การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Data Communication and Computer Network System

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และระบบเครือข่าย และสามารถใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นหรือนำไปประกอบอาชีพในอนาคต
ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย แบบจำลองเครือข่าย รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย เครือข่ายแลนอีเทอร์เน็ต เครือข่ายไร้สาย โพรโตคอล เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฝึกปฏิบัติการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายเลขไอพี  การทำซับเน็ต การติดตั้งระบบปฏิบัติการเครือข่าย
  3.1 วันพุธ 15.00 - 17.00 น. ห้อง ABL202
    3.2  e-mail;  sirilux.khing@gmail.com จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
  3.3 เข้าห้องเรียนได้ที่ https://bit.ly/30RzQGZ
1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.4 เคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี
2.มอบหมาย และชี้แจงข้อกำหนดในการส่งงาน เพื่อฝึกในเรื่องการตรงต่อเวลา และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3.สอดแทรกคุณธรรม และจริยธรรมในระหว่างการพูดคุยซักถามปัญหา และให้คำปรึกษา
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
2.  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
2.3 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆ ของสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด
2.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
2.5 รู้เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
2.6 มีความรู้ในแนวกว้างของ
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
2.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.บรรยาย
2.การทำแบบฝึกหัดหรือใบงาน
3.มอบหมายงานค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุป และนำเสนอ
1.ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
2. นำเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3.วิเคราะห์กรณีศึกษา
3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.2 สามารถสืยค้นตีความปละประเมินสารสนเทศเพื่อให้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
มอบหมายงานให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาในกรณีศึกษา นำความรู้ที่ได้เรียนมาแก้ไขปัญหาในกรณีศึกษา และนำเสนอผลการแก้ปัญหา
1.การทดสอบ โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์กรณีศึกษาและประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา
2.การประเมินแบบฝึกหัด ในการวิเคราะห์กรณีศึกษาและประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา
4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
4.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
4.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
ให้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มอบหมายงานกลุ่มและรายบุคคล และการนำเสนอรายงาน
ให้คะแนนผลงานเป็นกลุ่ม
5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียนเลือกใช้รูปแบบของการสื่อสารนำเสนออย่างเหมาะสม
5.4 สามารถใช้สารสนเทศอย่างมีนำเสนออย่างเหมาะสม
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2.  นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 สอนโดยชื่อสื่อการสอน Power Point
1 . ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา 5.ทักษะการคิดวิเคราะห์ทางตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี ที่ต้องพัฒนา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BSCCS405 การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 8 สัปดาห์ที่ 12 สัปดาห์ที่ 17 10% 25% 10% 25%
2 วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
สมเกียรติ รุ่งเรืองลดา.  (2551).  คู่มือดูแลระบบ Network ฉบับมืออาชีพ.  กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2540).  สร้างและพัฒนาระบบ  LAN ปฏิบัติได้จริง.  กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
แชทท์, สแตน.  (2540).   เรียนรู้และเข้าใจการทำงาน Local Area Networks.  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เดอร์เฟลอ, แปรงค์ เจ., (2538). นำทางสู่การเชื่อมโยงเครือข่าย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เทเนนบาม, แอนดรูว์.  (2542).  Computer Networks: คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก.   กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
ปิยะ สมบุญสำราญ และไพโรจน์ ไววานิชกิจ.  (2546). ศาสตร์และศิลปะในการติดตั้งระบบเครือข่ายชั้นเซียน 2.  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 
ปิยะ สมบุญสำราญ.  (2545).  ศาสตร์และศิลปะในการติดตั้งระบบเครือข่ายชั้นเซียน.  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 
พิพัฒน์ หิรัณย์วณิชชากร. (2542). ระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์.  กรุงเทพฯ,  ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วิรินทร์ เมฆประดิษฐสิ.  (2550).  คัมภีร์ตรวจซ่อมระบบเครือข่าย.  กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน,
ฝ่ายผลิตหนังสือตำราวิชาการคอมพิวเตอร์ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).  (2551).  คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปองภพ เหล่าชัยกุล & อัฐภรณ์ ผ่านสำแดง.  (2551).  การทดสอบเจาะระบบกรณีศึกษาระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น.  [ขอนแก่น] : ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.