วัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Cultural and Creative Economy

1.  เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปของวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
      2.  เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมท้องถิ่น ทุนทางวัฒนธรรม
      3.  เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าทางศิลปะวัฒนธรรม มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา 
      4.  เพื่อให้เข้าใจความสำคัญ ประเภท องค์ประกอบของเศรษฐกิจและนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
      5.  เพื่อให้เข้าใจการสร้างสรรค์สินค้าทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในชุมชน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน และเพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสามารถดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งให้มีความทันสมัยอยู่ตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคม  เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
ศึกษาเกี่ยวกับ ความรู้ และพัฒนาการของวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมท้องถิ่น ทุนทางวัฒนธรรม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย ความหมาย ความสําคัญ ประเภท องค์ประกอบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ของไทย ต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ วัฒนธรรมไทยกับการขับเคลื่อน เศรษฐกิจสร้างสรรค์
ให้นักศึกษาติดต่อโดยตรง ติดต่อผ่านทาง e-mail  เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ  โดยเฉลี่ย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนเข้าใจถึงวัฒนธรรม ศิลปะ ทุนทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจชุมชน และภูมิปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตน  บนพื้นฐานของทางสายกลางโดยคำนึงถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนใช้ความรู้  ความรอบคอบ  และคุณธรรมประกอบการวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน อีกทั้งเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงสภาพปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน  และทราบถึงวิธีการปรับตัวเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน  และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
วิธีการสอน 
             -  บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรม รากเหง้าทางวัฒนธรรมของนักศึกษา
             -  อภิปรายกลุ่มเรื่องโครงการ OTOP สร้างสร้ายได้ในชุมชน
          -  อภิปรายกลุ่มเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ในรูปแบบบุคคลและกลุ่มในชุมชน โดยให้ผู้เรียนยกกรณีตัวอย่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนของตนเอง หรือชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร สินค้าทางภูมิปัญญา  โดยให้ผู้เรียนวิเคราะห์ความแตกต่างในชุมชนความได้เปรียบเสียเปรียบของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์
             -  แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ และลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และจัดแสดงนิทรรศการสินค้าOTOPที่ตนเองไปศึกษามาเพื่อเผยแพร่ผลงานที่ได้ลงพื้นที่ศึกษารวมถึงการได้รับประสบการณ์และองค์ความรู้ในด้านต่างๆ
             -  ดำเนินการทำการวิจัยในชั้นเรียน และการวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่หลากหลายในชุมชนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ และเพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
              -  ใช้สื่อการสอน เช่น power-point, clip วีดีโอ , วีดีทัศน์ , โฆษณา, สารคดี และอื่น ๆ
              - การบรรยายประกอบสื่อการสอน ผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Teams) และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนออนไลน์
   
             -   การเข้าชั้นเรียน
             -   ส่งงานตามที่กำหนด
             -   การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
             -   ประเมินผลจากการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชุมชน   
             -   ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายหน้าชั้นเรียน โดยใช้สื่อที่เหมาะสม เช่นโปรแกรม Power point วีดีทัศน์ และอื่น ๆ
              -  ประเมินจากคะแนนสอบกลางภาคและปลายภาค
            -  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
            -  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
            -  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
            -  มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญา 
            -  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในระดับต่างๆ
            -  ตระหนักและเห็นความสำคัญของวัฒนธรรม ศิลปะ ทุนทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม โดยการปฏิบัติจริง ฝึกการคิดและวิเคราะห์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องติดตามข่าวสาร ความรู้ต่างๆจากสื่อ  โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning) การบรรยายประกอบสื่อการสอน ผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Teams) และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนออนไลน์
1.ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี และการประยุกต์ใช้
2.ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
            -  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
            -  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
              การสอนวิชาวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจและสามารถเป็นแนวทางการส่งเสริมและรักษามรดกทางวัฒนธรรม บนพื้นฐานของทางสายกลางโดยคำนึงถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  ตลอดจนใช้ความรู้  และคุณธรรม  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อการคิดและตัดสินใจ  ที่ดีและถูกต้อง สามารถอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคมได้    และเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          - การบรรยายประกอบสื่อการสอน ในชั้นเรียนและผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Teams) และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนออนไลน์ (หากเกิดโรคระบาดร้ายแรง)
        - ให้นักศึกษาทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ในการลงไปศึกษาในสถานที่จริงแล้วถอดบทเรียนและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point และเล่มรายงาน
          - ให้นักศึกษาดู Clip แล้วร่วมวิพากษ์วิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์
          - มอบหมายงานและส่งงานผ่านโปรแกรม Google Classroom
            -  การมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานตรงเวลาที่กำหนด
            -  รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน            
            -  สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
             -  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
             -  พัฒนาทักษะการพึ่งพาตนเอง  การมีน้ำใจต่อผู้อื่นในสังคม  และการเคารพสิทธิของผู้อื่น
             -  พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม              -  พัฒนาคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพ  ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
            -  จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม ในชั้นเรียนและแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Microsoft Teams (หากมีความจำเป็น)
            -  กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
               -  ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุป เพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม 
               -  ให้นักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ
               -  อาจารย์ประเมินตามรูปแบบการนำเสนองานของนักศึกษา
               -  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
               -  แบบฝึกหัด
            -  พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูลจาก Website
            -  พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สื่อจาก Internet
             -  ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD, วีดีทัศน์, เทปเสียง  และสารคดี
             -  การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point และ/หรือ Clip
             -  ศึกษาดูงานในพื้นที่ประสบผลสำเร็จ แล้วนำมาวิเคราะห์
-  ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน
- สามารถปฎิบัติจริงได้จากการลงไปศึกษาเรียนรู้ในสถานที่จริง
- สามารถนำมาสาธิตในห้องเรียนได้
- สามารถนำเสนอพร้อมสาธิตวิธีการขั้นตอนได้
- มอบหมายงานให้รับผิดชอบ ศึกษา ค้นคว้า เรียนรู้ในสถานที่จริง
- นำผลการเรียนรู้มานำเสนอหน้าชั้นเรียน
- ผลงานที่ได้
- ผลการปฎิบัติงานที่ได้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค สอบกลางภาค 8 30
2 สอบปลายภาค สอบปลายภาค 16 30
3 การนำเสนองานในชั่วโมงเรียน/กิจกรรมในชั้นเรียน การนำเสนองานในชั่วโมงเรียน/กิจกรรมในชั้นเรียน 2-15 15
4 การศึกษาเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ชุมชน คนละ 1 ชิ้น นำเสนอผลงานพร้อมสาธิต 15 15
5 จิตพิสัย/การเข้าเรียน/การเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ สังเกต 2-15 10
1.1.  หนังสือขุมทรัพย์ทางวัฒนธรรม สู่การเพิ่มมูลค่าบนเส้นทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์  จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) 2562
 1.2.  เอกสารประกอบการสอนวิชาวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เรียบเรียงโดย อ.ภีราวิชญ์ ชัยมาลา สาขาศิลปศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
            - หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
            - หนังสือเครือข่ายชุมชนวัฒนธรรม เพื่อสืบสานต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยกลุ่มส่งเสริมเครือข่ายท้องถิ่นและชุมชน สำนักพิมพ์กิจการโรงพิมพ์ องค์การส่งเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปภัมภ์ พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ  2564.
           -  หนังสือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2562  กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพฯ:2562
          -  สมพร เทพสิทธา. การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนและแนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทของศาสนาและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมชายการพิมพ์,2550.  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัย
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
            4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
            4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
            5.1   วิชาวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
            5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ
           5.3 มีโครงการในรายวิชาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้นักศึกษาได้องค์ความรู้จากการลงพื้นที่จริง