การควบคุมมลพิษอากาศ

Air Pollution Control

เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจวิวัฒนาการและความรู้พื้นฐานของบรรยากาศ ประเภทของแหล่งกำเนิดและลักษณะมลสารในอากาศ ผลกระทบของมลพิษทางอากาศ หลักการอุตุวิทยาและการแพร่กระจายมลสาร และสามารถนำหลักการ/วิธีการควบคุมการปล่อยมลสารไปประยุกต์ใช้ในงานการจัดการคุณภาพอากาศได้ นำวิธีการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์มลสารไปประยุกต์ใช้ในงานการจัดการคุณภาพอากาศได้ รวมถึงสามารถกำหนดใช้กฎหมายและมาตรฐานการควบคุมมลภาวะทางอากาศ
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงโดยเน้นการนำไปในใช้ในการทำงานอย่างเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ อีกทั้งให้สอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานการอุดมศึกษา (2552) และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ประเภทของแหล่งกำเนิดของมลพิษทางอากาศ ผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพ การดำรงชีวิตที่ดี สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ และสภาพแวดล้อม อุตุนิยมวิทยา ในการแพร่กระจาย วิธีการควบคุมการปล่อยมลสารที่เป็นอนุภาค และก๊าซ วิธีการเก็บตัวอย่าง และการวิเคราะห์ กฎหมาย และมาตรฐานการควบคุมมลภาวะทางอากาศ
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) และการติดต่อทาง e-mail address ที่ banjarata@yahoo.com
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1 ให้ความรู้โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ  2 ให้นักศึกษาทำที่มอบหมายด้วยตัวเอง และส่งภายในเวลาที่กำหนด โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาโดยไม่มีการคัดลอกหรือแอบอ้างผลงานผู้อื่นมาเป็นของตนเอง  3 ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามา แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มและนำเสนอผลงานเขียนที่สร้างสรรค์ โดยไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสังคมและชุมชน
1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม  2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ  3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  4 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี  2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม  3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1 บรรยายและให้ศึกษาความรู้ในบทเรียนเพิ่มเติมและแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่ม  2 อธิบายเป็นขั้นตอนและเปิดโอกาสให้ซักถาม  3 ได้จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการนำนักศึกษาไปทัศนศึกษาดูงานในสถานประกอบการจริง พร้อมให้นักศึกษาทำรายงานประกอบเป็นกลุ่มพร้อมนำเสนอผลงาน
1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน  2 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ  3 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
1 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  2 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 ให้นักศึกษาระดมสมอง แสดงความคิดเห็นทั้งเป็นรายบุคลคลและเป็นกลุ่มย่อย  2  ให้นักศึกษาได้มีการนำเสนอแบบอภิปรายกลุ่ม
1 การร่วมกลุ่มกิจกรรมในชั้นเรียน  2 พิจารณาจากงานที่มอบหมาย  3 การสรุปความคิดรวบยอดของแต่ละหน่วยเรียน  4 การทดสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
1 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง  2 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
1 จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียน ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา  2 มอบหมายงานรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความรู้ด้านต่างๆเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา  3 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับโรงงานต่างๆ รวมทั้งไปศึกษาในสถานประกอบการจริง พร้อมนำเสนอรายงานและมีการซักถามและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้มา
1 การร่วมกลุ่มกิจกรรมในชั้นเรียน  2 พิจารณาจากงานที่มอบหมาย  3  พิจารณาจากพฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละบุคคลรวมถึงพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
1 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลข จากกรณีศึกษา  2 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  3 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร  4 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำแบบฝึกหัด และตรวจสอบความถูกต้อง  2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี  2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฏระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบทสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มีความรุ้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
1 ENGEV301 การควบคุมมลพิษอากาศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1.2, 2.1.1.4, 2.1.1.5 การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน/ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ/คุณภาพและความรับผิดขอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.2.1.1, 2.2.1.2, 2.2.1.4 การทดสอบย่อย/การสอบกลางภาคเรียน/การสอบปลายภาคเรียน/ประเมินจากรายงานและการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน สัปดาห์ที่ 9 (กลางภาค) สัปดาห์ที่ 17 (ปลายภาค) 75%
3 2.3.1.2, 2.3.1.5, ประเมินจากการค้นคว้าและการวิเคราะห์ กรณีศึกษาหรือการประยุกต์ด้านเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม ตลอดภาคการศึกษา 5%
4 2.4.1.3, 2.4.1.4 ประเมินจากความรับผิดชอบ การแสดงความคิดเห็น และพฤติกรรมในการทำงานกลุ่ม รวมทั้งคุณภาพผลงานที่รับผิดชอบ ตลอดภาคการศึกษา 5%
5 2.5.1.1, 2.5.1.3 ประเมินจากการเลือกใช้เครื่องมือและเทคนิคในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ รวมทั้งความสามารภในการอภิปรายผลของข้อมูล กรณีศึกษาแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
1.1 Cornwell, D.  Introduction to Environmental Engineering.  3rd Edition.  Singapore. : Mc-Graw-Hill, 1998.
1.2 Colls, J.  Air Pollution,  2nd Edition.  London.  Spon Press, 2002.
1.3 de Nevers, N.  Air Pollution Control Engineering.  2nd Edition.  Singapore.: McGraw-Hill Higher Education, 2000.
1.4 Godish, T.  Air Quality.  2nd Edition.  U.S.A. : Lewis Publishers, 1991
1.5 เอกสารและสื่อประกอบการสอนรายวิชา การควบคุมมลพิษอากาศ
ฐานข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ www.pcd.go.th
[online]. http://www.bbc.co.uk/schools/gcsebitesize/chemistry/usefulproductsoil/oil_

_and_oilproductsrev3.shtml.
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน   แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา   ข้อเสนอแนะผ่านการให้คำปรึกษานอกชั้นเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้  2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน  2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา  2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้  3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ สอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกสาขา หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้  5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ