฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง จำกัด, 2544.
- อนันต์ ประภาโส. วาดเส้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สิปประภา, 2553.
- วารสาร ศิลปะทั้งในและต่างประเทศ เช่น เอกสารและวารสารจากสถาบันต่างๆ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับการวาดเส้นพื้นฐาน
- ผลการเรียนของนักศึกษา
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- การศึกษากระบวนการเรียนการสอนภายในและนอกชั้นเรียน
- การสัมมนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
- การศึกษากระบวนการเรียนการสอนภายในและนอกชั้นเรียน
- การสัมมนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
กระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา
- ทวนสอบจากคะแนนงานที่มอบหมาย จากการสุ่มตัวอย่างผลงานของนักศึกษาจากอาจารย์ต่างหลักสูตร
- ตรวจสอบผลการประเมินและกระบวนการศึกษา
ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4