เทคโนโลยีแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์

Computer Platform Technology

               เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ ประกอบด้วยส่วนประกอบทางฮาร์ดแวร์ ได้แก่ หน่วยประมวลผล ระบบบัสและระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก หน่วยความจำ หน่วยเก็บบันทึกข้อมูล ระบบปฏิบัติการ ได้แก่ ส่วนประกอบและหน้าที่ภายในระบบปฏิบัติการ การบริหารระบบ เช่น การจัดการบัญชีผู้ใช้ บริการการพิมพ์ การจัดสรรพื้นที่เก็บบันทึกข้อมูล การเฝ้าสังเกตและการแก้ไขปัญหา
            เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับรายวิชาขั้นสูง เช่น เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล  เป็นต้น  นักศึกษาสามารถนำทฤษฎีที่ได้ศึกษาไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในด้านสารสนเทศที่เกี่ยวข้องได้
               ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเบื้องต้นของระบบคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ การติดตั้งระบบปฏิบัติการ การติดตั้งและถอดการติดตั้งโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ การบริหารพื้นที่เก็บข้อมูลการบริหารงานพิมพ์ การจัดการบัญชีผู้ใช้ การเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น และการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของระบบปฏิบัติการ
อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซด์คณะ นักศึกษาสามารถ Email มาปรึกษาได้ทุกเวลา อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
                  กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้ต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในชั่วโมงเรียน รวมทั้งมีการยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละเวลาเพื่อผู้อื่น
ประเมินจากจำนวนการขาด ลา มาสายของนักศึกษา ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ ประเมินจากความรับผิดชอบในการทำแบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเเละทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้ง

ประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา

สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
ใช้การสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและมอบหมายงานหรือการแก้ไขปัญหาโจทย์ชั้นเรียน
ทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค ประเมินจากการตอบคำถาม/แสดงความคิดเห็นของนักศึกษาในชั้นเรียน
คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
ยกตัวอย่างและโจทย์ปัญหา กระตุ้นให้นักศึกษามีการเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหา
ออกข้อสอบให้นักศึกษาแก้ปัญหา  อธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ใช้การสอนที่มีการซักถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน มอบหมายให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดและแก้โจทย์ปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่มในชั้นเรียน
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายในชั้นเรียน และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูลที่ได้
มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
ยกตัวอย่างเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะช่วยในการแก้ปัญหาได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่นการแนะนำเว็บไซต์/ซอฟต์แวร์/เครื่องมือที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในหัวข้อการเรียนนั้นๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้แก้โจทย์ปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลได้
ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง ประเมินจากความสามารถในการอธิบายข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือนั้นๆในการแก้ปัญหา ต่อผู้รับฟังความคิดเห็นในชั้นเรียนได้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.5-1.6,2.1-2.3,2.7,3.2-3.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 3 17 35% 35%
2 1.5, 2.1-2.3,2.7,3.1-3.3,4.4,4.6,5.1,5.4 การค้นคว้า แก้ไขปัญหาโจทย์ การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่ม การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.5-1.6,4,1,4.6 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
Hennessy and Patterson. Computer Architecture: A Quantitative Approach,

4th Edition , Morgan Kaufmann, 2006.
Abraham Silberschatz, Peter B. Galvin and Greg Gagne. Operating System Concepts, 8th Edition, Wiley, 2008.
 เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
              การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้  ที่จัดทำโดยนักศึกษา  ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน  และแบบประเมินรายวิชา


การติดต่อ ปรึกษา ส่งงานทางอีเมล์ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน  ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

ผลการเรียนของนักศึกษา ผลงานกลุ่มของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
           หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอน  โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง  และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
              -  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
              -  การวิจัยในชั้นเรียน
          ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ  ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา  ได้จาก  การสอบถามนักศึกษา  หรือการสุ่มตรวจผลงานนักศึกษา  รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย  และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น  หรือผู้ทรงคุณวุฒิ

มีการตั้งกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา  โดยตรวจสอบข้อสอบ  รายงาน  วิธีการให้คะแนน  และการให้คะแนนพฤติกรรม
          จากผลการประเมิน  และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรังปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี  หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน  เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น