การใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

English Vocabulary in Use

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการจดจำคำศัพท์ในรูปแบบต่างๆ คำพ้องรูปและเสียง คำศัพท์ที่มีหลายความหมาย คำศัพท์ที่เกิดขึ้นจากคำเติมและคำประสม คำศัพท์ที่มักเกิดคู่กัน คำศัพท์ที่มักใช้ผิด และการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้คำศัพท์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในเรื่องคำศัพท์ และรู้เท่าทันต่อคำศัพท์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน
ศึกษาเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ วิธีการจดจำคำศัพท์ในรูปแบบต่างๆ คำพ้องรูปและเสียง คำศัพท์ที่มีหลายความหมาย คำศัพท์ที่เกิดขึ้นจากคำเติมและคำประสม คำศัพท์ที่มักเกิดคู่กัน คำศัพท์ที่มักใช้ผิด และการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้คำศัพท์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย รู้จักจัดระเบียบชีวิต และวิธีการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม และมีจิตสำนึกในการที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
1.   ใช้แรงเสริมเพื่อให้กำลังใจนักศึกษาในการทำดี เช่นเมื่อนักศึกษามีวินัยในการส่งงาน หรือ มีความขยันในการเรียน การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา  เป็นต้น 2    ฝึกให้นักศึกษาวางแผนการเรียนและทำตารางเวลา ตารางประจำวัน ประจำสัปดาห์ ว่าจะอ่านอะไรก่อนหลัง ทำกิจกรรมอะไรบ้างและจะทำเมื่อไร เป็นต้น
1. การเข้าเรียนตรงเวลา 2    การส่งงานตามเวลาที่กำหนด 3    การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ 
1   ความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏี และหลักการปฏิบัติในด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 2    การบูรณาการความรู้ทางคำศัพท์ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในการพูดภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง
1.  สอนโดยการบรรยายให้ความรู้ ผนวกกับการฝึกปฏิบัติจริง โดยเน้นการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student-Centered) 2    สอนโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐาน (activity-based) เช่น การใช้บัตรคำ  แสดงบทบาทสมมติ (role play)   ฝึกปฏิบัติเป็นกลุ่มหรือเป็นคู่   เป็นต้น
1   การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค 2    ผลการฝึกปฏิบัติ / การทำกิจกรรมของนักศึกษา
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา 
1   ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านคำศัพท์  ทั้งในวิชาการและวิชาชีพ 2    ทักษะในการนำความรู้ทางด้านคำศัพท์มาประยุกต์ใช้กับการเรียนภาษาทางด้านอื่นๆ ได้อย่างครอบคลุม เช่น การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เป็นต้น  ปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
1   บรรยายให้ความรู้ และฝึกวิเคราะห์คำศัพท์ 2    นักศึกษาซักถามและอภิปรายแสดงความคิดเห็น 3    นักศึกษาฝึกปฏิบัติ ทำแบบฝึกหัดตามเนื้อหาการบรรยาย 4    นักศึกษาทำงานที่ได้รับมอบหมาย และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
1   การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ  2    การอภิปราย ซักถาม และแสดงความคิดเห็น  3    การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
ส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์ มีมารยาทสังคมที่ดี และมีความรับผิดชอบจากการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย และสำเร็จตามกำหนดเวลา 
จัดการเรียนการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
1   ให้นักศึกษาประเมินกันเองในกิจกรรมกลุ่ม 2    ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม 3    สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 
ส่งเสริมและพัฒนาให้นักศึกษามีทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ด้วยตนเอง โดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิทางการเรียน เพื่อให้ใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล 
มอบหมายให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ดูจากผลการศึกษาจากเว็บไซต์ที่มอบหมาย  ความรู้ที่ได้รับ ผลการเรียนหลังการศึกษาค้นคว้า และการฝึกฝนด้วยตนเอง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้ สอบกลางภาค 7 25%
2 ความรู้ สอบปลายภาค 17 25%
3 ความจำ จริยธรรม ความตรงต่อเวลา การฝึกปฎิบัติ ตลอดภาคการศึกษา 30
4 ความรู้ ความจำ แบบทดสอบ ตลอดภาคการศึกษา 20%
 การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้           1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน           1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา           1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้           2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย           2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา           2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้           3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน           3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
          4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
          4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้           5.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย           5.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม