ความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

Information System Security

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความมั่นคงทางระบบสารสนเทศในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มทางด้านความมั่นคง พื้นฐานการจัดการความมั่นคงทางระบบสารสนเทศ นโยบาย การวางแผนและการจัดการความปลอดภัยระบบสารสนเทศ การเข้ารหัสข้อมูล การพิสูจน์ตัวตนในระบบคอมพิวเตอร์ การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ความเสี่ยง การป้องกันและการสืบสวนการคุกคามในระบบสารสนเทศ
1) มีความรู้พื้นฐานด้านการรักษาความปลอดของระบบสารสนเทศ และระบบคอมพิวเตอร์
2) มีพื้นฐานการใช้เครื่องมือในการรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ และระบบคอมพิวเตอร์
3) เข้าใจ และตระหนักถึงแนวโน้มด้านความไม่ปลอดภัยของระบบสารสนเทศ และระบบคอมพิวเตอร์
4) มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน มีทักษะที่ดี เห็นคุณค่าของการเรียน และน าไปใช้ประโยชน์ในการท างานได้
หาความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ การควบคุมและรักษา ความปลอดภัยของระบบการป้องกันเชิง กายภาพ ประเด็นด้านความปลอดภัย อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การวัดระดับความปลอดภัย การป้องกันจากภัย ธรรมชาติ การควบคุมการเข้าถึง การวางแผน กรณีฉุกเฉินและการกู้ความเสียหาย เทคนิคการเข้ารหัสและถอดรหัส การเข้ารหัสลับสาธารณะและรหัสลับส่วนบุคคล การจัดการกับมัลแวร์ (malicious software) ระบบด่านกันบุกรุก (firewall) 
 1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต  1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ  1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม  1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม  1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางระบบสารสนเทศ 2. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน ร่วมกันทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานเพื่อฝึกการมีส่วนร่วมและเคารพสิทธิในการทำงานร่วมกัน
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา  2.3 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด 2.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์  2.5 รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง  2.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ  2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง  2.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ กระบวนการเรียนการสอนจะเน้นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา (Problem Based Learning) เพื่อเน้นการใช้ความรู้สู่การสร้างปัญญา ฝึกทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิต กระบวนการในการสอนกระตุ้นให้ ศึกษาสร้างความคิด ในการต่อยอดองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้น หลักการ การวิเคราะห์ การประยุกต์ใช้ทฤษฎี และทักษะที่ได้ในชั้นเรียน 2. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน และบทสรุปประเด็นสำคัญที่เรียนรู้ 3. รายงานเดี่ยว/กลุ่ม โดยนำเสนอเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยจากการอ่านและการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
 3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ  3.2สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์  3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้น การวัดหลักการ การวิเคราะห์ การประยุกต์ใช้ทฤษฎี และทักษะที่ได้ในชั้นเรียน 2. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน และบทสรุปประเด็นสำคัญที่เรียนรู้
1. สอบกลางภาค ปลายภาค และสอบปฏิบัติ โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหา 2. การรายงานและนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
 4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ  4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน  4.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม  4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม  4.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม  4.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1.มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล 2.อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน และแสดงความคิดเห็นผ่านกลุ่มในโซเชียลมีเดีย
1. รายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 2. การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน และแสดงความคิดเห็นผ่านโซเชียลมีเดีย
 5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  5.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์  5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม  5.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอน e-learning และทำรายงาน โดยมีการอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เปรียบเทียบแหล่งที่มาของข้อมูล 2. นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. การจัดทำ และนำเสนอรายงานด้วยสื่อเทคโนโลยี 2. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปรายทั้งในชั้นเรียนและโซเชียลมีเดีย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.5, 2.1, 2.2, 2.3, 2.6, 2.8, 3.1-3.4, 5.2 สอบกลางภาค 8 25%
2 1.1, 1.5, 2.1, 2.2, 2.3, 2.6, 2.8, 3.1-3.4, 5.2 สอบปลายภาค 16 25%
3 1.1 - 1.7, 2.1-2.6, 2.8, 3.1 – 3.4, 4.1-4.6,5.1-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
4 1.1-1.7, 3.1-3.4, 4.1-4.5, 5.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.1 ตำราประกอบการสอน/หนังสือประกอบการสอน (ต้องการให้ห้องสมุดใช้สำหรับจัดซื้อหนังสือ) 1.2 ตำราประกอบการสอน/หนังสือประกอบการสอน (ไม่ต้องการให้ห้องสมุดใช้สำหรับจัดซื้อหนังสือ) ชัชวิน นามมั่น, เอกสารประกอบการสอนวิชาความมั่นคงทางระบบสารสนเทศ W. Stallings, Cryptography and Network Security, 4th Edition, Pearson Prentice Hall, ISBN 0-13-202322-9
G. De Laet and G. Schauwers, Network Security Fundamentals, Cisco Press,G. De Laet and G. Schauwers, Network Security Fundamentals, Cisco Press, ISBN 1-58705-167-2 Garfinkel and G. Spafford, Practical Unix and Internet Security, 2nd Edition, O’Reily, ISBN 1-56592-148-8
เว็บไซด์ www.thaicert.or.th เว็บไซด์ cisco.netacad.net
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา ผ่านโปรแกรมและระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
มีการประเมินการสอนโดยใช้ผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา ผลการสอบ และการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามที่ สกอ.กำหนด
มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนน และความเหมาะสมของการให้ผลการเรียน
หลังจากสิ้นภาคการศึกษา ผู้สอนจะต้องเขียนแบบรายงานการดำเนินการรายวิชา โดยนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินในข้อ 1 และ 2 และผลการเรียนของผู้เรียน มาวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นในเทอมต่อๆไป หรือ ให้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้สอนที่จะสอนในรายวิชานี้ต่อไป