การตรวจสอบงานก่อสร้าง

Inspection for Construction

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบงานก่อสร้าง แบบก่อสร้าง และแผนการทำงาน ระบบการขนส่งวัสดุ ความปลอดภัย การติดตั้งรือถอน การวางผังอาคาร งานฐานราก งานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก งานคอนกรีตอัดแรง งานเหล็กรูปพรรณ งานสถาปัตยกรรม ระบบสุขาภิบาล ระบบดับเพลิง ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ การเขียนแบบรายละเอียดก่อสร้าง การนำนักศึกษาทัศนศึกษานอกสถานที่
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการวิเคราะห์และประเมินค่า สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงในการควบคุมงานก่อสร้าง หรือนำไปประยุกต์กับหลักวิชาอื่นได้
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบคามพร้อมก่อนเร่ิมงานก่อสร้าง แบบก่อสร้าง และแผนการทำงาน ระบบการขนส่งวัสดุ ความปลอดภัย การติดตั้งรือถอน การวางผังอาคาร งานฐานราก งานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก งานคอนกรีตอัดแรง งานเหล็กรูปพรรณ งานสถาปัตยกรรม ระบบสุขาภิบาล ระบบดับเพลิง ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ การเขียนแบบรายละเอียดก่อสร้าง การนำนักศึกษาทัศนศึกษานอกสถานที่ 
 
อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในห้องเรียน - นักศึกษาสอบถามได้ในห้องเรียน นอกเวลาเรียนที่ห้องพักอาจารย์ ถามทาง email : kwanchai25@yahoo.com และ kwanchai2510@gmail.com
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทยตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิชาชีพวิศวกร ตามข้อบังคับสภาวิศวกรดังนี้
ในแต่ละครั้งที่เข้าสอนได้สอดแทรกเนื้อหาทางด้านวัฒนธรรมไทย เน้นความซื่อสัตว์สุจริต กำหนดกติกาของการเข้าชั้นเรียน ซึ่งมีคะแนนเข้าชั้นเรียน การส่งงาน โดยให้มีการลงชื่อเข้าเรียน คะแนนการส่งงาน คะแนนการทำรายงาน สอดแทรกเนื้อหาของความเป็นภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตาม ยอมรับการฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ถามคำถามให้นักศึกษาได้วิเคราะห์และประเมินผล หรือให้นักศึกษายกตัวอย่างการใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา การกระทำผิดจรรยาบรรณของวิศวกร และให้มีการอภิปรายกลุ่มในชั่วโมงต้นๆ และสรุปภาพรวมในชั่วโมงสุดท้าย
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ 
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ โดยที่นักศึกษาหรือผู้เรียนจะได้รับความรู้ตรงตามคำอธิบายของวิชา วิศวกรรมการทาง คือ ศึกษาเกี่ยวกับประวัติทางหลวง การจัดระบบทางหลวง การวางแผนสร้างทางและการวิเคราะห์การจราจรเบื้องต้น การออกแบบทางเรขาคณิต เศรษฐศาสตร์ทางหลวง การออกแบบผิวทางแบบยืดหยุ่นและผิวทางแบบแข็ง วัสดุการทาง การก่อสร้างและการบำรุงรักษาทาง การนำนักศึกษาทัศนศึกษานอกสถานที่
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีนำไปแก้ปัญหาโจทย์
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา 
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ 
3.2.1 ให้นักศึกษาจับกลุ่มและกำหนดโครงงานที่มีเนื้อหาสาระทางวิศวกรรมการทาง ซึ่งนักศึกษาจะต้องเสนอชื่อหัวข้อของการทำรายงาน โดยอาจารย์ผู้สอนจะได้ทำการอภิปรายเพื่อดูว่าหัวข้อที่นักศึกษาต้องการทำนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ อยู่ในช่วงเวลาที่เรียนวิชานี้ได้มั๊ย หรือเป็นหัวข้อที่สามารถนำไปทำเป็นโครงงานหรืองานวิจัยได้ ทั้งนี้นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะต้องทำการรวบรวมจากรายงานที่เคยทำ และต้องมีการสืบค้นข้อมูล อีกทั้งต้องใช้องค์ความรู้ที่เรียนมา
3.2.2 ให้นักศึกษาลงมือทำตามขั้นตอนที่เสนอ
3.2.3 ทำการอภิปรายผลที่ได้ให้ทุกคนในห้องทราบและเข้าใจ พร้อมทั้งรับฟังข้อซักถามจากเพื่อนและอาจารย์
3.3.1 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคมตามกำหนดเวลา
4.2.1 จากโครงงานที่นักศึกษาทำต้องให้แต่ละบุคคลในกลุ่มหมุนเวียนกันมาอภิปราย ซึ่งในหัวข้อต้องมีการบอกการวางแผนของการทำรายงาน การเก็บข้อมูล และบทบาทหน้าที่แต่ละคนที่ได้รับมอบหมาย
4.2.2 สอดแทรกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย การปรับตัวต่อสังคม และความรับผิดชอบต่องานที่ทำ
4.2.3 มีการยกตัวอย่างแล้วให้นักศึกษาได้คิดและเสนอแนวทางในการแก้ไข
4.3.1 ประเมินคะแนนจากการอภิปรายของแต่ละบุคคล
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1  ให้ส่งรายงานโดยให้ส่งเป็นดิจิตอลไฟล์ทั้งในรูปแบบ ไฟล์เอกสาร
5.2.2  นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 ให้นักศึกษาใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูลและการคำนวณ
5.3.1 ประเมินจากรูปเล่มรายงาน
5.3.2 ประเมินจากการการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย 
1. มีความสามารถในการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ และการประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
2. มีทักษะในการพัฒนาและดัดแปลงใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ สำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะทาง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในงานที่ดำเนินการ
3. มีทักษะในการร่างแบบสำหรับงานวิชาชีพเฉพาะ และสามารถนำไปสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. สาธิตการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ รวมทั้งขั้นตอนการปฏิบัติ
2. มอบหมายงานตามใบปฏิบัติ (Job Sheet)
3. เตรียมใบปฏิบัติที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางทักษะในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม
4. ฝึกทำการร่างแบบสั่งงานจริงในสาขาวิชาชีพเฉพาะ
5. ฝึกนักศึกษาให้มีกิจนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน
1. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์โดยการบันทึกเป็นระยะๆ
2. ประเมินผลจากการประเมินตนเองและกิจกรรมกลุ่ม
3. ประเมินผลจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGCV704 การตรวจสอบงานก่อสร้าง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หมวด 4 (2.1,2.2,2.3,2.4,2.5) สอบกลางภาค บทที่ 1-6 (หัวข้อ 6.1-6.4) สอบปลายภาค บทที่ 7-10 และแนวข้อสอบ ของสภาวิศวกร 9,17 30:30:40 = กลางภาค:ปลายภาค:กิจพิสัย+รายงาน
เทคนิคการสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก อาจารย์ รศ.ดร.พิภพ สุนทรสมัย(สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.) , เทคนิคก่อสร้าง ผศ.วิทวัส สิทธิกูล มทร.ตะวันออก(อุเทนถวาย), เทคนิคการตรวจควบคุมงานก่อสร้าง อาจารย์สหัสชัย ตุลย์วัฒนางกูล 2543 วิทยาลัยเทคนิคดุสิต
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ค้นคว้าจาก google
google 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอนและหรือผู้ร่วมทีมสอน (ถ้ามี) 
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้  3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ  แก้ไข