การจัดการความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

Creative and Innovation Management

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ วิวัฒนาการของเทคโนโลยี สภาวะแวดล้อมของอุตสาหกรรม และความสามารถด้านเทคโนโลยีขององค์กร องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงวิเคราะห์ในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร และมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสำหรับองค์กรและการจัดหาแหล่งเทคโนโลยี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน การสร้างรูปแบบใหม่ทางการจัดการ การพัฒนาความสามารถในการออกแบบสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติ การบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางธุรกิจที่สอดคล้องกับของบริบทธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกาษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ วิวัฒนาการของเทคโนโลยี สภาวะแวดล้อมของอุตสาหกรรม และความสามารถด้านเทคโนโลยีขององค์กร องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงวิเคราะห์ในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร และความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสำหรับองค์กรและการจัดหาแหล่งเทคโนโลยี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน การสร้างรูปแบบใหม่ทางการจัดการ การพัฒนาความสามารถในการออกแบบสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติ การบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางธุรกิจที่สอดคล้องกับของบริบทธุรกิจ
ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยี สภาวะแวดล้อมของอุตสาหกรรม และความสามารถด้านเทคโนโลยีขององค์กร องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงวิเคราะห์ในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสำหรับองค์กรและการจัดหาแหล่งเทคโนโลยี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน การสร้างรูปแบบใหม่ทางการจัดการ การพัฒนาความสามารถในการออกแบบสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติ การบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางธุรกิจที่สอดคล้องกับของบริบทธุรกิจ
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สอนเสริมเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม)
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
2. มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
3. กำหนดการทำงานร่วมกัน อาทิ งานเดี่ยว งานคู่ งานกลุ่ม รวมถึงเน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็นทั้งภายในกลุ่มและภายในชั้นเรียน
1. การเข้าร่วมกิจกรรมของรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมทั้งต่อสังคมและต่อวิชาชีพ
2. การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่กำหนด
3. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานร่วมกัน เช่น การทำงานคู่ การทำงานกลุ่ม เป็นต้น รวมถึงการมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
3.มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
1. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน จัดทำรายงานหรือโครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
3.  การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงานการทดสอบย่อย การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
1. การศึกษาค้นคว้าข้อมูลทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือ อาทิ รายงานทางเอกสาร วีดีโอออนไลน์ (Online) เป็น และรายงานหน้าชั้นเรียน
2. การมอบหมายงาน การคิดค้นสิ่งใหม่เชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาหรือแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
3. การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1. ประเมินจากการทดสอบเชิงฝึกปฏิบัติ โดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาคิดค้น พัฒนาหรือแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการคิดค้น พัฒนาหรือแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
2. ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า กรณีศึกษา โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน 
1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
2. มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะคิดริเริ่มและพัฒนาอย่างเป็นระบบ การแสดงความคิดเห็น การอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ เพื่อร่วมกันพัฒนาหรือแก้ปัญหาเชิงธุรกิจ
2. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ 
1. การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยนักศึกษา
2. พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี ในการทำงานเดี่ยว งานคู่ และงานกลุ่ม
3. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming) หรือการอภิปราย การทำงานที่มอบหมายในชั้นเรียน
1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์
3. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกนำข้อมูลเชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน พื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ
2. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย ผ่านการจัดทำรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. จัดให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่สำคัญ ในการนำมาใช้ริเริ่มและพัฒนาธุรกิจ รวมถึงการต่อยอดหรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
1. การมอบหมายงานเดี่ยว งานคู่ หรือทำงานกลุ่ม และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
3. การสังเกตพฤติกรรมและความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสาร ของนักศึกษา จากการถาม-ตอบในชั้นเรียน หรือการทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติในชั้นเรียน และการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
1. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล
1. สอนเชิงบรรยายภายในชั้นเรียน
2.จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติภายในชั้นเรียน การคิดค้น/ริ่เริมอย่างสร้างสรรค์ การคิด พัฒนา หรือแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ทั้งในชีวิตประจำวันและเชิงธุรกิจ 
3. มอบหมายงานคู่หรืองานกลุ่ม และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1. การสอบกลางภาค-ปลายภาคการศึกษา
2. งานที่ได้รับมอบหมายและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในชั้นเรียน จากการคิดริ่เริ่มสิ่งใหม่/นวัตกรรม อย่างสร้างสรรค์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 4 4
1 BBABA256 การจัดการความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1, 2.1.2, 3.1.2, 3.1.3, 2.1.4 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 8 สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 17 สอบกลางภาค 20% สอบปลายภาค 20%
2 1.1.1, 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2, 3.1.3, 4.1.1, 4.1.2, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.4, 6.1.4 แบบฝึกหัด (เดี่ยว/ คู่/ กลุ่ม) กรณีศึกษา (เดี่ยว, กลุ่ม) การฝึกปฏิบัติและทดสอบย่อยในชั้นเรียน งานที่ได้รับมอบหมาย การจัดทำรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 50%
3 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ          
1.2 การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ          
1.3 การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ ดังนี้           2.1 การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ           2.2 การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้           3.1 การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้           4.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา           4.2 การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)           4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ           4.4 การประเมินข้อสอบ การปฏิบัติงานในชั้นเรียน การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้           5.1 รายงานผลการทวนสอบสัมฤทธิ์รายวิชา ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา           5.2 นำผลการทวนสอบสัมฤทธิ์รายวิชา ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน           5.3 นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร