วาดเส้นคนเหมือน

Portrait Drawing

1. ปฏิบัติการวาดเส้นภาพคนเหมือน การวาดภาพคน โครงสร้างภาพคน สัดส่วน รูปร่างรูปทรง ค่าน้ำหนัก แสงเงาที่มีความถูกต้องเหมือนจริงตามหลักกายวิภาค
2. สามารถปฏิบัติการวาดเส้นในทางเนื้อหาของคนได้เป็นอย่างดี
3. ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการฝึกฝนทักษะปฏิบัติงานเส้นสร้างสรรค์อย่างเข้าใจ
สามารถนำเสนอผลงานและแสดงทัศนะในทางสร้างสรรค์ได้ถูกต้องตามจุดมุ่งหมาย
1. เพื่อฝึกปฏิบัติการวาดเส้นและหลักกายวิภาคอย่างถูกต้อง
2. สามารถสร้างผลงานทางการวาดเส้นตามหลักกายวิภาคของคนได้เป็นอย่างดี 
3. สามารถใช้วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการสร้างงานทัศนศิลป์ในการปฏิบัติการวาดเส้นอย่างถูกต้อง
คำอธิบายรายวิชา
          ศึกษาและฝึกปฏิบัติวาดเส้นภาพคนเหมือน มีความรู้เรื่องหลักการร่างภาพคน เข้าใจโครงสร้าง สัดส่วน ของรูปร่างรูปทรง และสามารถแทนค่าน้ำหนักแสงเงาให้เกิดมิติที่ถูกต้องมีความเหมือนจริงตามแบบโดยคำนึงถึงหลักกายวิภาค ด้วยการวาดเส้นที่มีเทคนิคหลากหลาย                                                               Study and practice drawing a human subject. Gain insight into principles of sketching. Understand the structure, the proportion of shapes, and placing value to create accurate dimensions similar to the original subject regarding principles of anatomy and various techniques.
 
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ
(1)   ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(2)   มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น    
                      สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
                   ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา  ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
(1)​  รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรมและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง    
(4)  มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา         
                      ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
           ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ
(1)   การทดสอบย่อย
(2)   การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(3)   ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
(4)   ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
(5)   ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
(6)   ประเมินจากแผนการดำเนินงานศิลปนิพนธ์ที่นำเสนอ
(7)   ประเมินจากการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
(1) สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณสร้างสรรค์
(3) สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
    
                  ใช้กรณีศึกษา การจัดทำโครงงาน หรือการจัดทำศิลปนิพนธ์ การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูลการนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
                 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษาและการนำเสนองาน
(1) มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
            สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม   การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น   การประสานงานกับบุคคลภายนอก   การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
           ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 
       (1)  สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ    ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล  โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล   การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร 
         ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
                         สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานของตน
                ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา โครงงานและศิลปนิพนธ์ สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง   
       ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 4 1 3 1 2 1 1
1 BFAVA179 วาดเส้นคนเหมือน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2 ส่งงานตรงต่อเวลา ครบถ้วน การเรียนและเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ การแต่งกายสะอาดและสุภาพ ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 1,4 ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติให้ตรงตามหัวข้อ ในแต่ละสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษา 25%
3 1,3 ความคิดสร้างสรรค์ของผลงานที่กำหนดให้ ในแต่ละสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 1,2 รับผิดชอบงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 1 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสาระสนเทศในการนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 5%
6 1 ผลงานการปฏิบัติงานในแต่ละสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษา 30%
-
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษาสามรถปรึกษาอาจารย์
ได้ทุกเวลา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
        ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือจากการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมต่าง ๆ