การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี

Innovation and Technology Management

 
1. เพื่อรู้และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมซึ่งส่งผลโดยตรงต่อองค์การ
2. เพื่อเข้าใจการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานให้สอดคล้องกับนวัตกรรมใหม่ ๆ
3. เพื่อเข้าใจกระบวนการการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
4. เพื่อพัฒนาระบบและวิธีการทำงานในองค์กรเพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้ได้
 
      เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงขององค์กรในปัจจุบัน และให้เนื้อหารายวิชามีความเหมาะสม ทันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
 
เพื่อศึกษาการบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม การออกแบบและการนำกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีไปปฏิบัติ วิวัฒนาการเทคโนโลยี สภาวะแวดล้อมของอุตสาหกรรม สภาวะแวดล้อมองค์กรความสามารถด้านเทคโนโลยีขององค์กร การพัฒนาความสามารถด้านนวัตกรรมขององค์กร การออกแบบและการจัดการระบบบนนวัตกรรมสำหรับองค์กร การจัดหาแหล่งเทคโนโลยี การสร้างและนำกลยุทธ์การพัฒนาไปปฏิบัติ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ความท้าทายในด้านนวัตกรรมสำหรับองค์กร
-อาจารย์ประจำรายวิชากำหนดและอนุญาตให้นักศึกษารับคำปรึกษาผ่าน facebook อีเมล์ และในชั้นเรียน
 -อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) หรือผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล์ เป็นต้น
บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
1. จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
3. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
4. กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมี ส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
5. เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน
6. สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
7. อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
1. การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
3. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
4. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
5. ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
6. ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
7. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
1. จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
4. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อน ร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
5. ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
6. การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
3. ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง
4. ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
5. ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
6. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
7. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
บัณฑิตมีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานตามสถานการณ์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์เพื่อคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีเหตุผล
1. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน
2. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากกรณีศึกษา
3. กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผน การทำงานเป็นทีม
4. การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
5. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
6. การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
7. จัดให้ในรายวิชา มีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
2. การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบริบทต่าง ๆ
3. การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
4. ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
5. ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
6. ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
7. ประเมินจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
8. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
 
บัณฑิตมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยี
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
3. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
4. มอบหมายให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง
5. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคล อื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
6. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
 
1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
2. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
3. พฤติกรรมและผลการประเมินการให้บริการวิชาการของนักศึกษา
4. การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
5. พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
6. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
7. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
8. ใช้ผลการประเมินจากการฝึกงานและการสหกิจศึกษา
บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
3. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
5. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้
6. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
2. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
3. พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
4. ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
บัณฑิตแสดงออกถึงทักษะในการนำความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2. จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
4. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผล การดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
 
1. ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2. พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
4. การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
5. นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 6. 1. 2. 3. 1. 2. 3. 1. 2. 1. 2. 6.
1 BBABA218 การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 5% 30% 5% 30%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
พยัต  วุฒิรงค์. การจัดการนวัตกรรม Innovation Management ทรัพยากร องค์การแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรม Resource Learning Organization and Innovation. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2557.   
ปรีดา ยังสุขสถาพร และคณะ พลวัตนนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, 2549.
สาขาวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ เอกสารการสอนวิชา การจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช 2554
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรณีศึกษานวัตกรรม กรุงเทพมหานคร www.nia.or.th  2554
 
2. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
ไม่มี
 
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- สังเกตเกณฑ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- ข้อเสนอแนะผ่านออนไลน์ เช่น Facebook ของกลุ่มรายวิชาผู้สอนได้จัดทำเป็นกลุ่มรายวิชาเป็นช่องทางสำหรับการติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาที่เรียน
รายงานผลการค้นคว้าจากงานที่ได้รับมอบหมาย การนำเสนอผลงานของนักศึกษา การให้ข้อเสนอแนะและการตอบคำถามของนักศึกษา


การประเมินผลการอภิปรายกลุ่ม การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
 

การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป การปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และวิธีการฝึกการวิเคราะห์ การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
 

ทบทวนงานที่ให้ผู้เรียนไปค้นคว้า จัดทำว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ทบทวนข้อสอบกลางภาคและปลายภาคที่ใช้วัดความรู้ว่ามีความยากง่ายเหมาะสมเพียงใด ทบทวนรายงานกลุ่มว่ามีความเหมาะสม คุณประโยชน์ต่อนักศึกษาที่จะได้รับไปประยุกต์ใช้กับตนเองภายหลังจบการศึกษาไปแล้วว่ามีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากน้อยเพียงใด

 
 

ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะ นำข้อคิดเห็นของนักศึกษามาประมวล เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป นำผลการประเมินการสอนของตนเองมาจัดเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง