การสื่อสารภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ

English Communication and Information Technology

เพื่อฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างภาษาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางเทคโนโลยีสารสนเทศตามสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงมารยาทในการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์และเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบันทั้งในการปฏิบัติงานและชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติใช้ภาษาอังกฤษเพื่อติดต่อสื่อสาร เผยแพร่ข้อมูลและสืบค้นข้อมูล โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
- อาจารย์ประจำรายวิชา กำหนดเวลาในการให้คำปรึกษา
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1. มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ มีจิตสำนึกสาธารณะ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซึ่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบด้านคุณธรรม จริยธรรมที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล องค์กร และสังคมจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร
1. จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
3. สร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม มีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
4. ส่งเสริมให้นักศึกษาเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม ยกย่อมและเชิดชูผู้ที่ทำความดีและเสียสละ
 
1. การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
3. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม
2.1.5 สามารถวิเคราะห์ และนำข้อมูลมาปรับปรุงและ หรือ ประเมินตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
2.1.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและรวมทั้งการนำไปประยุกด์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.1.7 รู้เข้าใจ และสนใจที่จะพัฒนาความรู้ ความชำนาญในการใช้ภาษาอย่างต่อเนื่อง
2.1.8 มีความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษา พร้อมทั้งเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา
2.1.9 มีประสบการณ์เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้า และ/หรือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาใช้ในงานได้จริง
1. จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานนั้นๆ 
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงาน หรือการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรให้ความรู้
3. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
4. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
1. การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
2. รายงานองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
3. ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
4. ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
3.1.3 สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นระบบ สร้างสรรค์และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้และประสบการณ์ มาใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคม
3.1.5 สามารถศึกษา ค้นคว้า ประยุกต์ความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
1. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
2. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกปฎิบัติผ่านทางบทบาทสมมุติในสถานการณ์จำลอง
 
1. การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จำลอง
2. การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาและสื่อสารในบริบทต่างๆ
 
4.1.4 มีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.5 สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชา
2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม 
3. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
 
1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
2. การสังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
3. การสังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา
 
5.1.2 สามารถอธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการเครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
5.1.4 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารการค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงาน
2. ให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากหัวข้อที่ศึกษา
3. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์ และวัฒนธรรมที่หลากหลาย และในการนำเสนองาน
1. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย
2. พฤติกรรมและความสามารถในการใช้ภาษาของนักศึกษาเพื่อสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 2.9 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5
1 BOAEC118 การสื่อสารภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.5, 2.6, 2.7,2.8,2.9 3.3,3.5 ทดสอบกลางภาค ทดสอบปลายภาค 9, 17 25%, 25%
2 2.5, 2.7, 2.9 3.5 5.4 6.2, 6.3 การฝึกปฏิบัติ การร่วมกิจกรรมเดี่ยว/กลุ่ม แบบฝึกหัด สอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 2.5, 2.7, 2.9 3.5 5.4 6.2, 6.3 ผลการจัดทำรายงาน การนำเสนอและการเผยแพร่ผลงาน เป็นผู้ร่วมจัดโครงการ ธรรมะ สวัสดี ของหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล ทำแบบสอบถามออนไลน์ ทำโปสเตอร์ ทำใบประกาศนีบัตรออนไลน์ 15, 16 สัปดาห์ที่ 3-4 (10 คะแนน) 10%,10%
4 1.6, 4.4, 4.5 สังเกตพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและการส่งงาน การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนและ/หรือสไลด์ที่รวบรวมและจัดทำโดยอาจารย์ผู้สอน
Eric H. Glendinning, John McEwan (2006). Oxford English for Information technology, Oxford University Press.
Santiago Remacha Esteras (2008). Infotech English for computer users 4th edition, Cambridge University Press.
Remacha Esteras, Elena Marco Fabre (2007). Professional English in Use: ICT, Cambridge University Press.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
http://howtostartablog.org/free-blogging-services.html.
http://www.makemoney-school.com/how_blogger_signup.html.
http://www.wikihow.com/Start-a-Blog
http://makemoneynetonline.blogspot.com
http://lcplc.blogspot.com/
http://comviait.blogspot.com/
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา ดำเนินการดังนี้
1.1 นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
1.2 การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
1.3 ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
2.2 สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
2.3 ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจเนื้อหา
2.4 ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
3.1 ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
3.2 สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียนและปรับปรุงแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
3.3 สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งเพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อๆ ไป
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและรายงานโดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้าหรือไม่มี จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบาทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้นหรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
การวางแผนการปรับปรุงการสอนและเนื้อหาวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
5.2 มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ๆ และตามความน่าสนใจ
5.3 ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลายและสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียนหรือตามที่ได้ศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
5.4 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาและของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี