ชีวเคมีสำหรับวิศวกร

Biochemistry for Engineering

๑. มีความรู้ความเข้าใจ สามารถอธิบายหลักการเบื้องต้นของชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรและวิศวกรรมเกษตรได้
๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการทำงานได้
๓. มีจิตสำนึกที่ดีและมีคุณธรรมในการนำความรู้จากการเรียนการสอนในรายวิชาไปใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างซื่อสัตย์ ถูกต้องเหมาะสม
มีการปรับปรุงเนื้อหาในรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อให้มีความสมบูรณ์และเป็นปัจจุบันมากที่สุด โดยยังคงหลักการที่มีความสำคัญต่อรายวิชาไว้ สอดแทรก/ค้นหาข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ๆ จากงานวิจัยเข้ามาประกอบการสอน
ศึกษาและปฏิบัติในหัวข้อพื้นฐานและหลักการทางชีวเคมีที่จาเป็นสาหรับวิศวกรศึกษาเรื่องสิ่งมีชีวิต โครงสร้างของเซลล์ คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของสารชีวโมเลกุล (คาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน และ กรดนิวคลีอิก)หน้าที่และบทบาทของความเป็นกรด-ด่างในสารละลายหน้าที่ของโปรตีนและเอนไซม์ พื้นฐานของการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์การ
ผลิตสารชีวโมเลกุลไปใช้ในอุตสาหกรรมความรู้เบื้องต้นของกระบวนการเมทาบอลิซึ่มในเซลล์และพลังงานระดับเซลล์สารพันธุกรรม การควบคุมการแสดงออกของจีนพันธุวิศวกรรมและการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม
Study and practice on foundation and principle of biochemistry essential for engineer, study of living organism, cell and cell structure, physical and chemical properties of biomolecules (carbohydrates, proteins, lipids and nucleic acids), protein and enzyme functions, foundation of microbiology, biomolecule production in industries, principle of cell metabolism and cell energy, genetic material (DNA), regulation of gene expression, genetic engineering and its application in industries.
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการอย่างน้อย ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และนักศึกษาอาจจะมีการติดต่อกับอาจารย์โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร
             พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น  และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม โดยมีคุณธรรมจริยาธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

มีจิตสานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางด้านคุณธรรมจริยธรรม ที่เกี่ยวข้องชีวเคมีสำหรับวิศวกร จรรยาบรรณของการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษารักในอาชีพการเป็นวิศวกร และดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทางาน (Work-Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชา การอภิปรายกลุ่ม
พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องเหมาะสม ประเมินผลจาการทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาค ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย พฤติกรรมความตั้งใจในการเรียน การทำข้อสอบ ความตรงต่อเวลา การทำปฏิบัติการและรายงานผล      การปฏิบัติการ ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
      ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องการทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้สามารถทำ ได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลในรายวิชาที่เรียนทั้งการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดระยะเวลาของหลักสูตร
                 ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการลงมือปฏิบัติ หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้ เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชา
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การวัดผล ดังนี้
(๑) การทดสอบย่อย
(๒) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(๓) รายงานที่นักศึกษาจัดทำ
(๔) งานที่ได้มอบหมาย
(๕) การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
                นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญา พร้อมกับคุณธรรม และจริยธรรม โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหาแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
                (๑) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
                (๒) มีทักษะในการนำ ความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
               การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆโดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
                ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
               (๑) บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
               (๒) การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่างๆ
               (๓) การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
               (๔) การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
การทำงานเป็นกลุ่มและรับผิดชอบร่วมกัน
มอบหมายงานให้ทำงานเป็นกลุ่ม
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
ใช้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลและจัดการข้อมูล ความสามารถในการใช้คณิตศาสตร์ หรือ สถิติเพื่อการวิเคราะห์และจัดการข้อมูล
มอบหมายงานที่ต้องสืบค้น จัดการ และนำเสนอข้อมูล
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
              เน้นให้มีการปฏิบัติการเพื่อสร้างทักษะในการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา โดยมุ่งเน้น ให้มีการ วางแผน ออกแบบ ทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสาคัญมากในการทำงานและเป็นการเพิ่มพูนความรู้ทางด้านทักษะให้กับนักศึกษาด้วย
             (1) มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             (2) มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
             (๑) สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
             (๒) สาธิตการปฏิบัติการโดยอาจารย์/ผู้เชี่ยวชาญ
             (๓) สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรม กับหน่วยงานภายในและภายนอก
             (๔) สนับสนุนการทำโครงงาน
            (๑) มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
            (๒) มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
            (๓) มีการประเมินผลการทางานในภาคปฏิบัติ
            (๔) มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
1 ENGAG105 ชีวเคมีสำหรับวิศวกร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ๙ ๑๘ ๓๐% ๔๐%
2 2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา ๒๐%
3 3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา ๑๐%
Fields, M.L.  1977.  Laboratory Manual in Food Preservation.  AVI Publishing Co. Inc. Connecticut Frazier, W.C.  1986.  Food Microbiology.  McGraw-Hill Publishing Co. NY.

Birch, G.C., Cameron, A.G. and M. Spenser.  1977.  Food Science.  Pergamon Press. NY
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นของนักศึกษาได้ดังนี้

 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

 ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา

ผลการเรียนของนักศึกษา (การสอบกลางภาคและปลายภาค)
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้

ประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา สรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษา โดยดูจากแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อปรับพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ ปรับปรุงกลยุทธ์การสอนให้เหมาะแก่กลุ่มนักศึกษา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจแบบฝึกหัด เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุกๆ ๓ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔ ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลาย ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้มีความน่าสนใจ มีการเลือกใช้สื่อที่ทันสมัย นำข้อคิดเห็นจากการประเมิน โดยนักศึกษามาประมวลผล เพื่อจัดเนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม ผลจากการประมวลจะถูกนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป

ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้ตรงกับการทำงานจริง โดยให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพในอนาคตได้