อุปกรณ์ตรวจจับและตัวกระตุ้น

Sensors and Actuators

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการและคุณสมบัติของอุปกรณ์ตรวจจับแบบต่างๆ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้เซ็นเซอร์ให้เหมาะสมกับระบบควบคุมการปรับสภาพสัญญาณของเซ็นเซอร์ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจวงจรส่งสัญญาณออกของเซ็นเซอร์ วงจรขายาสัญญาณสำหรับเซ็นเซอร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันสัญญาณรบกวนหลักการของอุปกรณ์กระตุ้นชนิดต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยกต์ใช้อุปกรณ์ตรวจจับแบบต่างๆและตัวกระตุ้นได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าใจหลักการและคุณสมบัติของอุปกรณ์ตรวจจับแบบต่างๆ การเลือกใช้เซ็นเซอร์อย่างเหมาะสม ร่วมกับการเข้าใจระบบควบคุมการปรับสภาพสัญญาณของเซ็นเซอร์ วงจรส่งสัญญาณออกของเซ็นเซอร์ วงจรขายาสัญญาณสำหรับเซ็นเซอร์ การป้องกันสัญญาณรบกวนหลักการของอุปกรณ์กระตุ้นชนิดต่างๆ ตลอดจนสามารถทำการวางแผนในการเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมสำหรับการใช้งานทางด้านอุตสาหกรรมให้เกิดความสะดวกและปลอดภัย
ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับหลักการและคุณสมบัติของอุปกรณ์ตรวจจับแบบต่างๆ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับตำแหน่ง แสง อุณหภูมิ แรงดัน ความเครียด อัตราการไหล และปฎิกิริยาทางเคมี การสื่อสัญญาณและการประมวลผลระหว่างเซ็นเซอร์และตัวควบคุม การเลือกใช้เซ็นเซอร์ให้เหมาะสมกับระบบควบคุมการปรับสภาพสัญญาณของเซ็นเซอร์ วงจรส่งสัญญาณออกของเซ็นเซอร์ วงจรขายาสัญญาณสำหรับเซ็นเซอร์ และการประยุกต์ใช้งาน
 จำนวน  3  ชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคลจำนวน  1-2  ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยใช้ระบบออนไลน์แบบ ไลน์ E-mail Team  Messenger โทรศัพท์ ที่เป็นวิธีการสื่อสารให้นักศึกษาได้ทราบกำหนดเวลาล่วงหน้า
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต    1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ ขององค์กรและสังคม    1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตามลําดับความสําคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพใน คุณค่าและ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์    1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม    1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบ วิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ร่วมชั้นเรียน                      สร้างแนวปฏิบัติ เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัย เช่น  การตรงต่อเวลา  การแต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกําหนด ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม    1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริม หลักสูตร   1.3.3 ปริมาณการกระทําทุจริตในการสอบ     1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 
มีความรู้ตามหลักการทฤษฎีคุณสมบัติของอุปกรณ์ตรวจจับแบบต่างๆ สามารถทำการวางแผนในการจัดการอุปกรณ์ซ็นเซอร์ตรวจจับและอุปกรณ์กระตุ้นชนิดต่างๆได้อย่างเหมาะสมฃ มีความรู้ความเข้าใจในด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานการหลักการและคุณสมบัติของอุปกรณ์ตรวจจับแบบต่างๆ มีความรู้ในวิธีการและการใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมในการทำงาน สามารถบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมเช่นโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นต้น
สอนโดยใช้ระบบทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ผ่านสื่อการนำเสนอแบบโปรแกรมนำเสนอ และการใช้ตำราในการศึกษาความรู้ จัดการสอนในหลากหลายรูปแบบ  โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี  เช่น การบรรยาย การอภิปราย การสาธิต การจัดทำรายงาน การใช้ปัญหาเป็นฐาน การโปรแกรมสำเร็จรูปอย่างง่าย (Excel)   เป็นต้น 
2.3.1 การทดสอบย่อย    2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน  
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทํา    2.3.4 ประเมินจากโครงการที่นําเสนอ   2.3.5 ประเมินจากการนําเสนอรายงานในชั้นเรียน  
สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถรวบรวม ศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและหาแนวทางแก้ไข สามารถคิด  วิเคราะห์   และแก้ไขปัญหาด้านการเซ็นเซอร์และตัวกระตุ้นได้อย่างมีระบบ  รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง  เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 กรณีศึกษาทางการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.2.2 การอภิปรายกลุ่ม    3.2.3 ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง 
ประเมินทักษะกระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน โดยใช้กรณีศึกษา ประเมินจากผลงานการศึกษาค้นคว้าและการวิเคราะห์ วิจารณ์ อย่างเป็นระบบ เช่น รายงานการค้นคว้าอิสระ รายงานการอภิปรายกลุ่ม เป็นต้น
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ใน ประเด็นที่เหมาะสม    4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและ ส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ใน กลุ่มทั้งในบทบาทผู้นําและผู้ร่วมทีมทํางาน    4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้อง กับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง    4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคล และงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ    4.1.5 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสํานึกความรับผิดชอบด้าน ความปลอดภัยในการทํางาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม    
4.2.1 สามารถทํางานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี    4.2.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย    4.2.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างด 4.2.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป    4.2.5 มีภาวะผู้นํา 
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน  และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1.1 สามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตลอดจนทักษะในการใช้ คอมพิวเตอร์ สําหรับการทํางานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี    5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์    5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ   5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้ สัญลักษณ์    5.1.5 สามารถใช้ เครื่องมือการคํานวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพใน สาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ 
จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  และการสื่อสารหลากหลายรูปแบบและวิธีการ จัดการเรียนรู้ด้านสถิติ  สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและฝึกแก้ไขปัญหาโจทย์ที่ต้องใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์หรือสถิติ
ประเมินจากเทคนิคการวิเคราะห์และการใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์และสถิติในการแก้ไขปัญหา ประเมินทักษะการฟัง  พูด  อ่าน  เขียน โดยใช้แบบทดสอบ  แบบสังเกต  เป็นต้น ประเมินการนำเสนอรายงานด้วยสื่อเทคโนโลยี
6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ
6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6.1.3 มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง
6.2.1 ให้นักศึกษาได้ทดลองมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากทางทฤษฎีที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยดังข้อต่อไปนี้
6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการทางด้านพื้นฐานทางวิศวกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.3 ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านการผลิตได้อย่างเหมาะสม
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
6.3.3 พิจารณาจากแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในโครงงานที่ได้รับมอบหมาย ในรูปแบบของรายงาน ชิ้นงาน และสื่อต่าง  แก้ไข
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 4 3 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGMC510 อุปกรณ์ตรวจจับและตัวกระตุ้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1,1.1.2,1.1.3,1.1.4,3.1.1,3.1.2,3.1.3 การเข้าชั้นเรียน การส่งใบงาน รายงาน นำเสนองาน ตลอดภาคการเรียน 10%
2 ด้านความรู้ และ ทักษะ ทางปัญญา 2.1.1,2.1.2,3.1.1,3.1.2 สอบกลางภาค/ปลายภาค 8 / 17 30% / 35%
3 ด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความ รับผิดชอบ และทักษะ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้ เทคโนโลยี ประเมินจากคะแนนจากงานที่ ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 25%
• เอกสารประกอบการสอนเซ็นเซอร์และตัวกระตุ้น
• ตัวควบคุมซีเควนซ ์หลักการทำงาน และการประยุกต์ เขียนโดย รศ.กฤษฎา วิศวธีรานนท
•โปรแกรมเมเบิล คอนโทรลเลอรเทคนิค และการใชงานเบื้องตน เขียนโดย สุพรรณ กุลพาณิชย
•เซนเซอร์และทรานสดิวเซอร์ในงานอุตสาหกรรม เขียนโดย รศ.วิศรุต ศรีรัตนะ
• เอกสารอื่น ๆ
สื่อประกอบการสอนอิเล็กทรอนิกส์ วิชา อุปกรณ์ตรวจจับและตัวกระตุ้น
 • เอกสารประกอบการสอนเซ็นเซอร์และตัวกระตุ้น
1. ประเมินจากการใส่ใจในการเรียน เช่น การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การซักถาม
2. การประเมินจากใบงานในแต่ละบทการเรียน 3. การประเมินในส่วนของการทดสอบกลางภาคและปลายภาค
1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียน 2. การสอบกลางภาคและปลายภาค 3. ประเมินจากรายงานกลุ่ม  และการนำเสนองานกลุ่ม
1. อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงวิธีการสอน  จากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา  แล้วจัดทำแฟ้มสะสมงานรายวิชาและรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา  (มคอ.05) ต่อวิชาการ 2. นำเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ภาควิชาเพื่อประชุมสรุปร่วมกัน และกำหนด แนวทางแก้ไขต่อไป  แก้ไข
ทำการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการประเมินคุณภาพของข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน และงานที่มอบหมาย เพื่อนำมาทบทวนให้สอดคล้องตาม มคอ.2
จากผลการประเมิน  และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา   ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน  และรายละเอียดเนื้อหาวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น