การประลองวิศวกรรมการวัดและตรวจสอบ

Engineering Metrology Laboratory

พื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ    พื้นฐานในการวัดและการตรวจสอบขนาดงาน พร้อมทั้งฝึกทักษะในการปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดทางวิศวกรรม เพื่อนักศึกษาจะได้นำความรู้ ความสามารถไปใช้ในงานทางด้านงานวัดทางวิศวกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในการวัดและการตรวจสอบขนาดงาน สามารถสอบเทียบเครื่องมือวัด ตลอดจนการดูแลรักษาเครื่องมือวัดและวิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในงานวัดทางวิศวกรรมได้อย่างเหมาะสม
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการวัดและการตรวจสอบ การใช้เครื่องมือ
วัดทางวิศวกรรม ความผิดพลาดในการวัด ความไม่แน่นอนในการวัด  การกำหนดพิกัดความเผื่อในเชิงเรขาคณิต การประเมินผลการวัด การตรวจวัดด้วยเครื่องวัดสามแกน
การสอบเทียบเครื่องมือวัดทางมิติ และการบำรุงรักษาเครื่องมือวัด
 
อาจารย์ผู้สอนประจำวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1-2  ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 
              1.1.1 มีระเบียบ วินัย ตรงต่อเวลา มีสมาธิ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อ บังคับ ต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม               1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตาม ลำดับ ความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์               1.1.3 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์สังคม และสิ่งแวดล้อม               1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึง เข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน    
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวัดและการตรวจสอบ สอนให้นักศึกษาเป็นผู้มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลาจากการมอบหมายงาน การส่งงาน การเข้าชั้นเรียน การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม  ความมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพของวิศวกร  แก้ไข
1.3 วิธีการประเมินผล 
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2   พฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถาม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
 
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ 
2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อประยุกต์เข้ากับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2  มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ 2.1.3    สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4   สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 2.1.5   สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้  แก้ไข
สอนบรรยายและสาธิตการใช้งานเครื่องมือวัด ถาม ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียนให้ทำแบบฝึกหัด ในชั่วโมงปฏิบัติจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1  สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้ในงานวัดและการตรวจสอบขนาดงาน 2.3.2  ประเมินจากการปฏิบัติงานตามใบงาน และงานที่ได้รับมอบหมาย
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา 
3.1.1  มีแนวความคิดอย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2  สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.3  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ  แก้ไข
3.2 วิธีการสอน 
3.2.1   การมอบหมายงานวัดและตรวจสอบขนาดงานจากใบงานและชิ้นงานจริง 3.2.2   มอบหมายงานให้นักศึกษาไปทำเพิ่มจากใบงานและให้หาข้อมูลประกอบรายงาน 
3.3 วิธีการประเมินผล 
3.3.1   สอบกลางภาค สอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่วัดความรู้ในหลักการในการวัดขนาดงานและสอบเทียบเครื่องมือวัด 3.3.2   ประเมินจากการทำใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษา ต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพ มาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม  4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง  4.1.3 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ  4.1.4  มีจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2 วิธีการสอน 
4.2.1 ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล 4.2.2 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.3 วิธีการประเมินผล 
สังเกตพฤติกรรมการทำงาน ความรับผิดชอบในการทำงาน การดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวัดละเอียด อุปกรณ์ในห้องเรียนและความตรงต่อเวลาในการส่งงาน
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.1.3 ฝึกให้นักศึกษาใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานวัดละเอียด และสืบค้นข้อมูล ได้อย่างทันสมัยและเหมาะสม 
5.2 วิธีการสอน 
5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ  web site สื่อการสอน ต่าง ๆ 5.2.2  มอบหมายงานที่ใช้การคิดคำนวณ เชิงตัวเลข จากใบงาน  แก้ไข
5.3 วิธีการประเมินผล 
5.3.1  ประเมินจากรายงาน สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นวัดความรู้ในงานวัดละเอียด   5.3.2  ประเมินจากใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
6. ด้านทักษะพิสัย 6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย 
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา สำหรับ เครื่องมือ อุปกรณ์ การบำรุงรักษาและวิธีการ ได้อย่างถูกวิธีมีประสิทธิภาพ
6.2 วิธีการสอน 
6.2.1 ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
6.3 วิธีการประเมินผล 
6.3.1  สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน  6.3.2  ประเมินจากการวัดขนาดงานตามใบงานปฏิบัติและงานที่ได้รับมอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 เข้าใจในกระบวนการวัดการตรวจสอบ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน 6 10
2 สามารถใช้งานเครื่องมือวัดละเอียด ปฏิบัติการใช้งานเครื่องมือวัด ทุกสัปดาหืที่มีการเรียนการสอน 60
แบบประเมินอาจารย์ผู้สอนและแบบประเมินนักศึกษา
การสังเกตจากการเรียนการสอน ผลการสอบ
นำผลการเรียน นศ มาประเมินเพิ่มปรับปรุงการสอน
๑ การประเมินผลการเรียนของนักศึกษาโดยออกระดับผลการเรียนให้กับนักศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
๒ รายงานผลการเรียนต่อฝ่ายทะเบียนและวัดผล
ปรับปรุงแนวการสอนจากผลการเมินของนักศึกษาทุกๆ ปี