ปัญหาพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

Special Problems in Food Science and Technology

เพื่อให้สามารถวางแผนการทดลอง และทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โดยนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหารใหม่ ๆ ที่ได้ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการอภิปรายและวิจารณ์ผลการทดลองสรุปและเรียบเรียงเป็นรายงานอย่างได้อย่างเหมาะสม
เพิ่มทักษะในการวางแผนการทดลอง การวิเคราะห์ผลการทดลองทางสถิติ และการเขียนรายงานการวิจัย การนำเสนอรายงานการวิจัย
การกำหนดปัญหาและสมมุติฐานของงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     การอาหาร การสืบค้นข้อมูลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร การวางแผนโครงงานวิจัยการเขียนโครงร่างงานวิจัย ดำเนินการวิจัยทดลองในห้องปฏิบัติการตามโครงร่างงานวิจัยภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ การเขียนและสอบป้องกันงานวิจัย และส่งรูปเล่มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
1 ชั่วโมง/สัปดาห์ เฉพาะนักศึกษาที่มีความต้องการรับคำปรึกษาในเรื่องที่นอกเหนือจากอาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ 
- มีความซื่อสัตย์ในจรรยาบรรณวิชาชีพ มีสามัญสำนึกในการทดลองและวิจัยทางวิทยาศาสตร์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง
- มีความซื่อสัตย์ในจรรยาบรรณวิชาชีพ มีสามัญสำนึกในการทดลองและวิจัยทางวิทยาศาสตร์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง
- แบบรายงานการใช้ห้องปฏิบัติการ
- แบบประเมินรายงานความก้าวหน้า
- ประเมินโดยเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการ และอาจารย์ที่ปรึกษา
มีความรู้/ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการทดลอง การวิเคราะห์ผลทางสถิติที่ถูกต้อง  การเขียนรายงานและการเขียนอ้างอิงตามที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง
การสอนเสริมเรื่องการวางแผนการทดลอง ให้แบบฝึกหัด และการแปลผลการทดลองจริง การเขียนโครงการปัญหาพิเศษ และรายงานฉบับสมบูรณ์
การรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ  ประเมินโครงการปัญหาพิเศษ และรายงานปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์
สามารถสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหารใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการอภิปรายผลการทดลองโดยมีการคิดวิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาอย่างเป็นระบบ   มีทักษะในการนำเสนอข้อมูล  และเขียนรายงานได้อย่างถูกต้อง
มีการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการทำการทดลอง และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
จัดให้มีการนำเสนอผลปัญหาพิเศษ และรายงานปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์
มีการประเมินการนำเสนอผลปัญหาพิเศษ และรายงานปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์ ตามความสามารถในการนำเสนอ เหตุผลสนับสนุนทางด้านวิชาการที่เหมาะสมในการอภิปราย และตอบคำถาม  ตลอดจนการมีส่วนร่วมและกล้าแสดงออกในกิจกรรม
ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ได้แก่การมีภาวะผู้นำและผู้ตาม การจัดการความขัดแย้ง การปรับตัวเพื่อร่วมงานกับผู้อื่น และความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองและของกลุ่ม
กำหนดให้ทำงานเป็นกลุ่ม (2-3 คน) ต่อการทดลอง 1 เรื่อง เพื่อค้นคว้าหาข้อมูล ดำเนินการทดลองจัดทำข้อมูลสำหรับการนำเสนอ รวมถึงการวิเคราะห์ และร่วมอภิปรายงานวิจัย
ประเมินผลสัมฤทธิ์ในภาพรวมของงานที่มอบหมาย การตรงต่อเวลา และพฤติกรรมที่แสดงออก
การนำเสนอข้อมูลทางสถิติและการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่าย โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการทำงาน
สามารถใช้ Power point ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
สามารถค้นคว้าข้อมูล คัดเลือกแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ท
สามารถใช้ภาษาไทยการพูดและการเขียนได้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม
กำหนดให้มีการนำเสนอผลปัญหาพิเศษด้วยโปรแกรม Power point
กำหนดให้มีการวิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
กำหนดให้ต้องมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้ในการเขียนรายงานผลการทดลอง
ความครบถ้วนของข้อมูล และครอบคลุมเนื้อหาที่ได้รับมอบหมาย  ตลอดจนความเข้าในและความถูกต้องในเนื้อหาที่นำเสนอ  มารยาทและบุคลิกภาพในการนำเสนอ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCFT105 ปัญหาพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 โครงร่างปัญหาพิเศษ ตั้งกรรมการสอบ 1-7 10%
2 การดำเนินงานปัญหาพิเศษ อาจารย์ที่ปรึกษา 8-13 50%
3 รายงานปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์ อาจารย์ที่ปรึกษา 14-15 10%
4 การนำเสนอผลปัญหาพิเศษและตอบคำถาม ตั้งกรรมการสอบ 16 20%
5 การนำเสนอผลงานปัญหาพิเศษในงานนิทรรศการ ตั้งกรรมการสอบ 17 10%
หลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร.  2552.  คู่มือปัญหาพิเศษเทคโนยีการอาหาร.  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก, พิษณุโลก.
ภัทรา  นิคมานนท์.  2542.  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. อักษรพิพัฒน์, กรุงเทพฯ. 360 หน้า              
อรจิต  ภูแพ. 2540. สัมมนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพฯ.
กลุ่มวิจัยการผลิตและขึ้นรูปพอลิเมอร์.  2549, ข้อผิดพลาดจากการเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์. ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การระดมสมองวิเคราะห์ข้อผิดพลาดจากการเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์” วันที่ 8 กันยายน 2549. คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.
ณัฐพงศ์ เกศมาริษ. 2545. เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ. เอ็กซเปอร์เน็ท. กรุงเทพฯ.
ภัทรา  นิคมานนท์.  2542.  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. อักษรพิพัฒน์, กรุงเทพฯ.               
วาณี  ฐาปนวงศ์ศานติ.  2539.  สารนิเทศกับการศึกษาค้นคว้า.  พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, กรุงเทพฯ.
เอื้อมพร  ทัศนประสิทธิผล.  2542.  สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า.  สุวีริยาสาสน์, กรุงเทพฯ.
Electronic journal
Electronic database
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินการสอนรายวิชาจากแบบประเมิน พร้อมให้ข้อเสนอแนะ และปัญหาเพื่อใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา
การสังเกตประสิทธิผลของนักศึกษา โดยอาจารย์ทุกท่านที่สอนในรายวิชานี้
ทบทวนข้อเสนอแนะ และปัญหาจากนักศึกษา  เพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกัน
การตรวจสอบวิธีการให้ระดับขั้นคะแนนของนักศึกษา  โดยอาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษของนักศึกษาแต่ละคน ที่ร่วมสอนในรายวิชานี้ และการระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานปัญหาพิเศษของนัศึกษา เพื่อสร้างมาตรฐานการทำปัญหาพิเศษของหลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร
อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คะแนนประเมิน พฤติกรรมของนักศึกษา  เข้าที่ประชุมในกลุ่มผู้ร่วมสอนเพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้