การประมาณและวิเคราะห์ราคางานก่อสร้าง

Construction Cost Estimation and Analysis

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุ เครื่องมือการก่อสร้าง วิเคราะห์ผลผลิตงานก่อสร้าง การถอดปริมาณวัสดุ การวิเคราะห์ราคาค่าแรงและค่าเครื่องจักร กลยุทธ์ในการประมูล หลักการควบคุมราคาการก่อสร้าง การวิเคราะห์แนวโน้มและการคาดการณ์ค่าใช้จ่าย
เพื่อพัฒนารายวิชาให้เหมาะสมต่อชั่วโมงสอน และระดับการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยครอบคลุมเนื้อหาในคำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับวัสดุ เครื่องมือการก่อสร้าง วิเคราะห์ผลผลิตงานก่อสร้าง การถอดปริมาณวัสดุ การวิเคราะห์ราคาค่าแรงและค่าเครื่องจักร กลยุทธ์ในการประมูล หลักการควบคุมราคาการก่อสร้าง การวิเคราะห์แนวโน้มและการคาดการณ์ค่าใช้จ่าย
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) และใช้การสื่อสารต่างๆ เช่น การนัดพบ ทางสื่อสังคมออนไลน์เช่น Messenger, Line, Teams, E-mail หรือโทรศัพท์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ในการประมาณและวิเคราะห์ราคางานก่อสร้าง อย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
- ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
- มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการประมาณและวิเคราะห์ราคางานก่อสร้างต่อบุคคล องค์กรและสังคม
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- ชี้แจงกติกาการเข้าชั้นเรียน การประเมินผล และการปรับตกหากทุจริตในการสอบ
- กำหนดวันและเวลาในการส่งรายงาน
- บรรยายในชั้นเรียนจำนวน 45 ชั่วโมง โดยใช้เวลาในการสอนแต่ละบทดังแผนการสอน
- ประเมินความรู้ทางวิชาการโดยจัดสอบอย่างน้อย 2 ครั้งต่อภาคการศึกษา
- พฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา
- ประเมินผลของรายงานและการนำเสนอผลการศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาต้องได้รับความรู้ทางด้านวัสดุ เครื่องมือการก่อสร้าง วิเคราะห์ผลผลิตงานก่อสร้าง การถอดปริมาณวัสดุ การวิเคราะห์ราคาค่าแรงและค่าเครื่องจักร กลยุทธ์ในการประมูล หลักการควบคุมราคาการก่อสร้าง การวิเคราะห์แนวโน้มและการคาดการณ์ค่าใช้จ่าย การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การก่อสร้าง และสามาถนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในงานจริงได้
- ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสมมุติเหตุการณ์การประมาณราคาแบบบ้านจริง
- กำหนดงานประมาณและวิเคราะห์ราคางานก่อสร้างแบบบ้านพักอาศัย 2 ชั้น
- จัดทำเป็นรายงาน  และนำเสนอรายงานผลการศึกษา
- สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฎี และการประยุกต์    ใช้งาน
- ประเมินจากรายงาน และการเสนอรายงาน
- การทำแบบฝึกหัด
- การเข้าห้องเรียน
พัฒนาการคิดวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์และอภิปรายการประยุกต์ใช้หลักการทางทฤษฎีในการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ
บรรยายในชั้นเรียน เพื่ออธิบายให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุ เครื่องมือการก่อสร้าง วิเคราะห์ผลผลิตงานก่อสร้าง การถอดปริมาณวัสดุ การวิเคราะห์ราคาค่าแรงและค่าเครื่องจักร กลยุทธ์ในการประมูล หลักการควบคุมราคาการก่อสร้าง การวิเคราะห์แนวโน้มและการคาดการณ์ค่าใช้จ่าย การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์การก่อสร้าง
ประเมินจากการสอบ การทำรายงาน  การเสนอรายงาน และการแสดงความคิดเห็นในการอภิปรายในชั้นเรียน
- พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
- พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
- มีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งรายบุคคลและงานกลุ่ม
- สามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานภาพ
- วางตัวและร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
- การอภิปรายในชั้นเรียน
- มอบหมายงานให้ทำ และการทำรายงาน
 
- สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- การประเมินผลการส่งงาน ตรงต่อเวลา และมีเนื้อหาครบถ้วนตามที่ได้รับมอบหมาย
- ทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข
- ทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน โดยการทำรายงาน
- ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำรายงาน
- ทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
- ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางอีเมล์
- ใช้PowerPoint ที่น่าสนใจ ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอนในชั้นเรียน
- การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
- การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
- ประเมินทักษะการคำนวณจากเอกสาร และการสอบต่างๆ
- ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
- ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ
สอนด้วยการบรรยายในชั้นเรียนและให้แบบฝึกหัดและทำกรณีศึกษา (Case study)
สอบปลายภาคและประเมินผลจากแบบฝึกหัดและการทำกรณีศึกษา (Case study)
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 – 1.10 และ 2.1 – 2.2 สอบกลางภาค 9 30%
2 2.2 การส่งงานตามที่มอบหมาย 2 - 12 20%
3 1.1 – 1.10 , 2.1 – 2.2 , 3.1-3.2,4.1-4.2,5.1-5.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 1 -8 10-16 10%
4 2.2 , 3.2, 4.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน 16 10%
5 2.2 , 3.1-3.2 ,4.1-4.2,5.1-5.2 สอบปลายภาค 17 30%
สัญญา ข้อกำหนด และการประมาณราคาก่อสร้าง. วิสูตร จิระดำเกิง. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยรังสิต, พิมพ์ครั้งที่ 5, 2546.
สัญญา ข้อกำหนด และการประมาณราคาก่อสร้าง. วิสูตร จิระดำเกิง. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยรังสิต, พิมพ์ครั้งที่ 5, 2546. วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ, สันติ ชินานุวัติวงศ์. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา. คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2546. การประมาณราคางานก่อสร้าง. พิภพ สุนทรสมัย รศ. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). ดวงกมลสมัย, 2543. รวมข้อมูลการก่อสร้าง. นรมิตร ลิ่วธนมงคล. กทม.:รุ่งแสงการพิมพ์, 2538. การประมูลและควบคุมต้นทุน. ปริญญา ศุภศรี. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพลส,2547. กลยุทธ์การวิเคราะห์ราคางานก่อสร้าง. ปริญญา ศุภศรี. กรุงเทพฯ: คณะบุคคล ปริญญา ศุภศรี และรักษพงศ์ นพวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2548. คู่มือประมาณราคา (Cost Estimation Handbook). วิสูตร จิระดำเกิง. กรุงเทพฯ : วรรณกวี, 2550. อุทัย อนันต์ “ประมาณราคาก่อสร้าง” เทคนิคกรุงเทพ.วิทยาเขต.  ราชมงคลสถาบันเทคโนโลยี. :กรุงเทพ วินิต ช่อวิเชียร , วิสุทธ์ ช่อวิเชียร “ประมาณราคาก่อสร้าง “ภาควิชาวิศวกรรมโยธา .คณะวิศวกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์ . มหาวิทยาลัย พิภพ  สุนทรสมัย  “ประมาณราคาก่อสร้าง.”กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี  (ไทย-ญี่ปุ่น)
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ