คณิตศาสตร์พื้นฐาน

Fundamental Mathematics

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์  เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนท์  ฟังก์ชันชี้กำลัง ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันตรีโกณมิติ  ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน อนุพันธ์ของฟังก์ชันและการประยุกต์
 เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้คณิตศาสตร์เพียงพอและเป็นปัจจุบัน เพื่อที่จะไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ ตลอดจนมีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน 
ศึกษาเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์  เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนท์  ฟังก์ชันชี้กำลัง ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันตรีโกณมิติ  ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน อนุพันธ์ของฟังก์ชันและการประยุกต์ 
Study of analytic geometry, matrix and determinant, exponential function, logarithm function, trigonometric functions, limit and continuity of function, derivative of function and its applications. 
2 ชั่วโมง/สัปดาห์  โดยสามารถเข้าปรึกษาได้ใน วันพุธ  เวลา 15.00 - 16.30 น.  ห้อง ศท.304  หรือปรึกษาช่องทางออนไลน์ ตามที่กำหนดให้
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย และตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละและซื่อสัตย์สุจริต 


1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 


1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 


1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม 


1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
1.2.1 ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยในตนเอง ในการเข้าชั้นเรียน และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา  ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และบอกระเบียบในการสอบ  


1.2.2 ปลูกฝังให้นักศึกษามีความรับผิดชอบ โดยการบอกระเบียบการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย และการทำงานร่วมกับผู้อื่น 


1.2.3 ปลูกฝังให้นักศึกษามีสัมมาคารวะให้เคารพอาจารย์ เจ้าหน้าที่ รุ่นพี่ ตลอดจนให้เกียรติเพื่อนร่วมชั้นและร่วมสถาบันการศึกษา 
1.3.1 สังเกตพฤติกรรมการแต่งกายและการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา 


1.3.2 การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด  


1.3.3 สังเกตพฤติกรรมการกิจกรรมร่วมกับเพื่อนในห้องเรียน 


1.3.4 สังเกตพฤติกรรมการสอบแต่ละครั้ง
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนท์ ฟังก์ชันชี้กำลัง ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน อนุพันธ์ของฟังก์ชันและการประยุกต์ 


2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะทางวิศวกรรม 


2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 


2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 


2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ 
2.2.1 อธิบาย ยกตัวอย่าง ทำแบบฝึกหัด โดยใช้การสอนแบบบรรยายประกอบกับการตั้งคำถาม 


2.2.2 เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถาม ตั้งโจทย์ ตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียนในชั้นเรียน  


2.2.3 มอบหมายให้ทำงาน ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม พร้อมทั้งสรุปและนำเสนอ 


2.2.4 เชื่อมโยงของความรู้ในวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 
2.3.1 การทดสอบย่อย ทดสอบกลางภาค ทดสอบปลายภาค 


2.3.2 พิจารณาให้คะแนนจากงานที่มอบหมาย 


2.3.3 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา 
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 


3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 


3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้เดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 


3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 ยกตัวอย่างสถานการณ์ปัญหาในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวกับการใช้ความรู้ในเรื่องที่เรียนมาแก้ปัญหา 


3.2.2 ยกตัวอย่างปัญหาที่หลากหลายให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะในเรื่องที่เรียน 
3.3.1 ทำแบบฝึกหัด / สอบข้อเขียน 


3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการเสนอความคิดเห็นในการแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นๆ หรือปัญหาอื่นๆที่ใช้ความรู้ในเรื่องที่เรียนมาแก้ปัญหา 
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 


4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่มรวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกนการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ 


4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 


4.1.4 รู้จักบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 


4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม 
4.2.1 แนะนำการมีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคม โดยเน้นในห้องเรียนและการอยู่ร่วมกันในมหาวิทยาลัย 


4.2.2 ให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่มอย่างชัดเจน แล้วออกมานำเสนอ 


4.2.3 ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่ได้รับ เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด 
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน 


4.3.2 ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ 


4.3.3 ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่ม และสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาในการนำเสนอและตอบคำถาม
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 


5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 


5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้ อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 


5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 


5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 ให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย 


5.2.2 มอบหมายงานให้ค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ และให้นำเสนอหน้าชั้นเรียน 


5.2.3 มอบหมายงานให้ค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง 
5.3.1 พิจารณาจากผลงาน / งานที่มอบหมาย 


5.3.2 พิจารณาจากนำเสนองาน 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 FUNMA102 คณิตศาสตร์พื้นฐาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.4, 4.1.5 การเข้าชั้นเรียน งานตรงเวลา การทำงานร่วมกับผู้อื่น การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
2 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3, 5.1.4 งานที่ได้รับมอบหมาย การค้นคว้าและการแก้ปัญหา การนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 5%
3 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3 ,3.1.1, 3.1.2, 3.1.3, 3.1.4 การทดสอบย่อย สอบกลางภาคเรียน สอบปลายภาคเรียน 4,10 8 17 30% 30% 30%
เอกสารประกอบการสอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 
เอกสาร / ตำรา / หนังสือ / แหล่งออนไลน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
-  การสังเกตความสนใจของผู้เรียนขณะทำการสอน  
-  แบบประเมินผู้สอนผ่านเว็บมหาวิทยาลัย / ข้อเสนอแนะที่อาจารย์
-  จำนวนหรือร้อยละของผู้เข้าเรียนแต่ละคาบและการสังเกตพฤติกรรม 
-  ผลการสอบตามจุดประสงค์ของแต่ละหัวข้อ  
-  การทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้
-  แก้ไขข้อบกพร่อง จากแบบประเมินที่นักศึกษาประเมินผู้สอน  
-  การทำวิจัยในชั้นเรียน
-  การทวนสอบจากการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นที่ไม่ใช่ผู้สอน  
-  ตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา
-  ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการทวนสอบในข้อ 4  
-  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหาจากงานวิจัยของอาจารย์ 
-  นำผลการเรียนของนักศึกษามาปรับปรุงประสิทธิภาพของรายวิชา 
-  วางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดรายวิชาให้ทันสมัย หรือตามข้อเสนอแนะ