ปัญหาพิเศษทางการประมง

Special Problems in Fisheries

๑. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยกระบวนการวิจัย การทำงานที่มีหลักการและเหตุผล และพัฒนาบุคลิกภาพของความเป็นผู้นำทั้งด้านการตัดสินใจ การสังเกตและการคิดวิเคราะห์          ๒.  เพื่อสามารถค้นหาข้อเท็จจริงสำหรับการแก้ไขปัญหาด้านการประมง และเรียบเรียงเป็นรายงานนำเสนอต่อคณะกรรมการในที่ประชุม    
เพื่อให้นักศึกษาสามารถค้นคว้า รวบรวมข้อมูลในหัวข้อที่น่าสนใจด้านการประมง มาเขียนเป็นโครงการและนำไปปฏิบัติงานทดลองเชิงวิจัยได้อย่างเหมาะสม 
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการค้นคว้า วิจัยในหัวข้อที่กำลังเป็นที่น่าสนใจด้านการประมง และเรียบเรียงเป็นรายงานนำเสนอต่อคณะที่ประชุม ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ๓-๖ ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความตระหนักและมีความรับผิดชอบต่องานที่ทั้งของตนเองและผลงานของกลุ่ม   มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานตามเวลาที่กำหนด มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
กำหนดให้นักศึกษาได้แสดงออกถึงความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม ให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นผู้ตามในแต่ละโอกาส  การแลกเปลี่ยนและยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมกลุ่ม มีการอ้างอิงเอกสารที่นำมาใช้ในการเขียนรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม  
-  ประเมินจากการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนด   -  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่   -  ประเมินผลจากรายงานที่นำเสนอ
 มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาของข้อมูลที่รวบรวม รวมทั้งสามารถบูรณาการเข้ากับรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านการประมง
เน้นให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักทฤษฎี มีการเรียนรู้เพิ่มเติมจากตัวอย่างในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการนำเสนอรายงานตามลักษณะและเนื้อหาของรายวิชา
 - ประเมินจากการนำเสนอโครงการปัญหาพิเศษ         - ประเมินจากการรายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน         - ประเมินจากการนำเสนอรายงานในที่ประชุม
๑. ให้นักศึกษาฝึกฝนการวิเคราะห์ การทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหาหรืองานอื่นๆ ด้วยตนเอง      ๒. ให้นักศึกษาฝึกฝนการนำความรู้ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประสบการณ์ในภาคปฏิบัติมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ไขในประเด็นปัญหาจริง    ๓. ให้มีการนำเสนอความรู้และผลงานจากการปฏิบัติการทดลองเชิงวิจัย เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิด การประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพในการแสดงความคิดเห็น และการนำเสนอรายงานในประเด็นที่ศึกษาทดลองต่อที่ประชุมได้อย่างเป็นระบบ
๑. แนะนำและฝึกกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์เมื่อเริ่มเข้าศึกษาจากโจทย์ตัวอย่างที่แตกต่างกันไปตามลำดับความยากง่ายตามระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้น ในแต่ละรายวิชาที่เกี่ยวข้อง        ๒. มอบหมายงานที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาจากโจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองในประเด็นปัญหาจริงด้านการประมง        ๓. จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ให้ได้ฝึกคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ใหม่จากความรู้เดิมทั้งในด้านสาขาการประมง และนอกสาขา
๑. ประเมินจากการรายงานผลความก้าวหน้าของโครงการ    ๒. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในที่ประชุม
 ๑. การทำงานเป็นกลุ่มซึ่งจะต้องช่วยเหลือแบ่งงานย่อยโดยมอบหมายให้ช่วยกันทำงานมอบหมายให้สำเร็จ        ๒. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ        ๓. ฝึกให้มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามตามบทบาทในแต่ละสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม        ๔. สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง         
๑. ใช้การการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ ซึ่งต้องแนะนำกฎ กติกา มารยาท บทบาทความรับผิดชอบของแต่ละคนในการเรียนรู้ร่วมกัน        ๒. ยกตัวอย่างผลกระทบของทักษะด้านนี้ที่มีต่อตนเองและสังคม
การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และประเมินผลการปฏิบัติงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย
๑. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศที่น่าเชื่อถือทั้งในระดับชาติและนานาชาติ      ๒. สรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ    ๓. ระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
๑. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณ โดยผู้สอนต้องแนะนำวิธีการ รวมถึงการติดตามตรวจสอบงาน แก้ไข และการให้คำแนะนำ         ๒. มอบหมายงานที่ต้องมีการเรียบเรียงนำเสนอทั้งในรูปแบบรายงาน ร่วมกับการใช้สื่อประกอบการนำเสนอ         ๓. มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
๑. ประเมินจากผลงานที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายของแต่ละบุคคล หรือกลุ่ม     ๒. ประเมินจากการนำเสนอรายงานผลต่อคณะกรรมการในที่ประชุม ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม     ๓. ประเมินทักษะการสื่อสารด้วยการเขียนจากรายงานแต่ละบุคคลหรือรายงานกลุ่มในส่วนที่รับผิดชอบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๑.๑ การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ ตลอดภาคการศึกษา ๑๐ %
2 ๑.๑, ๒.๑ ๓.๑, ๔.๑ กระบวนการวิจัย ๑-๑๕ ๑๕ %
3 ๑.๑, ๒.๑., ๓.๑, ๔.๑ ๕.๑ การนำเสนอโครงร่างและปัญหาพิเศษ ๗, ๑๖ ๓๐ %
4 ๑.๑, ๔.๑., ๕.๑ รายงานปัญหาพิเศษ ๑๗ ๔๕ %
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2538. คู่มือวิทยานิพนธ์สายวิทยาศาสตร์. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิย์, กรุงเทพฯ. 71 น.                                                        มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง. 2550. คู่มือปัญหาพิเศษ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.  2550). 78 น.        
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และ ดิเรก ศรีสุโข. 2537. การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย.
สุภัททา ปิณฑะแพทย์. การศึกษาวิชาปัญหาพิเศษ. [สืบค้นใน] http://www.supatta.haysamy.com/specialstudy.html (10 ตุลาคม 2555)  
บทความ/รายงานวิจัย/รายงานผลการทดลองด้านการประมงจากเว็บไซต์ต่างๆ  ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์และความเป็นปัจจุบัน
   ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยแบบประเมินผู้สอน และการอภิปรายระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
๒.๑  การสังเกตพฤติกรรม  การตอบสนอง  การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
        ๒.๒  ผลการเรียนของนักศึกษา
        ๒.๓  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้                                                                                                    อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาทุกภาคการศึกษา เฉพาะในรายวิชาที่มีปัญหาให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียนมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
คณะมีระบบการทบทวนประสิทธิผลรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขา  การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผล ของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชาเพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรทุก ๕ ปี