การเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

Mobile Application Programming

1. เข้าใจแนวคิดการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2. สามารถนำหลักการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ไปทำงานจริงได้
สามารถประยุกต์ใช้หลักการการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมฮาร์ดแวร์ คุณลักษณะและข้อจำกัดของอุปกรณ์เคลื่อนที่ เครื่องมือและภาษาที่ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ หลักการของโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ การใช้หน่วยความจำและส่วนเก็บบันทึกข้อมูล การสื่อสารกับระบบภายนอก การเชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์ การจำลองการทำงานเพื่อทดสอบและแก้ไขบนระบบคอมพิวเตอร์ การสร้างโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม
1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
3. อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
1. การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
3. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
4. ปริมาณการกระทำการทุจริตในการสอบ
5. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา
2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
1. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2. ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
3. การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง
3. ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
4. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงานการทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
1. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากกรณีศึกษา (งานที่ได้รับมอบหมาย)
2. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
2. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบาย
3. ประเมินจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
4. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
4.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
4.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการ
3. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
2. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
3. พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
5.1 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
5.4 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
1. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
2. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบข้อเขียนประเมินผลความรู้กลางภาคเรียน 9 20%
2 สอบข้อเขียนประเมินผลความรู้ปลายภาคเรียน 17 20%
3 งานที่ได้รับมอบหมาย (แบบฝึกหัด คำถามท้ายบท) ทุกสัปดาห์ 20%
5 พิจารณาจากจิตพิสัย กิจนิสัย ความตั้งใจ และการเข้าร่วมกิจกรรม ทุกสัปดาห์ 10%
5 การทดสอบย่อยหรือการสอบปฏิบัติ ทุกสัปดาห์ 30%
เอกสารประกอบการสอนวิชา BBAIS205 การเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (วรการ ใจดี)
จีราวุธ วารินทร์. (2564). พัฒนาโมไบล์แอปด้วย Flutter + Dart. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: Simplify.
บัญชา ปะสีละเตสัง. (2566). พัฒนาแอปแบบ Multi-Platform ด้วย Flutter โดยใช้ภาษา Dart. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปฏิคม ทองจริง. (2563). Flutter สำหรับผู้เริ่มต้น. patikom.t.
อนุชิต ชโลธร. (2565). สูตรลัด Flutter. สำนักพิมพ์ก๊อปวาง.
เอกรินทร์ วทัญญูเลิศสกุล. (2563). พัฒนา Mobile App ด้วย Flutter & Dart. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.
 
เรียนรู้ภาษา Dart ตั้งแต่ตั้งไข่จนถึงคลาส (Class). สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://toupawa.com/learn-dart-from-zero-to-standard/.
ปูพื้น Dart ให้พอเขียน Flutter ตอนที่ 1. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://blog.intception.me/dev/flutter/dart-part-1.html#ตัวอย่างโปรแกรม.
การใช้งาน JSON String Data ในภาษา Dart เบื้องต้น. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2566 จาก https://www.ninenik.com/การใช้งาน_JSON_Strnig_Data_ในภาษา_Dart_เบื้องต้น-963.html.
การใช้งาน Asynchronous Programming ในภาษา Dart เบื้องต้น. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2566 จาก https://www.ninenik.com/การใช้งาน_Asynchronous_Programming_ในภาษา_Dart_เบื้องต้น-949.html.
Dart Language. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Dart_(programming_language).
Flutter. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Flutter_(software).
Alessandro Biessek. (2019). Flutter for Beginners. Packt Publishing Ltd.
Marco L. Napoli. (2020). Beginning Flutter. Canada:  John Wiley & Sons, Inc.
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ให้นักศึกษาเข้าประเมินผลการเรียนการสอนทางเว็บไซต์
สังเกตการสอน
ประเมินจากผลการประเมินผู้สอนและผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากได้รับผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และสรรหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา
 
ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะปรับปรุงการสอนในข้อ 3 และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4