โรคและการสุขาภิบาลสัตว์

Animal Diseases and Sanitation

เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปศุสัตว์ รวมทั้งโรคพยาธิที่สำคัญ สาเหตุ ระยะฟักตัว การระบาด อาการ การตรวจวินิจฉัย การรักษา การป้องกันและกำจัดโรคที่สำคัญ พระราชบัญญัติควบคุมโรคระบาดสัตว์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการบูรณาการความรู้ทางทฤษฎีและการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในด้านสัตวศาสตร์ และให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปศุสัตว์ รวมทั้งโรคพยาธิที่สำคัญ สาเหตุ ระยะฟักตัว การระบาด อาการ การตรวจวินิจฉัย การรักษา การป้องกันและกำจัดโรคที่สำคัญ พระราชบัญญัติควบคุมโรคระบาดสัตว์
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยให้นักศึกษาเป็นผู้นัดหมายอาจารย์ล่วงหน้า  ในกรณีที่มีการกำหนดให้เว้นระยะห่างในการสอน (Social distancing) จัดให้มีการให้คำปรึกษาผ่านโปรแกรมออนไลน์ เช่น MS team, Zoom เป็นต้น นอกจากนี้นักศึกษาสามารถติดต่ออาจารย์ได้ทาง supamas.sv@gmail.com (อ.ศุภมาศ) หรือ esso.wutt@gmail.com (อ.ดร.วุฒิกร) 
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 
ข้อ 1.1.3  เป็นความรับผิดชอบหลัก 
ข้อ 1.1.1  1.1.2  และ 1.1.4 เป็นความรับผิดชอบรอง
- กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติให้นักศึกษาต้องถือปฏิบัติในการเรียนรายวิชานี้ เช่น การตรงเวลา การมีวินัยในห้องเรียน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน หรือยกตัวอย่างประกอบในขณะสอนเนื้อหา
- จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม และเสียสละ เป็นต้น 
- นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในการสอบ หรือการลอกการบ้าน หรืองานของผู้อื่น
- การนำข้อความจากแหล่งความรู้ต่างๆ มาทำรายงานนั้น ต้องมีการอ้างอิงเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของความคิด
- การใช้บันทึกการเข้าชั้นเรียน และการส่งงาน ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา ส่งงานตามกำหนด และปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่อาจารย์กำหนด
- ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรร้อยละ 80 ของนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 
- การประเมินผลงาน (เอกสารรายงาน) ผู้สอนตรวจผลงานที่เป็นเอกสารรายงานของผู้เรียนว่ามีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม  มีการคัดลอกรายงานของนักศึกษาผู้อื่น 
- บันทึกการกระทำทุจริตในการสอบ
2.1.1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 
2.1.2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 
2.1.3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
ข้อ 2.1.1 เป็นความรับผิดชอบหลัก
ข้อ 2.1.2 และ 2.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
- การบรรยายประกอบสื่อการสอน 
- การอภิปรายกลุ่ม โดยการกำหนดหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ ค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง และนำเสนอรายงาน
- ข้อสอบแต่ละหน่วยเรียน โดยการการสอบย่อย สอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
- การประเมินผลงาน ผู้สอนประเมินจากเอกสารรายงาน และการนำเสนอ
นักศึกษาต้องคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
3.1.1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 
3.1.2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ 
ข้อ 3.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก 
ข้อ 3.1.1 เป็นความรับผิดชอบรอง
-การถามตอบ จากการกำหนดหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ ค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง และนำเสนอรายงาน
-สอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ให้นักศึกษาแสดงความเห็น และหรือระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา 
- การสังเกตพฤติกรรม ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมและประเมินจากคำตอบ และข้อคิดเห็น
- ข้อสอบ โดยการทดสอบจากข้อสอบที่เป็นข้อสอบซึ่งต้องให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา ตลอดจนนำหลักการและทฤษฎีไปอธิบายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 
- การประเมินผลงาน ผู้สอนประเมินจากเอกสารรายงาน และการนำเสนอ
4.1.1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 
4.1.2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
4.1.3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 
4.1.4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 
ข้อ 4.1.3 เป็นความรับผิดชอบหลัก 
ข้อ 4.1.1 4.1.2 และ 4.1.4 เป็นความรับผิดชอบรอง 
- การอภิปรายกลุ่ม โดยการกำหนดหัวข้อที่เป็นประเด็นการผลิตสัตว์ที่กระทบต่อสังคม มอบหมายงานให้ นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม และนำเสนอรายงาน
- การประเมินผลงาน ผู้สอนประเมินจากเอกสารรายงาน และการนำเสนอว่าสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคม
- การประเมินโดยเพื่อนร่วมกลุ่มงานและหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนประเมินผลงานที่เป็นรายงาน และหรือ การปฏิบัติ พฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
- สังเกตพฤติกรรมจากการทำงานกลุ่ม  ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมจากมี มนุษยสัมพันธ์ มารยาทสังคมที่ดี แสดงออกถึงความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 
5.1.1. สามารถเลือกใช้วิธีการ และเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 
5.1.2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 
5.1.3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
ข้อ 5.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก 
ข้อ 5.1.1 และ 5.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
- ให้นักศึกษาสืบค้น โดยการกำหนดหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ ค้นคว้าเพิ่มเติม และจัดทำรายงาน
- การนำเสนอรายงาน ให้นักศึกษานำเสนอโดยเลือกใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่เหมาะสม
- การประเมินผลงานรายบุคคล (เอกสารรายงาน) ผู้สอนตรวจผลงานที่เป็นเอกสารรายงานของผู้เรียน
- ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียนโดยเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่าง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG210 โรคและการสุขาภิบาลสัตว์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.2, 1.1.3 ใช้การบันทึกการเข้าห้องเรียน 1-18 5%
2 1.1.2, 1.1.4, 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2, 4.1.4, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3 การประเมินผลงาน (เอกสารรายงาน) 1-18 10%
3 3.1.1, 3.1.2, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3 การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน 1-.18 5%
4 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2 ข้อสอบ กลางภาคและปลายภาค 1-18 60%
5 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3 ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียน 1-18 10%
6 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3, 1.1.4 ประเมินการมีวินัย และพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วม/การส่งงาน 1-18 5%
7 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3 การประเมินโดยเพื่อนร่วมกลุ่มงานและ/หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน 1-18 5%
ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร. 2540 สุขศาสตร์สัตว์ เชียงใหม่: ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 310 หน้า. ISBN 974-89581-0-8
อาคม สังข์วรานนท์. 2541. ปาราสิตวิทยาคลินิกทางสัตว์แพทย์. คณะสัตวแพทยศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 412 หน้า. ISBN 974-553-463-3
- แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชาที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัย
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- ผลการทดสอบ 
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 1 และ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนโดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน ดังนี้
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 
- การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างการจัดการเรียนการสอน จะมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เป็นระยะๆ จากการสอบถามนักศึกษา การทดสอบต่าง ๆ รวมถึงพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงาน และส่งงานตามกำหนด
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 
- ขอคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้อง