ฝึกงานสิ่งทอและเครื่องประดับ

Job Internship in Textile and Jewelry

1.1  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจกระบวนการฝึกงานทางด้าน แฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับ
1.2 เพื่อให้นักศึกษาเตรียมตัวก่อนการฝึกงานในสถานประกอบการ
1.3 เพื่อให้นักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการทางด้านแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับแต่ละแห่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4 เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะจากการฝึกงานและสามารถประเมินผลและสรุปผลการฝึกงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.5 เพื่อให้นักศึกษาเห็นคุณค่าและความสำคัญของการฝึกงานด้านแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับ
เพื่อให้เนื้อหารายวิชามีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน นักศึกษา สามารถทำงานติดต่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี มีความสามารถในการเขียนบันทึกและทำรายงานสรุปการฝึกงาน สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในงานด้านออกแบบแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับได้เป็นอย่างดี รวมถึงการเตรียมพร้อมที่จะเป็นนักออกแบบให้กับองค์กรที่นักศึกษาเข้าไปฝึกงานในอนาคต
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับวิชาชีพตามหลักสูตรในสถานประกอบการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอและเครื่องประดับ การจัดทำแผนปฏิบัติงาน การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรและกระบวนการทำงาน การบันทึกผลการฝึกงาน การสรุปและการนำเสนอผลการฝึกงาน การประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษา จะต้องได้รับการประเมินผลการฝึกงานและรายงานผลการฝึกงานจากสถานประกอบการในเกณฑ์พอใจ (S) หรือไม่พอใจ (U) ใช้เวลาฝึกงานไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง
 
ไม่มี
1) ซื่อสัตย์สุจริต มีวิน้ย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
3) มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมในการเข้าฝึกงานในสถานประกอบการด้านแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับ
ประเมินผลโดยสังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเตรียมความพร้อมในการฝึกงาน
4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพ ด้านศิลปกรรมศาตร์ ในสาขาวิชาที่ศึกษา
จัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมในการเข้าฝึกงานด้านแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับ เพื่อให้ทราบบริบทของสถานประกอบการแต่ละแห่ง
ประเมินผลโดยสังเกตพฤติกรรม การซักถาม เนื้อหาเกี่ยวกับสถานประกอบการด้านแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับ
3. สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
สอนแบบกิจกรรมกลุ่มเพื่อนำข้อมูลเบื้องต้นของสถานประกอบการมาอภิปราย และทำความเข้าใจในเบื้องต้น
ประเมินผลโดยสอบถามความเข้าใจ และสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา
1) มีภาวะผู้นำ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
2) มีความรับผิดชอบ ต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
สอนโดยการจัดกิจกรรมกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสำรวจรายชื่อสถานประกอบการและการแจ้งความประสงค์ขอเข้าฝึกงานรูปแบบของเอกสาร
ประเมินผลจากรายชื่อสถานประกอบที่ได้จากการสำรวจเบื้องต้นเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการ
1) สามารถสื่อสารด้วยการพูด อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการ สื่อสารทางศิลปกรรมและนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สอนปฏิบัติวิธีการร่างจดหมายราชการเพื่อขอความอนุเคราะห์เข้าฝึกงานด้านแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับ
ประเมินผลโดยการตรวจสอบความถูกต้องการใช้ภาษาในเนื้อหาของจดหมายราชการ
1) มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
สอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติการเรื่องการเขียนรายละเอียดในสมุดคู่มือฝึกงานเบื้องต้น
ตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหาเบื้องต้น ของสมุดคู่มือฝึกงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BAATJ124 ฝึกงานสิ่งทอและเครื่องประดับ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย ตรวจสอบเอกสารและสังเกตพฤติกรรมขณะการเตรียมความพร้อมในการฝึกงาน 1-8 ร้อยละ 30
2 ผลการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้าน ตรวจสอบเอกสารและพฤติกรรมในขณะดำเนินการฝึกงานในสถานประกอบการ 9-16 ร้อยละ 50
3 ผลการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้าน ตรวจสอบเอกสารและพฤติกรรมหลังจากการฝึกงานเสร็จสิ้น 17 ร้อยละ 20
1.1 ปาริชาติ บัวเจริญ และคณะ. (2565) .ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกฝึกงานในสถานประกอบการ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย  เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม ในวารสารมหาวิทยาลัยพายัพ ปีที่ 32 (2) (กรกฎาคม – ธันวาคม). หน้า 113-127
1.2 ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล (2559). การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการในการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาคณะเทโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี(รายงานการวิจัย), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 
1.3 เสริมศรี เจริญผล, อัมพร ปั้นศรี และเสาวนีย์ ทรงสุนทร.(2532).การฝึกงาน (PRACTICUM).พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2.1 ใบแจ้งความประสงค์เข้าฝึกงาน
2.2 แบบทำเนียบสถานประกอบการด้านแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับ
2.3 หนังสือขอความอนุเคราะห์เข้าฝึกงานและแบบตอบรับเข้าฝึกงานจากสถานประกอบการ
2.4 สมุดคู่มือบันทึกการฝึกงาน
2.5 แบบประเมินความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อนักศึกษาฝึกงาน
3.1 ข้อมูลสถานประกอบการด้านแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องประดับ
3.2  วิธีปฏิบัติตัวในสถานประกอบการ
3.3 กฏหมายแรงงาน
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ในชั้นเรียน 
1.2 แบบประเมินผู้สอน
1.3 แบบประเมินรายวิชา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ในชั้นเรียน
2.2 ผลการฝึกงานของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน คือกิจกรรมการนิิเทศนักศึกษาในสถานประกอบการ
ในระหว่างกระบวนการฝึกงานของนักศึกษา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลการฝึกงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการบันทึกข้อมูลการฝึกงาน และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลการฝึกงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบสมุดบันทึกคู่มือฝึกงาน วิธีการให้คะแนน
และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมอง และความรู้ที่หลากหลาย