การใช้โปรแกรมสำนักงานสมัยใหม่

Modern Office Software

1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้โปรแกรมประมวลผลคำร่วมกับงานทางธุรกิจได้ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้โปรแกรมตารางคำนวณร่วมกับงานทางธุรกิจได้
1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้โปรแกรมประมวลผลคำเพื่อทำงานทางธุรกิจได้ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้โปรแกมตารางคำนวณเพื่อทำงานทางธุรกิจได้
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการทำงานของโปรแกรมประมวลผลคำ การจัดการเอกสาร การแทรกจัดรูปแบบข้อความ การสร้างตาราง การสร้างเชิงอรรถ การแทรกและจัดรูปแบบกราฟิก จัดการการทำงานร่วมกันของเอกสาร การจัดทำเอกสารรูปแบบต่างๆ หลักการทำงานของโปรแกรมตารางคำนวณ การจัดการแผ่นงานและสมุดงาน การจัดการเซลล์และช่วงข้อมูล การจัดการตารางข้อมูล การใช้สูตรคำนวณและฟังก์ชัน การจัดการแผนภูมิ การจัดทำตารางคำนวณรูปแบบต่างๆ

Study and Practice principles of word processor operation, document management, inserting and formatting text, creating tables, creating footnotes, inserting and formatting graphics, document collaborated management, documenting variations, working principles of calculators, managing worksheets and workbooks, managing cells and data ranges, managing data tables, using calculation formulas and functions, managing charts, creating different types of spreadsheets.
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะนักศึกษารายที่ต้องการ)
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในการสอน 2. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย 3. การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและการแต่งกายให้เป็นตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 4. มอบหมายงานกลุ่มที่เสริมสร้างการวางแผนการทำงาน การทำงานเป็นทีม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม 3. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และการีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. เน้นการเรียนการสอนที่เป็น active learning 2. จัดให้มีการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติตามใบงาน 3. ฝึกทักษะการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 2. ประเมินจากผลงานการทำแบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติห้องเรียน  3. ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้า 4. ความรับผิดชอบในการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
คิดอย่างมีวิจารณญานและอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
 
1. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าทำรายงานตามหัวข้อที่กำหนดให้และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า 2. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา 3. สาธิตตัวอย่างและกรณีศึกษา
1. สอบกลางภาคและสอบปลายภาค 2. ประเมินจากงานที่มอบหมาย
สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้แนะสังคมในประเด็นที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบในงานกลุ่ม สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
 
1. จัดการเรียนการสอนที่เน้นการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย 2. สอดแทรกความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินความรรับผิดชอบตามงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานกลุ่มและรายบุคคล
มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
1. มอบหมายงานทให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ 2. นำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 2. ประเมินจากรายงานและการนำเสนอรายงานด้วยสื่อเทคโนโลยี
1. มีทักษะในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 2. สามารถใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
1. แสดงและฝึกปฏิบัติตามตัวอย่าง 2. มอบหมายงานให้นักศึกษา
พิจารณาจากงานที่มอบหมายให้นักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 3 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BBAIS823 การใช้โปรแกรมสำนักงานสมัยใหม่
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ข้อ 2 1), 2), 3), 4) ข้อ 3 1), 2), 3) สอบกลางภาค 9 20%
2 ข้อ 2 1), 2), 3), 4) ข้อ 3 1), 2), 3) สอบปลายภาค 17 20%
3 การสอบย่อย 2 ครั้ง (ครั้งล่ะ 15 คะแนน) การสอบย่อย 1-8 และ 10-16 30%
4 ส่งงาน แบบฝึกหัดท้ายในห้องเรียน หรือ การบ้าน หรือ งานกลุ่ม ทุกสัปดาห์ 20%
5 เข้าห้องเรียน เข้าห้องเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
ศานสันต์ รักแต่งาม. (2564). เอกสารประกอบการเรียนการจัดการสำนักงาน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์ มสด.
นฤมล จิตรเอื้อ. (2558). การจัดการสำนักงาน. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
-
1. การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน 2. แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา 3. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1. การสังเกตการณ์สอน 2. ผลการเรียนของนักศึกษา 3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้  
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการหาสอบถามและรวบรวมข้อมูลเพื่อการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และการให้คะแนนพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงาน
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยปรับปรุงเนื้อหาในรายวิชา หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลัมฤทธิ์ตามข้อ 4