การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

Analysis and Design for Business Information System

1) เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาระบบงานสารสนเทศ 2) เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการ การวิเคราะห์ความต้องการของงานธุรกิจในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ 3) เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะในการวิเคราะห์ความต้องการของงานธุรกิจ และสามารถออกแบบระบบงานสารสนเทศ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ซึ่งใช้ระเบียบวิธี (Methodology) วิธีการ (Method) และเครื่องมือ (Tool) ที่เป็นมาตรฐานและทันสมัย
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ วงจรการพัฒนาระบบ ระเบียบวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ การวางแผนและการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบ การวิเคราะห์และกำหนดความต้องการของระบบ การออกแบบระบบด้วยแบบจำลองกระบวนการและแบบจำลองข้อมูล การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการออกแบบส่วนแสดงผลและส่วนนำเข้าข้อมูล การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ การออกแบบการพัฒนาระบบ การออกแบบการทดสอบระบบ การนำระบบไปใช้งานและการบำรุงรักษา
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1)มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 2)เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 3)เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1) ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2) กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
1) การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2) การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
3) การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1) สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
2) สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด
3) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
4) รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
1) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อน ร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
3) ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
4) การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
1) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2) ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง
3) ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
4) ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
5) ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
6) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
1) คิดอย่างมีวิจารณญานและอย่างเป็นระบบ
2) สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
1) กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผน การทำงานเป็นทีม
2) การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
3) การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
1) ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
2) ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
3) ประเมินจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
1) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
2) มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบในงานกลุ่ม
3) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
1) จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
2) จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
3) มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
 
1) พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
2) การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
3) พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
4) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
5) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
1) มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
2) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
 
1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2) จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
3) มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1) ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2) ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BBAIS925 การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2, 2.3, 2.4, 2.5 3.1, 3.2 การทดสอบกลางภาค, ปลายภาค 9, 17 60%
2 1.3, 1.4, 1.5 2.2, 2.3, 2.4, 2.5 3.1, 3.2 4.2, 4.4, 4.5 5.1, 5.3 ผลงานของนักศึกษา แบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.3, 1.4, 1.5 2.2, 2.3, 2.4, 2.5 3.1, 3.2 4.2, 4.4, 4.5 5.1, 5.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 1.3, 1.4, 1.5 2.2, 2.3, 2.4, 2.5 3.1, 3.2 4.2, 4.4, 4.5 5.1, 5.3 นำเสนอผลงานด้วยวาจา โครงงานระบบสารสนเทศทางธุรกิจ 16 20%
เอกสารประกอบการสอน วิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
-   กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และพนิดา พานิชกุล, การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analysis and Design) พิมพ์ครั้งที่ 7, เคทีพีบุค:กรุงเทพฯ, 2551.
-   อรยา ปรีชาพานิช, การวิเคราะห์และออกแบบระบบ : System Analysis and Design : ฉบับสมบูรณ์, ไอดีซี พรีเมียร์, บจก, 2557.
-   รัชนี  กัลยาวินัย, การวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่(ฉบับปรับปรุง)
-   เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
1.3 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.4 ข้อเสนอแนะผ่านกลุ่มวิชา Microsoft Teams ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการ
ระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 การอภิปรายกลุ่ม และการประเมินผลงานจากกลุ่มผู้เรียน
3.2 การวิเคราะห์ออกแบบระบบร่วมกับผู้ใช้ระบบงาน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก
การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผล
การ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา
โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ