การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

Object Oriented Programming

1. นักศึกษามีความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบและการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
2. นักศึกษาสามารถอธิบายองค์ประกอบของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ เช่น คลาส อ๊อบเจกค์ แอตทริบิวต์ เมธอน การสืบทอดคุณสมบัติ โพลีมอร์ฟิซึม เป็นต้น
3. นักศึกษาปฏิบัติการเขียนโปรแกรม เพื่อเรียกใช้งานไลบรารีฟังก์ชัน และเอพีไอของภาษา การใช้ส่วนติดต่อประสานโปรแกรมประยุกต์และการทำงานแบบการเขียนโปรแกรมเชิงเหตุการณ์ ได้
1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเชิงวัตถุ   2. เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงแนวคิดเชิงวัตถุ   3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ได้   4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่งควบคุมและการตัดสินใจได้   5. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและประยุกต์ใช้โครงสร้างข้อมูลแบบแถวลําดับและคอลเลคชันได้   6. เพื่อใหผู้เรียนสามารถจัดการกับสิ่งผิดปกติในการเขียนโปรแกรมได้   7. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้คลาสและเธรดในการเขียนโปรแกรมได้
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบและองค์ประกอบของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ เช่น คลาส อ๊อบเจกค์ แอตทริบิวต์ เมธอน การสืบทอดคุณสมบัติ โพลีมอร์ฟิซึม เป็นต้น ฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรม เพื่อเรียกใช้งานไลบรารีฟังก์ชัน และเอพีไอของภาษา การใช้ส่วนติดต่อประสานโปรแกรมประยุกต์และการทำงานแบบการเขียนโปรแกรมเชิงเหตุการณ์
Study and practice about design concepts and components of Object Oriented Programming ( OOP)  including class, object, attributes, method, inheritance, and polymorphism. Practice in OOP to call on function library and API framework, use of application user interface, and event-driven programming.
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลสงวนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ 1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม 1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจต่อบุคคลองค์กรและสังคม 1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในการสอน 1.2.2 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย 1.2.3 เน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและการแต่งกายให้เป็นตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 1.2.4 มอบหมายงานกลุ่มที่เสริมสร้างการวางแผนการทางาน การทำงานเป็นทีม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.3.1 การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 1.3.2 การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม 1.3.3 การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ วิธีทำงานของภาษาเชิงวัตถุ 2.1.2 มีความรู้ความเข้าใจ วิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ ลักษณะสำคัญขององค์ประกอบพื้นฐานของวัตถุ 2.1.3 มีทักษะเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมโดยใช้แนวคิดเชิงวัตถุ
2.2.1 เน้นการเรียนการสอนที่เป็น active learning 2.2.2 จัดให้มีการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติตามใบงาน 2.2.3 ฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมโดยใช้แนวคิดเชิงวัตถุ
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2 ประเมินจากผลงานการทำแบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติในห้องเรียน 2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้า 2.3.4 ความรับผิดชอบในการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
3.1.1 คิดและจำอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ 3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.3 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าทำรายงานตามหัวข้อที่กำหนดให้และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า 3.2.2 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากกรณีศึกษา 3.2.3 สาธิตตัวอย่างและกรณีศึกษา
3.3.1 สอบกลางภาคและสอบปลายภาค 3.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานรายบุคคล
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วยตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดการเรียนการสอนที่เน้นการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย 4.2.2 สอดแทรกความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
4.3.1 ประเมินความรับผิดชอบตามงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานรายบุคคล
5.1.1 พัฒนาทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข 5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน 5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5.1.5 พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงาน โดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งความรู้ต่างๆ 5.2.2 นำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 5.3.2 ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอรายงานด้วยสื่อเทคโนโลยี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 BSCCT502 การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 2.1, 2.2, 2.4, 2.8, 3.1, 3.3, 3.4, 4.1, 4.4, 5,1, 5.2 5.3 ประเมินจากพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้งในชั้นเรียนและระหว่างการทำงานกลุ่ม การทำงานที่ได้รับมอบหมายต่างๆ 1-16 10
2 1.2, 2.1, 2.2, 2.4, 2.8, 3.1, 3.3, 3.4, 4.1, 4.4, 5,1, 5.2 5.3 ตรวจสอบจากผลการปฏิบัติงานตามใบงาน ผลงานการทำแบบฝึกหัด/แบบทดสอบ และผลงานกลุ่ม 1-16 40
3 2.1, 2.2, 2.4, 2.8, 3.1, 3.3, 3.4, 5.1, 5.2 5.3 สอบปฏิบัติ 9,17 30
4 2.1, 2.2, 2.4, 2.8, 3.1, 3.3, 3.4, 5.1, 5.2 5.3 สอบทฤษฏี 9,17 20
RMUTL Education รายวิชาการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ : https://education.rmutl.ac.th/course/view.php?id=2192
1. https://visualstudio.microsoft.com/
2. https://learn.microsoft.com/en-us/dotnet/visual-basic/programming-guide/concepts/object-oriented-programming
ธีระพล ลิ้มศรัทธา. 2010. การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วย Visual Basic.NET. ซีเอ็ดคอมพิวเตอร์บุ๊ค.   
- แบบประเมินความพึงพอใจการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัย  
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เ
- การพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา
- การพิจารณาผลงานที่มอบหมาย
หลังจากทราบผลการประเมินการสอน จึงมีการปรับปรุงการเรียนการสอน โดย
- รวบรวมปัญหาการเรียนของนักศึกษาและแนวทางแก้ไข โดยพิจารณาจากประเด็นในการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา
- การจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน
- มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง
- ให้นักศึกษามีโอกาสตรวจสอบคะแนนก่อนรายงานผลการเรียน
พิจารณาผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา และวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น เช่น การปรับปรุงเนื้อหา ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอนให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป