การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม 2

Basic Engineering Skill Training 2

นักศึกษาปฏิบัติงานเกี่ยวกับทักษะการเชื่อมต่อด้วย การเชื่อมไฟฟ้า การเชื่อมแก๊ส งานขึ้นรูปโลหะแผ่นและท่อ การตีเหล็ก การชุบแข็ง การใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า การต่อสายไฟ การฝึกบักกรี หลักการและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน การต่อวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย
ศึกษาและปฏิบัติงานเกี่ยวกับทักษะการเชื่อมต่อด้วย การเชื่อมไฟฟ้า การเชื่อมแก๊ส งานขึ้นรูปโลหะแผ่นและท่อ การตีเหล็ก การชุบแข็ง การใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า การต่อสายไฟ การฝึกบักกรี หลักการและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน การต่อวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย
Learn and practice the skills to connect with. Electrical connections Gas Welding Forming metal sheets and steel pipes hit hardening instrumentation, electrical wiring basic coaching principles and soldering equipment, electric and electronic infrastructure. Coaching electrical and electronic access.
- อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งเวลาให้คำปรึกษา
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. คุณธรรม จริยธรรม คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
1.1.1 เขาใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณคาของระบบคุณธรรม จริยธรรม
เสียสละ และซื่อสัตยสุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผูประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแตละสาขา ตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน
1.2 วิธีการสอน
ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การนำเสนองานตามลำดับเวลาที่กำหนด สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม  
 
วิธีการประเมินผล
2.3.1 สอบปฏิบัติกลางภาค และสอบปฏิบัติปลายภาค
2.3.2 คะแนนจากงานที่มอบหมายประจำสัปดาห์
ความรู้ ที่ต้องได้รับ

2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจ ทักษะการเชื่อมต่อด้วย การเชื่อมไฟฟ้า การเชื่อมแก๊ส งานขึ้นรูปโลหะแผ่นและท่อ การตีเหล็ก การชุบแข็ง
2.1.2 มีความรูและความเขาใจ การใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า การต่อสายไฟ การฝึกบักกรี หลักการและอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน การต่อวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือ ที่เหมาะสม
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
บรรยาย อภิปราย สาธิตการปฏิบัติงาน พร้อมยกตัวอย่างลักษณะของตัวอย่างชิ้นงานจริง รวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานในวิชาที่เกี่ยวข้องที่เคยได้เรียนมาก่อนหน้า
สอบปฏิบัติกลางภาค และสอบปฏิบัติปลายภาค
2.3.2 คะแนนจากงานที่มอบหมายประจำสัปดาห์
ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
มอบหมายงานให้นักศึกษาทำระหว่างเรียนและงานประจำสัปดาห์เป็นรายคน ตามหัวข้อในใบงานต่างๆ
สังเกตและประเมินจากผลงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายให้ทำและนำมาส่ง โดยพิจารณาความตรงต่อเวลา ความถูกต้อง และขั้นตอนวิธีการคิด
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 มีจิตสํานึกความรับผิดชอบดานความปลอดภัยในการทํางาน และการรักษาสภาพแวดลอมต่อสังคม
4.2.1 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในกลุ่ม
4.3.1 ประเมินพฤติกรรมในการนำเสนอ
5.1.1 มีทักษะในการใชโปรแกรมคอมพิวเตอร สําหรับการทํางานที่เกี่ยวของกับวิชาชีพไดเปนอยางดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศหรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการ แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกตใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยไดอยางเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถใชเครื่องมือการคํานวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวของได
การแสดงแบบฝึกหัดในห้องเรียน
5.3.1 สังเกตการทำแบบฝึกหัดในห้องเรียน
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในดานเวลา เครื่องมือ อุปกรณและวิธีการไดอยางมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุมมีการแบงหนาที่ความรับผิดชอบและมีความรวมมือกันเปนอยางดี
6.2.1 การแสดงแบบฝึกหัดในห้องเรียน
6.3.1 สังเกตการทำแบบฝึกหัดในห้องเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรมจริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 4 5 5 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGCC508 การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม วินัยในการปฏิบัติงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย/ การมีส่วนร่วมในห้องเรียน 1-17 10
2 ด้านความรู้และการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน สอบกลางภาค สอบปลายภาค/ การส่งงานตามที่มอบหมาย 1-17 80
3 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมในห้องเรียน 1-17 10
หนังสือตารางโลหะ หนังสือมาตรฐานงานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น

หนังสืองานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
จากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 มีการปรับปรุงการสอน โดยทำการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ